11 พ.ค. 2019 เวลา 03:21 • ธุรกิจ
กว่าจะมาเป็นลูกชิ้นทิพย์ ต้องล้มลุกคลุกคลานเท่าไหร่?
คุณศราลี  พรอำนวย เจ้าของผลิตภัณฑ์ ลูกชิ้นหมูปิ้ง ตรา “ลูกชิ้นทิพย์” เล่าว่า พื้นเพเป็นคนอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อาชีพดั้งเดิมของคุณพ่อ-คุณแม่ คือ ทำไร่อ้อยส่งโรงงานน้ำตาลทราย
ต่อมามีครอบครัว อยู่กินกับคุณพงษ์ศักดิ์ พรอำนวย จึงเริ่มต้นอาชีพค้าขายอย่างแรก คือ เปิดแผงเนื้อหมูสด ที่ตลาดดาวคะนอง ต่อมาก็ทำอีกหลายอย่าง ทั้งรับจ้างซักรีดเสื้อผ้า เปิดโต๊ะสนุ๊กเกอร์ ขายเสื้อผ้าตามตลาดนัด
เธอชอบค้าขาย แต่ไม่มีทุนมากมาย อะไรที่พอทำได้ก็ทำไปก่อน เห็นใครทำอะไรดีก็อยากทำบ้าง ช่วง
ตอนขายเสื้อผ้าจะไปรับมาจากย่านประตูน้ำและสวนจตุจักร
ก่อนใส่รถตระเวนไปกับสามีสองคน เปิดแผงขายตามตลาดต่างจังหวัด เช่น สุพรรณบุรี อ่างทอง กำไรเหลือครึ่งๆ จึงทำให้พอมีทุนคิดขยับขยายอยากเป็นผู้ผลิตเองบ้าง จึงลงทุนทำเสื้อผ้าสำเร็จรูปออกขาย แต่ด้วยความที่ไม่มีประสบการณ์ ทำให้เสียหายไปไม่น้อยจึงเลิกทำ
ต่อมาก็มาขายเครปใช้ชื่อ
มิสเตอร์เครป พอขายดี ก็เริ่มขายผงแป้ง ขายบรรจุภัณฑ์ ขายเครื่อง ให้คนรับไปจำหน่ายต่อ แต่เครปเป็นเหมือนสินค้าแฟชั่น มาเร็วไปเร็ว พอคนเริ่มเบื่อ ยอดขายตก จึงเลิกขาย
และก็เริ่มต้นกับอาชีพใหม่นั่นคือ ไอศกรีมกะทิสด ใส่เครื่องแบบโบราณ อย่าง ลูกชิด มัน ข้าวเหนียว ฯลฯ โดยใช้ชื่อว่า “ไอศกรีมทิพย์สุคนธ์” ขายในห้างฯ
ขายดีแค่ในช่วงแรก แต่ผ่านไปแค่ไม่กี่เดือน ร้านสาขาในห้างฯแห่งหนึ่ง ยอดขายตกอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยขายได้วันละไม่ต่ำกว่าสามพันบาท กลับเหลือแค่พันกว่าบาท
จนกระทั่งวันนึงได้ไปเห็นร้าน “ลูกชิ้นปิ้ง”
สังเกตและประเมินดูพบว่าจะมี 2 คน
คือ 1 คนปิ้งอีกคนเสียบลูกชิ้น ทำไม่หยุดมือ ขายไม้ละ 10 บาท คนซื้อยืนกิน แถมซื้อกลับบ้านอีก เขาขายได้หลักหมื่นบาทต่อวัน นั่นเป็นจุดเริ่ม
จึงทำให้ตัดสินใจหันมาขายลูกชิ้นปิ้ง
โดยปี 2548 ซื้อลูกชิ้นมาจากโรงานเพื่อมาปิ้งต่อขาย อยู่ย่านบางบอน เป็นสาขาแรก ซึ่งผลประกอบการดีมาก จึงมีการขยายสาขาไปตามห้างต่างๆ อีกนับสิบจุด ยอดขายดีกว่าไอศกรีมหลายเท่าตัว เลยตัดสินใจทำกิจการลูกชิ้นปิ้งอย่างเดียว
ขายลูกชิ้นปิ้งได้ปีเศษ เริ่มมีคนมาขอซื้อลูกชิ้นต่อไปขายบ้าง ซึ่งจะต้องเป็นการซื้อขายกันแบบขายส่ง จำนวนมาก แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้น เธอยังไม่มีโรงงานผลิตลูกชิ้นเป็นของตัวเอง จะไปขายส่งต่อให้คนอื่นอีกคงไม่ได้กำไร
1
นั่นคือจุดเปลี่ยนที่สำคัญ จึงตัดสินใจกับแฟนช่วยกันคิดค้นสูตรการทำลูกชิ้นขึ้นมา
ลองผิดลองถูกอยู่ประมาณ 2 ปี จนลูกน้องเห็นหน้าเมื่อไหร่ ต้องถอยหนีหมด เพราะกลัวจะเรียกให้ชิมลูกชิ้น เพราะตัวเองชิมคนเดียว จนไม่รู้รส ลิ้นชาไปหมดแล้ว
ต่อมาเธอก็สามารถคิดค้นสูตรเพื่อใช้ในการผลิตลูกชิ้นได้สำเร็จ จึงตัดสินใจลงทุนครั้งใหญ่ ซื้ออาคารพาณิชย์ 2 คูหา ย่านบางแค เปิดโรงงานผลิตลูกชิ้นหมูเป็นของตัวเอง มีคนงานเริ่มต้นราว 10 กว่าคน
2
ใช้เวลาไม่นาน โรงงานผลิตลูกชิ้น 2 คูหาเริ่มคับแคบ เพราะต้องผลิตทั้งส่งร้านตัวเองและขายส่งให้กับคู่ค้าอีกหลายราย ผนวกกับได้พื้นที่ขายในห้างเพิ่มเข้ามาอีก คุณศราลีจึงตัดสินใจซื้อที่ดินขนาด 3 ไร่ หลังโรงงาน ขยายอาคารผลิตออกไป
และซื้อที่ดินอีก 5 ไร่ขยายโรงงานเพิ่มจนถึงปัจจุบัน โดยมีคนงานกว่า 100 คน ใช้เงินลงทุนไปกว่า 200 ล้าน โดยไม่ได้กู้สถาบันการเงินมาลงแม้แต่บาทเดียว และจดทะเบียนตั้งบริษัทช่วงธันวาคมปี 57 ด้วยทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาท
รายได้บริษัทพงษ์-ศรา ดิสทริบิวชั่นจำกัด
ปี 2558
รายได้ 8.5 ล้านบาท
ขาดทุน 6 แสนบาท
ปี 2559
รายได้ 633 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 48 ล้านบาท
ปี 2560
รายได้ 781 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 59 ล้านบาท
1
จากปี 58 ที่เริ่มจัดตั้งบริษัท จะเห็นได้ว่ารายได้ จาก 8.5 ล้านบาทโตแบบก้าวกระโดดถึง 781 ล้านบาท
ในปี 60 เพิ่มขึ้นกว่า 91 เท่า
1
แล้วถ้าเทียบกับลูกชิ้นแบรด์ดัง โกเด้ง โฮเด้งและลูกชิ้นแชมป์ นายฮั้งเพ้งล่ะ
รายได้บริษัท อุตสาหกรรมแชมป์ จำกัด (ลูกชิ้นเนื้อแชมป์+ลูกชิ้นหมูนายฮั้งเพ้ง)
ปี 2560 รายได้ 50 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 2.7 ล้านบาท
รายได้บริษัท บิ๊กบอล ฟู้ด จำกัด
(ลูกชิ้นโกเด้ง+โฮเด้ง)
ปี 2560 รายได้ 273 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 10 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าหากนำรายได้ของทั้ง 2 บริษัทรวมกันแล้วก็ยังสู้ลูกชิ้นทิพย์ไม่ได้
เรื่องราวของคุณศราลี ทำให้ลุงแมนนึกถึงเพลง "ความเชื่อ" ของพี่ตูน
ขึ้นมาทันทีกับท่อนเพลงที่ว่า
ชีวิตมันต้องเดินตามหาความฝัน หกล้มคลุกคลานเท่าไหร่
มันจะไปจบที่ตรงไหน แต่จะยังไงก็ต้องไปให้ถึง
ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม แต่มันก็ดีที่อย่างน้อยได้จดจำว่าครั้งนึงเคยก้าวไป
แค่คนที่เชื่อในความฝัน จะเหน็ดจะเหนื่อยก็ยังต้องเดินต่อไป....✌️
โฆษณา