18 พ.ค. 2019 เวลา 10:09 • ประวัติศาสตร์
Wikipedia วิกิพีเดีย คืออะไร
สารานุกรม แหล่งอ้างอิงข้อมูล
นี้เชื่อถือได้แค่ไหน
Wikipedia คือ สารานุกรม ซึ่งมีหลายภาษา สามารถเข้าไปอ่านได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องสมัครสมาชิกใดๆ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา ซึ่งทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นสารานุกรมที่ได้รับการแก้ไขรวบรวมและดูแลรักษาจากอาสาสมัครทั่วโลก ผ่านซอฟต์แวร์ ชื่อ "มีเดียวิก"
คำว่า "วิกิพีเดีย" เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยแลร์รี แซงเจอร์ มาจากการผสมคำว่า "วิกิ" (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่แบบมีส่วนร่วม เป็นคำในภาษาฮาวายที่แปลว่า "เร็ว" และคำว่า "เอนไซโคพีเดีย"
(encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม
จิมมี ดอนอล "จิมโบ" เวลส์ (Jimmy Donal "Jimbo" Wales) เกิดวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2509 เป็นผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ตชาวอเมริกัน และเป็นผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีบนอินเทอร์เน็ตที่เปิดให้ทุกคนร่วมมือกันแก้ไขได้
ใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) จิมมี เวลส์ได้ก่อตั้งเซิร์ชพอร์ทัลชื่อ โบมิส (Bomis) เซิร์ชพอร์ทัลดังกล่าวมีส่วนหนึ่งที่ชื่อ "โบมิสเบบส์" ซึ่งเป็นเสิร์ชเอนจินสำหรับค้นหาข้อมูล ปัจจุบันเวลส์ไม่ได้เป็นเจ้าของโบมิสแล้ว แต่ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับโครงการ
วิกิต่าง ๆ ที่เขาก่อตั้งขึ้นภายหลัง
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) จิมมี เวลส์ได้ก่อตั้งสารานุกรมเนื้อหาเสรีที่มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเนื้อหา (peer review) โดยใช้ชื่อว่า นูพีเดีย (Nupedia) ซึ่งมีคำขวัญคือ "สารานุกรมฟรี"
(the free encyclopedia) และได้ว่าจ้าง แลร์รี แซงเกอร์ ให้เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของนูพีเดีย
ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) เวลส์และแซงเกอร์ได้ตั้งวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นเว็บไซต์วิกิในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับนูพีเดียขึ้น โดยตั้งใจว่าจะใช้วิกิพีเดียเป็นพื้นที่ระดมความคิดสำหรับเขียนเนื้อหาสารานุกรมในขั้นต้น
ก่อนที่จะส่งไปที่นูพีเดียเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง การเติบโตอย่างรวดเร็วของวิกิพีเดียในเวลาต่อมาทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นโครงการหลักและโครงการ นูพีเดียต้องระงับไป ในระยะแรกของการพัฒนาวิกิพีเดียนั้น
ในกลางปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) เวลส์ได้ก่อตั้งมูลนิธิวิกิมีเดียขึ้น โดยเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งในเมืองแทมปา รัฐฟลอริดา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนวิกิพีเดียและโครงการอื่น ๆ
ในปัจจุบันวิกิพีเดียมีทั้งหมดมากกว่า 286 ภาษา สารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไขรวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม ดังนั้นข้อมูลใน Wikipedia จึงค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือสูง
เนื้อหากว่า 35 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีเนื้อหากว่า 4.9 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่างเสรี
โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 และได้กลายมาเป็นงานอ้างอิงทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต
จนถูกจัดเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอันดับที่ 6 ตามการจัดอันดับของอเล็กซา ด้วยจำนวนผู้อ่านกว่า 365 ล้านคน มีการประเมินว่า
วิกิพีเดียมีการเรียกดูหน้าถึง 2,700 ล้านครั้งต่อเดือนในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว
แม้ว่าวิกิพีเดียจะมีนโยบายอย่างการพิสูจน์ยืนยันได้ของข้อมูลและมุมมองที่เป็นกลาง แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ทั้งในด้านความไม่สอดคล้องกันของบทความ
และจากการวิจัยของวารสารเนเจอร์ในปี พ.ศ. 2548 พบว่า บทความวิทยาศาสตร์จากวิกิพีเดียที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมีระดับความถูกต้องใกล้เคียงกับสารานุกรมบริตานิกา และทั้งสองมีอัตรา "ข้อผิดพลาด" ใกล้เคียงกัน
วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อ
"มีเดียวิกิ"และจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์สามแห่งทั่วโลก โดยมีเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเซิร์ฟเวอร์ย่อยตั้งอยู่ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ในขณะที่มูลนิธิสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
วิกิพีเดียภาษาไทย
วิกิพีเดียภาษาไทย เป็นรุ่นภาษาไทยของวิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์เสรี เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ปัจจุบันมี 130,962 บทความ เป็นวิกิพีเดียที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 53 และวิกิพีเดียภาษาไทยมีขนาด 754 เมกะไบต์
ปัจจุบันมีหลาย เว็บไซด์หลายเพจและบล็อกต่างๆ ที่นำ wiki มาเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงในการนำเสนอบทความ
ข้อดี
1.เนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้
2.เปิดเสรีที่ให้ทุกคนเขียน แก้ไขข้อมูล โดยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
3.เผยแพร่สืบต่อกันได้อย่างเสรี
4.นโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม
ข้อเสีย
1.การนำไปใช้อ้างอิงในเอกสารทางวิชาการยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่-วิกิพีเดียมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน
2.ไม่สามารถป้องกันผู้ประสงค์ร้ายเข้าไปทำลายข้อมูลหรือสิ่งดีๆ
3.ไม่มีระบบตรวจสอบความถูกต้อง
โฆษณา