6 มิ.ย. 2019 เวลา 17:07
แกะรอยโมเดลธุรกิจ กับ Biz’Man
“วัด” กับโมเดลธุรกิจที่ซ่อนอยู่ ทาง Biz’Man เชื่อว่าทุกคนต้องเข้าวัด เพื่อทำบุญทำทาน ลด ละ กิเลสและอัตตา รวมทั้งการ “ปล่อยวาง”
แต่สิ่งที่น่าทึ่งนอกจากหลักธรรม ยังมีโมเดลธุรกิจที่ซ่อนอยู่ในนั้น และมีหลากหลายธุรกิจหรือ Startup ใหม่ๆที่เกิดขึ้นก็ใช้โมเดลธุรกิจในการก่อร่างสร้างตัว ที่เรียกว่า โมเดลธุรกิจแบบ Crowdfunding
“โมเดลธุรกิจแบบระดมทุน”
โมเดลธุรกิจแบบระดมทุน
โมเดลธุรกิจแบบระดมทุน (Crowdfunding) มีหลักการอย่างไร ทาง Biz’Man จะพยายามอธิบายให้เห็นภาพอย่างง่ายๆโดยใช้ “วัด” เป็นการอธิบายครับ
การที่ “วัด” จะสามารถระดมทุนก่อสร้างต่างๆ หรือสร้างสิ่งมงคลต่างๆ ด้วยโมเดลธุรกิจแบบระดมทุนนั้น จะประกอบด้วย "ผู้เล่น" 2 ฝั่ง ก็คือ
• ฝั่งระดมทุน (Crowdfunding) :
- ประชาชน หรือ ผู้ลงทุนรายย่อยที่ลงทุนไม่เยอะ แต่อาศัยจำนวนมาก
• ฝั่งโครงการ|ธุรกิจ (Project&Business) :
- ลูกค้า หรือ โครงการที่ไม่แสวงกำไร ที่อาจจะไม่ได้แลกเปลี่ยนด้วยเงิน
ในกรณีของวัด ก็จะประกอบไปด้วย
ฝั่งระดมทุน : ผู้บริจาค
ฝั่งโครงการ : ผู้ที่เช่าวัตถุมงคล เป็นต้น
โดยฝั่งระดมทุน(Crowdfunding) ประชาชนจะบริจาคเงิน แต่ทางวัดจะส่งมอบวัตถุมงคล, ความรู้สึกสบายใจ, ส่งมอบความคิดในการปล่อยวาง กลับมาแก่ผู้บริจาค(มอบทุน)
โดยฝั่งโครงการ(Project) เมื่อทำวัตถุมงคลเสร็จก็จะปล่อยให้บูชา แล้วทางวัดก็ได้เงินมาบำรุงศาสนาต่อไป
Biz’Man จะลองมาเจาะลึกถึงโมเดลธุรกิจแบบการระดมทุน เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
1. โมเดลธุรกิจเป็นการระดมทุนเงินลงทุนจากภายนอก โดยเป็นผู้ลงทุนจำนวนมากและรายเล็ก
2. โดยส่วนใหญ่จะพยายามไม่เลือกการระดมทุนจากผู้ลงทุนมืออาชีพ หรือ ธนาคาร
3. การระดมทุนจะกลับไปสู่โครงการ/สิ่งปลูกสร้างต่างๆ
4. โมเดลธุรกิจแบบระดมทุนสามารถใช้กับธุรกิจที่แสวงหากำไร หรือ ธุรกิจที่ไม่ต้องการกำไรก็ได้
5. ความน่าสนใจของธุรกิจที่มีการระดมทุน ไม่ใช่ต้องเป็นสิ่งตอบแทนเสมอไป และบางทีความสำเร็จของโครงการเป็นสิ่งที่น่าสนใจกว่า
6. การให้ผลตอบแทน สามารถแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น ไม่มีผลตอบแทน, สิ่งของ, รางวัล, เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ, แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกัน
7. ความสำเร็จของโครงการขึ้นอยู่กับความเชื่อใจระหว่างผู้ระดมทุนกับผู้มอบทุน ยิ่งมีความเชื่อใจสูงว่าโครงการจะสำเร็จก็จะได้รับผลตอบรับดี
โมเดลธุรกิจแบบระดมทุน (Crowdfunding) จะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ทั้ง Crowdfunding และ Project ซึ่งอาศัยเงินจากการระดมทุนมาขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินหน้าและสำเร็จ
เมื่อลองนำโมเดลธุรกิจแบบระดมทุนมาวิเคราะห์ถึงคุณค่าต่างๆที่เพิ่มขึ้นมา จะพบว่ามีรายละเอียดดังนี่
• คุณค่าที่ส่งมอบ :
- การเป็นส่วนร่วมในความสำเร็จของโครงการ
• กระบวนการสร้างคุณค่า :
- เป็นการจำกัดเงินทุนที่มาจากเงินทุนของนักลงทุนมืออาชีพ/ธนาคาร ทำให้มีนักลงทุนจำนวนมากและเป็นรายย่อยที่สนใจ
- ผลตอบแทนคืน มีทั้ง ไม่คืนเงิน, คืนเงินดอกเบี้ยต่ำ, สิ่งของ, รางวัล, ความภูมิใจ และอื่นๆ
• รายได้ :
- รายได้ที่มาจากเงินระดมทุนที่มีต้นทุนต่ำ
- รายได้ที่มาจากความสำเร็จของโครงการที่จำเป็นต้องใช้เงินทุนสูง
เมื่อมาพิจารณาถึงธุรกิจที่แสวงหาและไม่แสวงหา “กำไร” ที่ใช้โมเดลธุรกิจแบบระดมทุนกันครับ
เอาที่เห็นได้ชัดๆและง่ายๆ ก็คือ โครงการ “ก้าวคนละก้าว” ของพี่ตูน
โครงการ “ก้าวคนละก้าว” ของพี่ตูน ยิ่งใหญ่มากๆ คือต้องการระดมทุนเงินบริจาคจากประชาชนในการซื้อเครื่องมือแพทย์
การระดมทุนของโครงการก้าวคนละก้าว ที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม จากการเชื่อไจของเจ้าของโครงการกับผู้บริจาค
จะเห็นได้ว่า พี่ตูน ไม่ได้ต้องการให้คนบริจาคเงินจำนวนเยอะ แต่อยากให้คนจำนวนมากบริจาคเงินจำนวนน้อย ก็ตรงกับโมเดลธุรกิจแบบระดมทุน รวมทั้งตัวผู้บริจาคมีความเชื่อมั่นในตัวพี่ตูนต่อโครงการนี้ ก็ยิ่งทำให้โครงการนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี
“Biz’Man ของอนุโมทนาบุญด้วยครับ”
ตัวอย่างถัดมาคือ “Pebble Watch” ในช่วงเริ่มกิจการที่จำเป็นต้องไช้เงินทุนในการพัฒนา ก็อาศัย Crowndfunding platform ในอินเตอร์เน็ต ก็สามารถรวบรวมเงินทุนจนโครงการสำเร็จได้
Pebble ใช้ crowdfunding platform ในการระดมทุนจากทั่วโลก
หรือในไทยอย่าง “หนังสือ a day” ที่ทาง Biz’Man เคยอ่านเจอว่า มีการระดมทุนจากนักอ่านที่สนใจหนังสือ a day มาร่วมกันซื้อหุ้น เพื่อทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไป ซึ่งเป็นรายแรกๆของวงการหนังสือที่มีการระดมทุนจากนักอ่าน
หนังสือ a day ที่มาจากการระดมทุนของผู้อ่าน 2000 ท่าน
รวมทั้งบริษัททำภาพยนต์ “Cassava film” ที่ไม่มีเงินทุนเพียงพอในการทำหนัง จึงมีการระดมทุนในอินเตอร์เน็ตเพื่อให้การสร้างหนังสำเร็จไปด้วยดี
Cassava film ใช้ crowdfunding ในการระดมทุนสร้างหนังจนสำเร็จ
ทาง Biz’Man เชื่อว่าการเริ่มต้นจะเป็นไปได้ด้วยดี ถ้าสามารถใช้โมเดลธุรกิจแบบระดมทุนในการก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ เช่น ระดมทุนจากพ่อแม่ เพื่อน ในการขอเงินมาเปิดกิจการเล็ก โดยที่เงินทุนไม่พร้อม
การเล่นแชร์ ก็ปั้นนักธุรกิจที่ร่ำรวยมาไม่มากก็น้อย
การเล่นแชร์ก็คือการระดมทุนเงินเพื่อไปต่อก่อร่างสร้างตัว ซึ่งจะคล้ายๆกับโมเดลธุรกิจแบบเครื่องจักรทำเงิน
ดังนั้นทาง Biz’Man หวังว่า โมเดลธุรกิจแบบระดมทุนที่ได้ไอเดียมาจากวัดก็สามารถต่อยอดความมั่นคงทางการเงินของท่านผู้อ่านได้นะครับ
และที่สำคัญ...”ความซื่อสัตย์และความดี” เป็นปัจจัยสำคัญของโมเดลธุรกิจแบบระดมทุนครับ
หมายเหตุ : ในอินเตอร์เน็ตมีเวปที่เกี่ยวกับการระดมทุน ถ้าท่านผู้อ่านมีโครงการดีๆก็ลองไปเสนอดูนะครับ
มีข้อเสนอแนะแลกเปลี่ยนหรือแชร์ประสบการณ์ทางธุรกิจใดๆ สามารถคอมเม้นได้เลยครับ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆท่านครับ
ขอขอบคุณ สปอนเซอร์รายหลัก จาก โรงงานอบ บด ผสม บรรจุ วัตถุดิบอาหารผงทุกชนิด ( www spfpowder com)
โฆษณา