3 มิ.ย. 2019 เวลา 11:19 • ธุรกิจ
แบรนด์แบบไหนที่คนยอมเสียเวลาต่อคิวเป็นชั่วโมง ยอมต่อเป็น 100 คิว?
1
วันนี้เราจะเล่าถึงแบรนด์ที่คนยอมรอคิดรอกันนับ 100 คิว ใครจะเชื่อว่าเคล็ดลับสำคัญ คือการกลั่นแบรนด์จากอุดมการณ์อันแรงกล้า คำแนะนำอันเรียบง่ายจาก ‘คุณอู๋’ เจ้าของ ‘โอ้กะจู๋’
ใครบอกว่าอุดมการณ์กินไม่ได้ หลังจากอ่านบทความนี้คุณอาจเปลี่ยนความคิด เพราะ‘โอ้กะจู๋’ เปลี่ยนแปลงปลูกผักออร์แกนนิคที่บ้าน เป็นร้านสลัดออร์แกนิคชื่อดัง 6 สาขา ที่คนต่อคิวกันยาวนับ 200 คิว ต่อวัน พี่อู๋ หนึ่งในผู้ก่อตั้งเล่าให้ฟังว่า ‘เคล็ดลับความสำเร็จอยู่ที่อุดมการณ์และความตั้งใจ’
4
https://marketeeronline.co/archives/3875
เดี๋ยวจะหาว่าโม้ เราขอเจาะลึกรายได้ ‘โอ้กะจู๋’ เพราะแบรนด์นี้เขาเติบโตแบบไม่ธรรมดาเลยทีเดียวค่ะ ภายใน 1 ปี ‘โอ้กะจู๋’ เติบโตเกือบ 10 เท่า ปี 2557 รายได้ประมาณ 4 ล้าน ปี 2558 รายได้แตะเกือบ 40 ล้านบาท ใครอยากรู้ว่าพวกเขาเปลี่ยนอุดมการณ์เป็นความมั่งได้ได้อย่างไรกัน? ตามมาอ่านกันได้เลยนะคะ
1
#อุดมการณ์ชัด Branding ชัด
สาวกร้าน ‘โอ้กะจู๋’ สงสัยกันมั้ยว่า สโลแกนปลูกผักเพราะรักแม่ ตัวโตๆ มีที่มาที่ไปอย่างไร? จุดเริ่มต้นของโอ๋กะจู๋ เกิดจากเพื่อน 2 คนที่มีควาฝันอยากปลูกผักออร์แกนิคเพื่อคนในครอบครัวจะได้กินผักอร่อยๆ ไร้สารพิษ
เมื่อเรียนจบ คุณโจ้จบคณะเกษตรเลยจับมือกับคุณอู๋ที่จบคณะบริหารทำฟาร์มผักออร์แกนิค เริ่มต้นจากแปลงผักเล็กๆ พอปลูกไปเรื่อยๆ จนคนในครอบครัวกินกันไม่ไหวก็แจกจ่ายเพื่อนบ้าน แต่ปริมาณผักที่เก็บเกี่ยวได้ยังเหลือเยอะ คุณอู๋เลยตัดสินใจเปิดร้านสลัดเล็กๆ จำนวน 20 ที่นั่ง บนพื้นที่ของบ้าน ตั้งแต่เปิดร้านวันแรกทั้งคู่มี Vision อย่างแรงกล้าซึ่งแทบตรงกับทฤษฎีการสร้างแบรนด์โดยไม่ได้ตั้งใจ
2
Vision หรือที่แปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่าอุดมการณ์ คือ อยากให้คนในสังคมเข้าถึงผักออร์แกนิค
Mission การดำเนินการเพื่อทำ Vision ให้เป็นจริง โดย ‘โอ้กะจู๋’ การันตีว่าผักทุกจานของลูกค้าปลูกแบบออร์แกนิก ไม่ใช่สารพิษ สารเคมี พวกเขาพยายามใช้นวัตกรรมมาลดต้นทุนในการปลุกผัก เพื่อที่สามารถขายผักออร์แกนิกในราคาจับต้องได้
Position ‘โอ้กระจู๋’ วางตัวเองเป็นร้านอาหารออร์แกนิคของครอบครัว
เมื่อพิจารณาการสร้างแบรนด์จากอุดมการณ์ที่ชัดเจน โอ้กะจู๋ เลยเลือกใช้สโลกแกนที่แสดงจุดยืนของแบรนด์ที่แน่วแน่ที่สุด “ปลูกผัก เพราะรักแม่” เพราะหากอยากให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพ เลือกกินของดีๆ ต้องเริ่มจากคุณแม่มีสุขภาพดีก่อน อย่างที่เรารู้กันดีค่ะว่าในสังคมไทยคุณแม่คือจุดศูนย์กลางในเรื่องอาหารการกินคนในครอบครัว
1
#ส่งต่ออุดมการณ์ผ่านจานอาหารเสริฟถึงโต๊ะลูกค้า
โอ้กระจู๋ ชูจุดขายหลักคือสลัดรสอร่อยที่เสต็กเป็นเครื่องเคียงทำให้แตกต่างจากเจ้าอื่นที่มองว่าสลัดเป็นแค่เครื่องเคียงของเนื้อเท่านั้น นอกจากชูสลัดเป็นจุดขายแล้ว Portion ที่ขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่เอื้อมถึงกลายเป็นจุดแจ้งเกิดของแบรนด์นี้ เพราะเริ่มแรกร้านสลัดแห่งนี้มีเพียง 20 โต๊ะ
http://travel.trueid.net/detail/2vwyDbqWk8AO
ลูกค้ากลุ่มแรกๆ เป็นคนเชียงใหม่ที่หาของกินแปลกใหม่ แต่พอกินโอ้กระจู๋แล้วติดใจ แถมขนาดจานก็เชื้อชวนให้ถ่ายรูป จึงเกิดการบอกต่อผ่านช่องทาง Social จากลูกค้ากลุ่มแรกๆ คือคนในพื้นที่ การตลาดแบบ Word of Mounth ทำให้นักท่องเที่ยวปักหมุด เดินทางมาชิมร้านสลัดสุดพิเศษแห่งนี้จนขึ้นแท่นร้านสลัดดังที่คนมาเที่ยวเชียงใหม่ห้ามพลาด
เพราะรู้ดีว่า แก่นหลักของ ‘โอ้กระจู๋’ คือคุณภาพอาหาร คุณอู๋จึงเคร่งครัดกับการรักษามาตรฐานและคุณภาพให้คนมาแล้วประทับใจทุกครั้ง
1
1. ไม่ขายอาหารถ้าวัตถุดิบไม่ครบ เพื่อรักษาคุณภาพอาหาร ทางร้านจะไม่ขายเมนูอาหารที่มีวัตถุไม่ครบเด็ดขาด คุณอู๋บอกว่า ‘ถ้าคนถ่ายรูปเสต็กที่ไม่มีผักลง Social นั่นคือสเต็กที่ไม่ได้สะท้อนถึงแบรนด์เราแล้ว หรือทางร้านไม่ยอมแยกน้ำสลัดให้ลูกค้าที่สั่งเมนูสลัดผลไม้ เพราะถ้าลูกค้าคลุกไม่ดี คลุกในสัดส่วนที่ไม่เหมาะ รสชาติจะเพี้ยนได้ นี่คือความตั้งใจในการรักษามาตรฐานคุณภาพอาหาร’
1
2. ผักสลัดถูกปลูกจากแปลงผักของตัวเองซึ่งมีทั้งหมด 4 แห่ง แปลงผักที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ที่ดอยสะเก็ดมีพื้นที่ 150 ไร่ เหตุผลที่คุณอู๋ไม่ Outsource ผักสลัดให้เกษตรกรฟาร์มอื่นปลูกเด็ดขาดเนื่องจากมีปัญหาในการควบคุมคุณภาพ และบางครั้งเกษตรกรไม่ได้ปลูกผักให้โอ้กะจู๋ เจ้าเดียวแต่ปลูกให้เจ้าอื่น ที่ไม่ใช่ออร์แกนิคแต่เป็นไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งอยู่ในคนละพื้นที่กัน บางครั้งเกษตรกรบอกกับคนอื่นว่าตัวเองปลูกผักให้โอ้กะจู๋ด้วย ทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าผักสลัดของโอ้กะจู๋ไม่ใช่ออร์แกนิคแท้
1
3. ใส่ใจกับการขนส่งผักเพื่อความสดใหม่ เมื่อเปิดสาขาที่กรุงเทพ ‘โอ้กะจู๋’ ต้องคิดวิธีการขนส่ง โดยทางทีมตั้งกฎเหล็กขนส่งผักถึงร้านหลังจากตัดภายใน 28 ชั่วโมง ในช่วงแรกผักของโอ้กะจู๋ เสียหายกว่า 20-40% แต่หลังจากเปลี่ยนวิธีการ เริ่มจากตัดผักตั้งแต่ตี 4 และล้างผักด้วนกระบวนการไฮโดรเจน เพื่อลดความบอบช้ำ หลังจากนั้นแพคผักเข้าห้องเย็นเพื่อส่งศูนย์กระจายสินค้าที่รังสิต ก่อนส่งไปยังหน้าร้านต่างๆ กระบวนการส่งรูปแบบนี้ทำให้ปัจุบันผักใช้ได้เกินว่า 95%
4
4. แต่ละร้านมีเมนู signature ปัจจุบันโอ้กะจู๋ มีสาขาที่เชียงใหม่ 2 สาขา สาขาที่กรุงเทพ 4 สาขา แต่ละสาขาจะมีเมนูพิเศษที่ร้านอื่นไม่มี เพื่อคงความเป็นเอกลัษณ์และชวนคนกรุงเทพที่เดินทางมาเชียงใหม่ให้ยังแวะเวียนมากินโอ้กระจู๋ แม้จะมีร้านในสาขาในกรุงเทพ
2
#Branding ชัด Location ชัด ลูกค้าชัด เปิดร้านที่ไหนไม่มีแป๊ก
‘โอ้กะจู๋’ ยังคงใช้ Brand Vision และ Brand Position เป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกสถานที่เปิดหน้าร้านในกรุงเทพ สถานที่แรก ‘โอ้กะจู๋’ เลือกเปิดตัวที่สยามเพราะมองว่าเป็นจุดรวมตัวของคนกรุงเทพทุกอายุซึ่งตอบโจทย์ ‘โอ้กะจู๋’ ที่วางตัวเองเป็นแบรด์ของครอบครัว นอกจากนั้น ‘โอ้กะจู๋’ จะไม่เปิดร้านในห้างสรรพสินค้าเนื่องจาก ทางร้านมี Margin 7-10% การเปิดร้านในห้างที่เก็บ GP 20-30% ทำให้ร้านไม่สามารถขายอาหารออร์แกนิคราคาสมเหตุสมผลให้ลูกค้าได้ตามที่ตั้งใจ โอ้กะจู๋ สาขาสองจึงเลือกเปิดที่ราชพฤกษ์ และ สาขาสามโซนบางนาซึ่งเป็นคอมมูนิตี้มอล ที่คนในครอบครัวนิยมมาทานข้าวด้วยกัน
1
https://www.panasm.com/%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B9%8B-%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1/
วันนี้เราคงพอได้ไอเดียการสร้างธุรกิจให้ปังด้วยการใส่ใจกับแบรนด์และอุดมการณ์ไปแล้ว ครั้งต่อไปเราจะมาเล่าถึงกลยุทธ์ต่อไปของ ‘โอ้กะจู๋’ ในการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการบริหารลูกค้าแถมยังเป็นตัวกลางช่วยเชื่อมคนรักผัก กับ เกษตรไทยหัวใจสีเขียวอีกด้วย
โฆษณา