21 พ.ค. 2019 เวลา 16:17 • ประวัติศาสตร์
วิกฤตต้มยำกุ้งฉบับรวดรัด สำหรับมือใหม่
ในปีพ.ศ.2536 รัฐบาลไทยต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเชีย จึงได้ประกาศเปิดเสรีทางการเงิน
ในการเปิดเสรีทางการเงินครั้งนี้ทางกองทุน IMF ได้แนะนำทางรัฐบาลไทยลอยตัวค่าเงินบาท แต่รัฐบาลไทยไม่ได้ทำตามคำแนะนำ โดยยังคงค่าเงินบาทที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐ
หลังจากเปิดเสรีทางการเงินแล้วทำให้เงินเข้าออกประเทศจำนวนมาก โดยส่วนนึงเป็นเงินกู้จากภาคเอกชนรวมไปถึงธนาคารพาณิชย์ที่กู้จากต่างประเทศเพราะว่าดอกเบี้ยเงินกู้ถูกกว่าที่ไทยมาก
เมื่อได้เงินกู้มาจึงนำมาลงทุนในตลาดหุ้นและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคารสำนักงาน สนามกอล์ฟ จนราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนอย่างเร็วจนกลายเป็นภาวะฟองสบู่
นายจอร์จ โซรอส นักเก็งกำไรด้านการเงิน เห็นว่าเงินกู้ที่กู้ยืมจากต่างประเทศนั้นเป็นเงินกู้ระยะสั้น 5 ปี ประกอบกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่ภาวะฟองสบู่ รัฐบาลไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมาหลายปี เงินทุนสำรองไม่เพียงพอที่อุ้มเงินบาทแน่นอน
2
นายจอร์จ โซรอสจึงได้ระดมเงินมาซื้อเงินดอลล่าห์ในไทยเพื่อหวังจะเก็งกำไรในอนาคต
จอร์จ โซรอส
เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้หนี้คืนปรากฏว่ามีเงินดอลล่าห์ไม่เพียงพอกับความต้องการ นายจอร์จ โซรอส จึงเอาเงินดอลล่าห์ที่ซื้อเอาไว้ออกมาขายในราคา 50 บาทต่อ 1 ดอลล่าห์ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเห็นเช่นนี้จึงออกมาประกาศว่า ไม่ต้องห่วง 1 ดอลล่าห์ยังเท่ากับ 25 บาทเหมือนเดิม ใครต้องการมาซื้อได้เลย
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนำเงินทุนสำรองออกมาอุ้มเงินบาทไว้ เพื่อพยุงค่าเงินบาทเอาไว้ ทำให้เกิดการมาชื้อดอลล่าห์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวนมากจนเงินทุนสำรองไม่เพียงพอ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท
ผลจากการลอยตัวค่าเงินบาททำให้เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรุนแรงมาอยู่ที่ 50-60 บาทต่อ 1 ดอลล่าห์ เท่ากับว่าถ้ากู้เงินมา 10 ล้านบาทในช่วงก่อนหน้านี้ หนี้จะกลายเป็น 20 ล้านบาทในทันที
1
ทำให้ภาคเอกชนและสถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มรับภาระหนี้สินไม่ไหวจนต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลาย ค่าเงินบาทหมดความน่าเชื่อถือในสายตาต่างชาติ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านทรุดตาม
1
ประเทศไทยที่มีความน่าเชื่อถือทางการเงินต่ำจึงต้องไปพึ่ง IMF โดยขอกู้เงินมา 510,000 ล้านบาทเพื่อเป็นทุนสำรองในคลัง และกู้เงินจาก กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันทางการเงินอีก 1.14 ล้านล้านบาท เพื่อช่วยพยุงธนาคารหลักไม่ให้ล้ม
โฆษณา