Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Q Man
•
ติดตาม
5 มิ.ย. 2019 เวลา 15:21 • ธุรกิจ
โมเดลการเป็นผู้นำแบบโดราเอมอน
(Leadership Model "Doraemon Ways" )
รูปภาพจาก https://www.marumura.com
วิถีของการเป็นผู้นำและภาวะผู้นำแบบโดราเอม่อน
หากมองบทบาท บุคลิก และลักษณะของโดราเอม่อนผ่านมุมมองทางด้านการบริหารจัดการ
“โดราเอม่อน” ได้สะท้อนให้เห็นถึงแบบอย่างของ “ผู้นำ” เชิงสถานการณ์ต่าง ๆ ในการ์ตูนเรื่องนี้สามารถจำแนกแบบอย่างของการเป็นผู้นำได้
สิบประการคือ
ประการแรก ความมุ่งมั่นในการทำงาน:
ผู้นำอย่างโดราเอม่อนนั้นแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำความฝันของ เซวาชิ หลานของโนบิตะผู้ที่เป็นคนมอบหมายภารกิจนี้ และทำให้ความฝันของผู้ตามอย่างโนบิตะที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงอนาคตของตัวเองจากคนไม่เอาไหนให้ได้สำเร็จตามที่ฝันไว้
คนที่เป็นหัวหน้า อาจมีเหนื่อยบ้างท้อบ้าง แต่ว่าความมุ่งมั่นเป็นเป้าหมายสำคัญในการที่จะทำภารกิจที่คุณอาจคิดว่ายากแสนยากให้สำเร็จลงได้
ประการที่สอง เข้าใจและยอมรับจุดอ่อนของผู้ตาม:
โนบิตะ เปรียบเสมือนคนที่ขี้แพ้ ทำอะไรก็ไม่ได้เรื่องซักที
โดราเอม่อนเองแสดงให้เห็นว่า
1) มีความเข้าใจถึงความสามารถของโนบิตะมีว่าแค่ไหน อะไรคือจุดอ่อน
2) การยอมรับในจุดอ่อนของโนบิตะ
การยอมรับนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เข้าใจแต่ทำใจไม่ได้ก็คงทำให้งานสำเร็จไม่ได้ การเข้าใจจุดอ่อน
ของโนบิตะ ทำให้โดราเอม่อนนั้นสามารถวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาที่คาดว่าโนบิตะจะต้องทำผิดพลาดได้ก่อนล่วงหน้า
ประการที่สาม การให้โอกาสคนได้ทดลองและเรียนรู้:
โดราเอม่อนเองแม้รู้ว่า เครื่องมือหรือคำแนะนำที่ให้โนบิตะไป แม้ตัวเองจะเตือนโนบิตะแล้ว แต่โนบิตะก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้างตามเรื่อง แต่โดราเอม่อนก็ให้โอกาสโนบิตะได้ทดลองทำ และได้เรียนรู้เสมอๆ
การให้โอกาสนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในการพัฒนาศักยภาพของผู้ตามอย่างโนบิตะ
ประการที่สี่ ความเป็นนักวิเคราะห์ปัญหาและหาเครื่องมือ (Tool) ที่เหมาะสม:
ทุกๆครั้งที่เกิดปัญหาที่โนบิตะนำมาให้
โดราเอม่อนจะรับฟังเรื่องราวก่อน หลังจากนั้นถึงจะเลือกเครื่องมือจากกระเป๋าวิเศษต่างๆมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ นอกจากนั้นโดราเอมอนจะแสดงให้โนบิตะดูก่อนว่าเครื่องมือนั้นใช้อย่างไร
การเป็นผู้นำก็ต้องทำหน้าที่เหมือนครูที่จะสอนผู้ตามด้วย ต้องให้ Tool พร้อมทั้งคำอธิบายการใช้งาน Tool นั้นๆให้กับลูกน้อง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
ประการที่ห้า การทำงานเป็นทีม:
เป็นตัวอย่างของผู้นำที่ไม่ได้นั่งอยู่บนหอคองาช้างแล้วปล่อยให้ผู้ตามอย่างโนบิตะ หรือเพื่อนๆคนอื่นๆไปเผชิญปัญหาต่างๆ ตามลำพัง
ตัวอย่างเช่น ตอนตะลุยดาวต่างมิติ โดราเอมอนไม่ได้ต้องการเป็นฮีโร่แต่คนเดียวแต่เลือกที่จะเอาความสามารถของคนแต่ละคนในทีม มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการต่อสู้กับพวกปีศาจจนชนะได้
ทั้งโดราเอมอนและทุกๆคนรู้สึกดีๆกับชัยชนะและพลังแห่งการทำงานเป็นทีม ทำให้ทุกคนเห็นคุณค่าของทุกๆคนในทีมด้วย เป็นผู้นำที่มีความศรัทธาในความดีงามของคนในทีม
ประการที่หก การเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ:
ผู้นำอย่างโดราเอมอนเลือกที่จะมองลึกซึ้งลงไปและศรัทธาในความดีงามที่โนบิตะมี
ไม่ใช่ตราหน้าโนบิตะที่พยายามพัฒนาปรับปรุงตัวเองว่า เป็นไอ้ขี้แพ้
หากปราศจากผู้นำที่เลือกจะมองและเชื่อมั่นในด้านดีๆของลูกน้องอย่างโดราเอมอนแล้ว
เราคงไม่มีโอกาสได้เห็นความสำเร็จของโนบิตะอย่างแน่นอน
ประการที่เจ็ด แตกต่างแต่ไม่แตกแยก:
โดราเอม่อนคือหุ่นยนต์แมวที่ถูกส่งมาจากโลกอนาคตมีรูปร่างหน้าตา แนวคิด และวิถีชีวิตต่างกับคนในยุคโนบิตะ
แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกันระหว่างโดราเอม่อนกับ
โนบิตะหรือคนอื่นๆรอบข้างเลย
สิ่งที่ผู้นำอย่างโดราเอม่อนมีคือ
1) ไม่ได้อวดตัวว่าวิเศษและพิเศษกว่าคนอื่นๆ
2)การไม่เรียกร้องให้คนอื่นๆต้องปรับตัวเข้าหาตน
3) เป็นฝ่ายที่เรียนรู้และปรับตัวเข้าหาคนอื่นๆ
ประการที่แปด การเดินไปข้างหน้าก้าวหนึ่งเสมอ:
โดราเอม่อน มักมองไปข้างหน้าแทนโนบิตะอยู่เสมอ เพราะรู้ดีว่านิสัยของโนบิตะเป็นอย่างไร
มีจุดอ่อนและขาดความรอบคอบระมัดระวังในเรื่องใด บางครั้งโดราเอม่อนให้โนบิตะนำของวิเศษไปใช้นั้น ก็จะเตือนก่อน วางแผนในการแก้ไขเผื่อไว้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายที่ยากเกินแก้ไข
ผู้นำต้องวางแผนและคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ประการที่เก้า การรู้จักคำว่าขอโทษเมื่อทำผิด:
มีหลายๆตอนเลยที่เราพบว่า โดราเอม่อนเอ่ยปากขอโทษ ไม่ว่าจะเป็นการลืมที่จะทำตามที่คุณแม่ขอ หรือกับโนบิตะ โดราเอม่อนนึกถึงจิตใจของโนบิตะ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงไม่ลังเลที่จะขอโทษผู้ตามอย่างโนบิตะ
คนเป็นผู้นำ ไม่กล้าที่จะเอ่ยปากขอโทษเวลาทำอะไรผิด เพราะกลัวว่าจะเสียฟอร์มในฐานะผู้นำ
หากลองเอ่ยปากขอโทษสักครั้ง เพื่อทำให้ทั้งเราและลูกน้องทำงานร่วมกันได้อย่างดีและบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้
ประการที่สิบ การรู้จักยอมรับและสร้างการเปลี่ยนแปลง:
โดราเอม่อนเองเข้าใจภาระหน้าที่และเหตุผลว่าทำไม่ต้องมาอยู่ในโลกอดีต รู้ว่าต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมที่ตนเองคุ้นเคย ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
พร้อมที่จะมาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับโนบิตะ
การที่ผู้นำจะเปลี่ยนแปลงองค์กรได้นั้น จำเป็นที่จะต้องเริ่มจากการรู้จัก และยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆเองเสียก่อน
"เรียบเรียงจาก โดราเอม่อนเวย์ โมเดลการเป็นผู้นำแบบโดราเอมอน: ดร.พัลลภา ปิติสันต์ ประธานสาขาการจัดการธุรกิจ
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล For Quality ปีที่ 16 ฉบับที่ 150 (เมษายน 2553)"
บันทึก
3
2
3
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย