6 มิ.ย. 2019 เวลา 12:02 • ประวัติศาสตร์
Spice Trade , Spice Route : เส้นทางสายไหม,เครื่องเทศทั้งทางบกและทะเล
   มนุษย์รู้จักใช้เครื่องเทศมาตั้งแต่ในยุคโบราณ มีบันทึกว่าตั้งแต่สมัยของพระเจ้าบาบิลอนก็มีการปลูกเครื่องเทศ มัมมี่ของชาวอียิปต์ก็มีการยัดเครื่องเทศเข้าไปหลายชนิดเพื่อไม่ให้ศพเน่าเปื่อย ตลอดจนถึงเป็นส่วนผสมในการทำเครื่องสำอางค์ของพระนางคลีโอพัตรา
   ในสมัยโบราณแหล่งผลิตเครื่องเทศที่ใหญ่ที่สุดมี 2 แห่ง คือ อินเดีย และ หมู่เกาะโมลุกกะ ของอินโดนีเซียในปัจจุบัน โดยพริกไทย อบเชย และกระวาน มาจากอินเดียเป็นหลัก ส่วนกานพลู ลูกจันทน์เทศ และดอกจันทร์ จะมาจากโมลุกกะ สินค้าเครื่องเทศเดินทางเริ่มแรกเข้าสู่อาณาจักรโรมันในเขตเมดิเตอร์เรเนียน โดยผ่านมาทางทะเลแดง (อ่าวเปอร์เซีย) สู่ กรุงอเล็กซานเดรีย ของอียิปต์ และกรุงโรม ตามแผนที่เส้นสีฟ้า คือเส้นทางทะเล และอีกเส้นทางนึงคือ เส้นทางสายไหมทางบก เส้นสีแดง โดยเริ่มจากอินโดนีเซีย ผ่านจีน อินเดีย ระหว่างทางมีการสมทบสินค้าเครื่องเทศ และสินค้าท้องถิ่น ผ้าไหม ใบชา เป็นขบวนคาราวานเดินตามเส้นทางสายไหม ผ่านดินแดนตะวันออกกลาง ภายใต้การดูแลของพ่อค้า ชาวอาหรับ เข้าสู่อเล็กซานเดรีย และกรุงโรม
    การค้าขายเครื่องเทศต้องมาสะดุดลงเพราะสงครามครูเสต (ค.ศ.1092-1291) แต่ก็กลับเป็นเหตุให้กองทหารยุโรปต่างๆที่มาประจำการรบ ได้ติดต่อกับพวกอาหรับ ทำให้ได้รู้จักเครื่องเทศ จนกลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม มูลค่าของเครื่องเทศในยุคนั้นมีค่ามากกว่าทอง หลังจากจบสงครามครูเสต ค.ศ.1291 ชาวอาหรับทำการป้องกันเส้นทางการค้านี้อย่างเข้มงวด จนมีแค่พื้นที่เดียวที่เครื่องเทศนี้จะเดินทางออกไปสู่ยุโรปได้ เรียกว่าเขตลิแวนต์ บริเวณการค้าที่เป็นตะวันตกที่สุดของเอเซีย และตะวันออกสุดของเขตเมดิเตอร์เรเนียน หลังจบสงคราม 200 ปีกับกองทัพยุโรป ทำให้ชาวอาหรับไม่ไว้ใจพวกยุโรปอีกต่อไป แต่ด้วยความต้องการค้าขายจึงตัดสินใจดำเนินการค้ากับเพื่อนที่เค้าไว้ใจที่สุด และเพื่อนที่ได้รับความไว้วางใจที่สุดนั้นคือ เวนิเซีย 😉😉😉
โฆษณา