30 พ.ค. 2019 เวลา 14:19 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
--"ไดโนเสาร์ไทย เป็นลูกพี่ลูกน้องกับไดโนเสาร์ T. Rex "--
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบอนน์ (University of Bonn) และพิพิธภัณฑ์สิรินธรในประเทศไทย ได้ชี้ให้เห็นว่าฟอสซิลที่ถูกค้นพบเมื่อ 30 ปีที่แล้วในประเทศไทย ถูกระบุว่าเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ 2 สายพันธุ์ โดยพวกเขาได้วิเคราะห์แล้วว่า ทั้งสองสายพันธ์นั้นเป็นญาติห่าง ๆ ของ
T. rex ผลลัพธ์ดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Acta Palaeontologica Polonica
ขอเล่าประวัติอย่างย่อของพิพิธภัณฑ์สิริน
ธรก่อนนะครับ
พิพิธภัณฑ์สิรินธร เดิมเป็นศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว อยู่ที่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ.2537 พบโครงกระดูกของไดโนเสาร์กินพืช ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ในบริเวณที่เป็นหลุมขุดค้นปัจจุบัน โดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน
ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา คณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากร
ธรณีจึงได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็น
ระบบ และพบว่า ภูกุ้มข้าว เป็นแหล่งที่พบโครงกระดูกไดโนเสาร์กิน
พืชที่มีความสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย
มีการพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ขนาดต่างๆ เป็นกระดูกชนิดกินพืชมากกว่า 7 ตัว จำนวนกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น ที่สำคัญคือ พบชิ้นส่วนของหัวกระโหลก ฟันและกราม และโครงกระดูกที่เรียงรายต่อกัน เกือบจะสมบูรณ์ทั้งตัวอยู่ด้วย โครงกระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขาของภูกุ้มข้าวซึ่งมีรูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร
1
เมื่อปี พ.ศ.2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทอดพระเนตรซากกระดูก
ไดโนเสาร์ ทรงจัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์
์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวขึ้น โดยให้มีการสร้างอาคารหลุมขุดค้นชั่วคราวเพื่อใช้ป้องกันซากโครงกระดูก
ในปี พ.ศ.2539 กรมทรัพยากรธรณีได้สร้างอาคารวิจัยขึ้น โดยมีพื้นที่ใช้งานจำนวน 375 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการอนุรักษ์ ศึกษาวิจัย และเก็บรวมรวมซากดึกดำบรรพ์ที่สำรวจพบในประเทศไทย
ในปี พ.ศ.2550 ได้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือ พิพิธภัณฑ์สิรินธร ถือเป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีว่า “พิพิธภัณฑ์สิริธร”
ส่วน T. Rex ย่อมาจาก ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (Tyrannosaurus rex) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยตลอดทั่วตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายหรือประมาณ 68 ถึง 66 ล้านปีมาแล้ว
แล้วเป็นมายังไงกับการวิเคราะห์ครั้งนี้ ant จะเล่าให้ฟัง
สามทศวรรษที่ผ่านมา พนักงานพิพิธภัณฑ์ของไทยค้นพบกระดูกฟอสซิลในระหว่างการขุดค้น เขาได้มอบมันให้กับพิพิธภัณฑ์สิรินธร ซึ่งมันยังไม่เคยผ่านการตรวจสอบอย่าง
ละเอียดเลย "ห้าปีที่ผ่านมาผมได้พบสิ่งนี้ในระหว่างงานวิจัยของผม" นายอดุลย์ สมาธิ นักบรรพชีวินวิทยาชาวไทยที่กำลังศึกษา
ระดับปริญญาเอกที่ Steinmann Institute of Geology, Mineralogy and Paleontology ของมหาวิทยาลัยบอนน์ (University of Bonn)
โดยนายอดุลย์ได้นำฟอสซิลบางส่วนมาที่
มหาวิทยาลัยบอนน์ด้วย เพื่อวิเคราะห์พวกมัน ซึ่งงานนี้เขาได้ทำร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา
ระดับปริญญาเอกของเขา คือ ศาสตราจารย์ ดร. Martin Sander โดยใช้วิธีการที่ทันสมัยที่สุด (state-of-the-art methods)
ผลลัพธ์ที่ได้ มันคือประวัติศาสตร์ใหม่ของไดโนเสาร์
สกุล Megaraptors ซึ่งมีความหมายว่าหัวขโมยขนาดยักษ์ โดยญาติของไดโนเสาร์กินเนื้อเป็นอาหาร
กลุ่มนี้ ได้แก่ T. Rex นั่นเอง และนายอดุลย์ได้ตั้งชื่อให้ไดโนเสาร์กินเนื้อสกุลใหม่และชนิดใหม่ของไทยและของโลกว่า "ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยม (Phuwiangvenator yaemniyomi)"
ทำไมถึงชื่อที่ตั้งนี้ เนื่องจากมันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาด
กลาง สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก พบที่หลุมขุดค้นที่ 9B อุทยานแห่งชาติภูเวียง จ.ขอนแก่น ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่
คุณสุธรรม แย้มนิยม อดีตข้าราชการกรมทรัพย์ฯ ผู้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของ
ประเทศไทย ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน อันนำมาสู่การศึกษาวิจัยไดโนเสาร์ใน
ประเทศไทยในเวลาต่อมา
ภูเวียงเวเนเตอร์ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีลักษณะที่แตกต่างไปจากที่เคยค้นพบมาก่อน ตัวอย่างต้นแบบประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังส่วนหลัง กระดูกสันหลังส่วนสะโพก กระดูกมือและเล็บ กระดูกหน้าแข้ง ข้อเท้า ฝ่าเท้า และเท้า มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 6 เมตร
ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Megaraptora และคาดว่ามีลักษณะทั่วไปคล้ายกับไดโนเสาร์ตัวอื่นๆในกลุ่ม Megaraptora เช่น Fukuiraptor จากญี่ปุ่น คือ มีขาหน้าและขาหลังที่ยาวบ่งบอกถึงการวิ่งเร็ว มีกรงเล็บใหญ่ กะโหลกเรียวกว่าในไดโนเสาร์กินเนื้อทั่วไป การค้นพบนี้บ่งบอกว่า ไดโนเสาร์กินเนื้อกลุ่ม Megaraptora อาจจะมีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง
ในระหว่างการวิจัยของนายอดุลย์ใน
ประเทศไทย ขณะที่เป็นนักศึกษาปริญญาเอกได้พบฟอสซิลที่ไม่ปรากฏหลักฐานเพิ่มเติมอีกชนิดหนึ่ง มันเป็นไดโนเสาร์นักล่าที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งมีความยาวประมาณ 4.5 เมตร แต่หลักฐานไม่เพียงพอที่จะระบุบรรพบุรุษที่แน่นอน อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่ชื่อ วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส (Vayuraptor nongbualamphuenisis) ก็มีความสัมพันธ์กับภูเวียงเวเนเตอร์ และ T. rex
"บางทีสภาวการณ์มันอาจจะเหมือนแมวใหญ่ในแอฟริกาก็ได้ ถ้าให้ภูเวียงเวเนเตอร์เป็นสิงโต วายุแรพเตอร์ก็คงเป็นเสือชีตาห์" นายอดุลย์ กล่าว
และนี่ก็กลายเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อสกุลใหม่และชนิดใหม่ของไทยและของโลก จากจังหวัดขอนแก่น ที่มีอายุกว่า 130 ล้านปี สำหรับ ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยม (Phuwiangvenator yaemniyomi) ส่วนอีกตัวคือ วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส (Vayuraptor nongbualamphuenisis) ข้อมูลชี้ว่าสัมพันธ์กัน แต่ก็ยังต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมต่อไป
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม ติดตามเรื่องราวดี ๆ ด้าน #วิทยาศาสตร์ #เทคโนโลยี และ #นวัตกรรม ได้ที่ #antnumber9
#ไดโนเสาร์ #ภูเวียงเวเนเตอร์แย้มนิยม #Phuwiangvenator #TRex #วายุแรพเตอร์ #Megaraptors #พิพิธภัณฑ์สิรินธร #AdunSmathi #ไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของไทย #ไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก
ข้อมูลอ้างอิง
facebook นายอดุลย์ สมาธิ : Adun Smathi
พิพิธภัณฑ์สิรินธร. Ctedit: www.tourismawards.tourismthailand.org
โฆษณา