20 พ.ค. 2019 เวลา 09:07 • ธุรกิจ
EP.1 ระบบ P2P Lending นวัตกรรมทางการเงิน
ที่จะมาล้มระบบธนาคารแบบเดิม???
P2P หรือ Peer-to-Peer Lending
เรียกในชื่อภาษาไทย ตามเอกสารที่ออกมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย คือ “สินเชื่อออนไลน์ระหว่างบุคคลรูปแบบใหม่” (ใหม่ของคนไทย แต่อาจจะเก่าของประเทศอื่นๆ)
พอได้ชื่อภาษาไทยคงพอเห็นภาพกันมากขึ้น
ว่าแต่แล้วมันต่างจาก “สินเชื่อ” หรือ “เงินกู้” แบบเดิมที่เรารู้จักกันยังไง?
กล่าวคือ ธุรกรรมแบบ P2P คือ “การกู้ยืมระหว่างบุคคล กับบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมี platform เป็นตัวกลางในการจับคู่ ระหว่างผู้กู้ และผู้ให้กู้ และจัดให้มีการทำสัญญาสินเชื่อ”
รูปแบบก็เหมือนการทำ matching ระหว่าง
“ผู้กู้” กับ “ผู้ให้กู้”
ธุรกรรมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ มีผู้ต้องการกู้ กับ ผู้ต้องการให้กู้ ที่ยอมรับข้อเสนอของกันและกัน
(หลักการdemand & supply)
ลองมาดูหน้าที่ของแต่ละคนบ้างดีกว่า...
หน้าที่หลักของผู้กู้ :
1. ส่งเอกสารให้ครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์
2. ระบุวงเงินที่ต้องการจะกู้ ให้สอดคล้องกับรายได้ของตนเอง
3. แจ้งวัตถุประสงค์ในการกู้เงิน
หน้าที่หลักของผู้ให้กู้ :
1. มีเงินทุนขั้นต่ำที่สามารถให้กู้ได้ตามหลักเกณฑ์
2. พิจารณาเครดิตความเสี่ยง และดอกเบี้ยที่ต้องการได้รับ
3. บริหารความเสี่ยงพอร์ตเงินทุนของตนเอง
4. หากมีการเบี้ยวหนี้ จะต้องรับผิดชอบด้วยตนเอง
หน้าที่หลักของ platform :
1. เก็บข้อมูลและประวัติของลูกค้าทุกท่าน อย่างเป็นความลับ
2. เป็นตัวกลางในการทำสัญญา
3. ทำระบบเครดิตความเสี่ยง ที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากเอกสารของผู้กู้ และเสนออัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม
4. ให้บริการ อำนวยความสะดวกในการตามเก็บเงิน การชำระเงินแต่ละงวด ทำระบบติดตามทวงหนี้ หรือเจรจาไกล่เกลี่ย (อันนี้แล้วแต่การออกแบบระบบ ของผู้ให้บริการ platform)
ที่มาจากเอกสารของ BOT
เกร็ดความรู้: รูปแบบธุรกรรมแบบนี้ ใครเป็นคนริเริ่ม?
ZOPAเป็น แพลตฟอร์มแรก ที่เริ่มนำระบบP2Pมาใช้ในปี 2005 โดยสามารถขยายฐานสมาชิกผู้ใช้งานเป็น 100,000 คนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับยอดเงินทำธุรกรรมถึง 20 ล้านเหรียญ
ปัจจุบัน สามารถรองรับการพิจารณาธุรกรรมได้ถึง 300 รายการต่อวัน
หน้าตาเว็บไซต์ของ ZOPA ในปัจจุบัน
ในตอนหน้าเราจะมารู้จักกับ หัวใจหลักของ P2P Lending นี้กัน...
ทำไม ระบบนี้ ถึงจะมาล้มระบบธนาคารแบบเดิม
โฆษณา