Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bookcase Group
•
ติดตาม
5 มิ.ย. 2019 เวลา 05:09 • ประวัติศาสตร์
ห้องสมุดอัสซีเรีย ในเมืองโบราณนิเนเวห์ (Nineveh’s Assyrian Library):เปิดประตูสู่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
เมืองนิเนเวห์ เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำไทกริส ปัจจุบันคือบริเวณที่อยู่ตรงข้ามกับเมืองโมซูล ประเทศอิรัก ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอัสซีเรีย (Assyrian Empire) ซึ่งก่อตั้งขึ้นราว 900-700 ปีก่อนคริสตกาล และแพร่ขยายอาณาเขตครอบคลุมไปถึงแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อาระเบียและอาร์เมเนีย
เมืองโบราณแห่งนี้ถูกอาณาจักรบาบิโลเนียและชนชาติอื่นๆ ซึ่งเป็นศัตรูกับอัสซีเรียเข้ายึดครองและทำลายเมื่อ 612 ปีก่อนคริสตกาล ในปี ค.ศ. 1843 ปอล เอมีล โบตา (Paul Emile Botta) นักโบราณคดีและนักการทูตชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ค้นพบเมืองนิเนเวห์
ทว่าคนที่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองทางด้านวรรณคดีของดินแดนแถบนี้ก็คือ ออสเตน เฮนรี่ ลายาร์ด(Austen Henry Layard) นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ลายาร์ดพบห้องสมุดหลวงของกษัตริย์อาซูร์บานีปาล (The Royal Library of Ashurbanipal) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาณาจักรอัสซีเรีย พระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง นักวิชาการ และเป็นผู้อุปถัมป์งานด้านศิลปะและการศึกษา ห้องสมุดแห่งนี้รวบรวมงานเขียนที่เป็นแผ่นจารึกต่างๆ ไว้กว่า 22,000 แผ่น ไม่เพียงเฉพาะแผ่นจารึกในภาษาอัสซีเรียเท่านั้น แต่ย้อนหลังไปถึงจารึกโบราณของอาณาจักรอัคคาเดียและสุเมเรียเลยทีเดียว
หลักฐานทรงคุณค่าชิ้นหนึ่งคือ มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh) จารึกแผ่นดินเหนียว 12 แผ่น ว่าด้วยตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ของเมโสโปเตเมีย เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งนักวิชาการเชื่อว่ามหากาพย์เรื่องนี้มีกำเนิดมาจากตำนานกษัตริย์สุเมเรียและบทกวีเกี่ยวกับวีรบุรุษในตำนานที่ชื่อว่า กิลกาเมช ซึ่งต้นแบบของมหากาพย์หลายเรื่องในยุคหลัง รวมถึงมีอิทธิพลต่อมหากาพย์โอดิสซีย์ (Odyssey) ของโฮเมอร์ ส่วนตำนานที่เกี่ยวกับน้ำท่วมโลกก็ยังคล้ายคลึงกับตำนานน้ำท่วมโลกของโนอาห์ ในพระคัมภีร์ไบเบิลด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.silpa-mag.com/history/article_28661
1 บันทึก
10
1
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย