☀️ 3 มิถุนายน ของทุกปีต่อแต่นี้ คือ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระราชินี
กฎหมายแรงงานภาคเอกชนถือเป็น
✤วันหยุดตามประเพณี ได้หรือไม่❓
👨🏻‍🦱| อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
┗━━━━━━━━━━━━━━━
👉LINE@ : 🔹 https://goo.gl/LpxiYk
👉f Messenger : 🔹 http://m.me/AJK.sciArtist/
.
✦วานซืน (14 พ.ค.62) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พ.อ.หญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังจากการประชุมแล้วเสร็จว่า ในที่ประชุม มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปี ต่อแต่นี้ไปเป็น ✦วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 10 และเป็นวันหยุดราชการประจำปี ตามที่สำนักเลขาคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีนี้ (2562) เป็นต้นไป
✦อันเนื่องมาจาก ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562
และโดยที่วันที่ 3 มิถุนายน เป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จึงเห็นสมควรกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการประจำปีนั่นเองครับ
✦ในส่วนของฅนทำงานที่เป็นภาคเอกชน ก็ต้องพิจารณากันเพราะเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ถ้าจะนำไปกำหนด วันหยุดตามประเพณีจะทำได้แค่ไหน ตอบง่ายมาก ไปอ่าน #พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน {พคร.} พ.ศ.2541 มาตรา 29 ขอเจาะจงเฉพาะวรรค 1 กับวรรค 2 เท่านั้น (แต่อาจารย์ขอนำมาลงทั้งมาตราเพื่อให้เห็นภาพรวม) ที่บัญญัติเอาไว้ว่า...
“▫️ให้นายจ้างประกาศกําหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหน่ึงไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามท่ีรัฐมนตรีประกาศกําหนด (วรรค 1)
▪️ให้นายจ้างพิจารณากําหนดวันหยุดตามประเพณีจาก ✦วันหยุดราชการประจําปี วันหยุดทางศาสนา หรือ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น (วรรค 2)
▫️ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจําสัปดาห์ของลูกจ้างให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทํางานถัดไป (วรรค 3)
▪️ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้ เนื่องจากลูกจ้างทํางานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามท่ีกําหนดในกฎกระทรวง ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่า จะหยุดในวันอื่น ชดเชยวันหยุดตามประเพณีหรือนายจ้างจะจ่ายค่าทํางานในวันหยุดให้ก็ได้” (วรรค 4)
♦️ ฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท (พคร.มาตรา 146) ครับ มาแจกแจงกัน ดังนี้ แต่อาจารย์ขออธิบายแค่วรรค 1 และ 2 ครับ
[1] ▪️ให้นายจ้างประกาศกําหนดวันหยุดตามประเพณี คือ กฎหมายให้ถือเป็นหน้าที่ของนายจ้างต้องกำหนดขึ้นมาเอง จากนั้นจึงค่อยนำไปประกาศให้ลูกจ้างได้รู้ทั่วถึงกัน
[2] ▫️กำหนดล่วงหน้าและประกาศก่อนถึงปีปฏิทินใหม่จะมาถึง (กฎหมายเขียนว่า “...ให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้า...”) ลูกจ้างจะได้รู้ บริหารวันหยุดได้แต่เนิ่นๆ กำหนดและประกาศแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้ หากมีการเขียนไว้ในประกาศว่าบริษัทสงวนสิทธิที่จะแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงได้ตามแต่จะเห็นเป็นการสมควร ก็ทำได้เสมอ เรียกว่าทำให้เป็น “✎สิทธิฝ่ายจัดการ (Management Rights)” จะได้ยืดหยุ่นเผื่อรัฐบาลประกาศวันหยุดราชการประจำปี อย่างกรณีวันที่ 3 มิถุนายนที่จะถึงนี้ หรือเกิดมีมติ ครม. ออกมาเพิ่มเติม และนายจ้าง HR อยากเปลี่ยนแปลงวันหยุดตามประเพณีเป็นวันอื่นแทนจะได้สะดวก แต่ทว่าขออย่าให้ผิดกฎหมายละกันครับ ที่สำคัญข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องเขียนเปิดช่องให้นายจ้างสามารถนำไปกำหนดและออกประกาศได้ด้วยจะดีมากๆ
[3] ▪️วันหยุดตามประเพณีที่นายจ้างประกาศกำหนดนั้น ปีหน่ึงต้องอย่าให้น้อยกว่า 13 วัน (กฎหมายเปิดโอกาสให้นายจ้างไปหามากำหนด 12 วัน และนำไปบวกกับวันแรงงานแห่งชาติตามท่ีรัฐมนตรีประกาศกําหนดซึ่งเป็นไฟท์บังคับของกฎหมายอีก 1 วัน)
[4] ▫️ให้นายจ้างพิจารณา (ไปหามาเอง) กําหนดวันหยุดตามประเพณี โดยต้องนำมาจาก 3 วันหยุด ต่อไปนี้เท่านั้น ถ้านอกเหนือไปจากนี้ กฎหมายเรียกว่า ✤วันหยุดอื่น ต้องห้ามนำมากำหนดประกาศไม่ได้เด็ดขาดครับ
4.1 🔹#วันหยุดราชการประจําปี
4.2 🔸#วันหยุดทางศาสนา หรือ
4.3 🔹(วันหยุดซึ่งเป็น) #ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น (ไทย หรือ เทศ ก็ได้)
[5] ▪️ปัญหาที่ถามๆ กันมาช่วงนี้ คือ ✦วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 10 ที่จะถึงวันที่ 3 มิถุนายนนี้ นำมาจัดเป็นวันหยุดตามประเพณีได้มั๊ย
Գคำตอบ คือ นำมาจัดได้ครับ เหตุผลเพราะ เป็น “วันหยุดราชการประจําปี” ตาม วรรค 2 ของ พคร.มาตรา 29 ครับ
✵คำถามต่อมาคือ บริษัท ห้างร้านต่างๆ ได้ประกาศวันหยุดตามประเพณีไปครบหมดแล้วตั้งแต่ปลายปี 2561 แล้วจะเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่❓
Գคำตอบ อยู่ในข้อ [2] ครับ แต่หากไม่มีการเขียนไว้ในประกาศว่าบริษัทสงวนสิทธิที่จะแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงได้ตามแต่จะเห็นเป็นการสมควร ก็ทำไม่ได้เด็ดขาด เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ครับ จะทำได้ก็ต่อเมื่อขอความยินยอมจากลูกจ้างก่อน หรือแจ้ง/ยื่นข้อเรียกร้องตามกฎหมายแล้วตกลงกันได้ แล้วแต่กรณี แต่ใครจะกล้าไม่ยอมเนี่ย อาจารย์ว่าเป็นไปไม่ได้
✵คำถามสุดท้ายคือ ถ้าอยากนำวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระราชินี มาแทนที่วันหยุดตามประเพณีที่ได้ประกาศไปแล้ว ควรจะนำวันหยุดตามประเพณีวันไหนออกไป 1 วันดีครับ❔ ถ้าตอบตามกฎหมายก็ตอบได้เลยว่านำวันหยุดตามประเพณีวันไหนออกก็ได้ครับ แต่ห้ามนำวันแรงงานแห่งชาติออกไปเด็ดขาด เพราะจะกลายเป็นผิดกฎหมายในวรรคแรกนั่นเอง
✦แล้ววันอื่นๆ หละครับ จะถอดวันไหนออกไปดี❓ อืม 🤔 ก็คิดเอาเองก็แล้วกันครับ เอาวันที่ไม่กระทบสถาบันชาติ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ได้ครับ อย่างวันหยุดทางศาสนาที่ส่วนใหญ่ไม่ได้หยุดกัน และวันหยุดซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นไม่ว่าไทยหรือเทศ ก็ได้ จัดไปครับ
✤หากจนปัญญา หาทางออกไม่ได้ว่าจะถอดวันหยุดตามประเพณีวันไหนออกดี ทำนองว่ารักพี่เสียดายน้อง ก็แนะนำให้จัดเป็นวันหยุดตามประเพณีเพิ่มเติมขึ้นมาอีก 1 วันไปเลยครับ คิดว่าให้หมดแล้วน่าจะสดชื่น ไร้กังวล น่าจะดีที่ซู๊ด ครับ.
♾∞♾∞♾∞♾∞♾∞
👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
🔻นักวิทย์ศิลป์
🔻ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO
🔻ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย
🔻ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง
🔺🅑🅛🅞🅖| http://AJK.bloggang.com
“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”
👉🏻 เพราะผม...ไม่พลาดอยู่แล้ว
A͙J͜͡K⃟’ʂ👨🏻 who has never defeat.
✺Credit : ✵อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
Credit : ꍏj.Kяιꌗz∂ ꀎ-✞ɧąıཞaṭⒸ
อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์| นักวิทย์ศิลป์ Sc̫ίArϯίṧt
🕸ωωω.ƘRISZD.ꉓom
📧KDV@KRISZD.com
#สำนักงานอาจารย์กฤษฎ์ #AJKsMissionDevelopmentCenter #AJK_MDC #อาจารย์กฤษฎ์ #AjKriszd #อาจารย์กฤษฎ์อุทัยรัตน์ #นักวิทย์ศิลป์ #3มิถุนายน #วันหยุดตามประเพณี #วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาพัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี ในรัชกาลที่10 #วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระราชินี #กฎหมายแรงงาน #วันหยุดงาน #HR #HumanResource #Management
.
ชมผ่าน Facebook
✺หลังจากที่ ครม. มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปี ต่อแต่นี้ไปเป็น ✦วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 10 และเป็นวันหยุดราชการประจำปีไปแล้วนั้นถือว่าส่วนราชการต้องหยุดในวันดังกล่าว และ แบงก์ชาติก็ได้ประกาศนำร่องไปแล้วเช่นกัน ต่อมาก็เป็นรัฐวิสาหกิจ
✺ส่วนภาคเอกชนนั้นอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน มีแง่มุมที่สอบถามกันเข้ามา อาจารย์กฤษฎ์ จึงขอไขข้อคำถามให้กระจ่างแจ้ง เชิญทัศนากันได้ครับ
➜ f C̐ᖇiḉ🄺 ᔓᓮ👉🏻 bit.ly/2w2T3EM
โฆษณา