Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SaveYourMoney
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2019 เวลา 15:16 • การศึกษา
การจัดการเงินสำหรับ “เด็กจบใหม่” 🎓
(ฉบับคนชอบอ่าน)
“เด็กจบใหม่” เป็นวัยที่ควรได้เรียนรู้เรื่องการเงินมากที่สุด เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายครั้งแรกในชีวิต ด้วยเงินเดือนก้อนแรกในชีวิต
โดยที่โรงเรียนไม่เคยมีการสอนเรื่องการเงิน กับเขาเลย...
เหตุผลที่เด็กจบใหม่ ควรเรียนรู้ตั้งแต่”ตอนนี้”
1. จาก”ค่าขนม” จะกลายเป็น “เงินเดือน+ความรับผิดชอบ” แบบกะทันหัน
แม้จำนวนเงินจะสูงขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นตามมา แล้วน้องๆก็ยังไม่เคยเจอค่าใช้จ่ายเหล่านี้ตอนยังเป็นนักเรียนมาก่อน ถ้าไม่วางแผนให้ดี รายจ่ายอาจมากกว่ารายรับ!!!
2. เด็กจบใหม่ยังไม่มีภาระ
1
เริ่มวางแผนตั้งแต่ตอนที่เรายังไม่มีภาระ บ้านยังไม่ต้องผ่อน พ่อแม่ยังแข็งแรง ยังไม่มีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ เริ่มตอนนี้ง่ายกว่าเริ่มตอนที่มีภาระแล้วมากๆแหละ!!
1
3. ออมก่อน รวยกว่า
ด้วย”ระยะเวลา”ที่มีเหลือเยอะมาก ทำให้ได้เปรียบกว่าคนที่เริ่มช้า 3 factor ที่ทำให้เงินออมงอกเงยคือ
- เงินต้น
- ผลตอบแทน
- เวลา
2 factor แรกไม่รู้ว่ามีไหม ที่มีแน่ๆ คือเรื่อง เวลา ยิ่งเริ่มเร็ว เงินออมของเราจะยิ่งเติบโตจากการทบต้นทบดอกไปเรื่อยๆในระยะเวลาที่ยาวกว่าคนอื่น
1
4. เด็กจบใหม่เป็นเด็ก GenY
มีสื่อ มีสิ่งแวดล้อมชักจูงให้ Life style เป็นไปตามกระแสง่าย ทำให้อาจเสียเงินไปกับของที่เราไม่ได้อยากได้ หรือไม่จำเป็นจริงๆ
5. การเงินเป็นเรื่องที่ “ต้องเรียนรู้” ต้องมีความรู้ในการจัดการ
ทุกคนหาเงินได้ ใช้เงินทุกวัน แต่น้อยคนมากๆที่“วางแผน” เอาไว้ก่อน
6. คนส่วนใหญ่มักการบริหารจัดการเงินตามพ่อแม่ (เรียนรู้จากครอบครัว)
แต่จากสถิติ 97% ของคนไทยมีเงินใช้ไม่เพียงพอในวัยเกษียณ ซึ่งแปลว่า การเรียนรู้จากครอบครัวอาจทำให้รู้เรื่องเงินแบบผิดๆ หรือเปล่า?
1
🎓🎓🎓🎓🎓🎓🎓
วิธีการเริ่มต้นออมสำหรับ “เด็กจบใหม่”
1. เตรียมเงินสำหรับการเป็นบัณฑิต
เริ่มต้นแรกสุดเลย เราควรเตรียมเงินไว้เพื่องานรับปริญญาของเราก่อน “ค่าแต่งหน้าทำผม, ช่างกล้อง, ค่าลงทะเบียนจบ, ชุดครุย, ค่ารถให้ญาติๆ, ค่าเลี้ยงฉลอง ฯลฯ” รวมๆ อาจเป็นหลักหมื่น
ก่อนอื่นอย่าลืมเก็บเงินเผื่อตรงนี้ไว้ ถ้าเริ่มเป็นหนี้เพราะเรียนจบ คงไม่ดีแน่ๆ
2. เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน 3-6 เดือน
สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือเริ่มเก็บเงินสำรองฉุกเฉินได้เลยค่ะ อาจจะตัดออม 10% ไว้ในบัญชีเงินฝาก หรือกองทุนตลาดเงินก็ได้ เอาไว้ในที่ที่ถอนออกมาง่ายที่สุด
เตรียมพร้อมรับความเสี่ยงทุกด้าน ถ้ามีเหตุฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ, เข้ารพ., ตกงาน เงินตรงนี้จะเป็นตัวบรรเทาเรื่องร้ายๆให้ผ่านไปได้ค่ะ
1
3. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
จะทำให้เรารู้ว่าการใช้จ่ายของเราเป็นอย่างไร รู้จักตัวเองมากขึ้น และจะได้รู้ว่าเราหมดไปกับค่าใช้จ่ายที่ไร้สาระมากแค่ไหน
1
4. จัดสรรเงิน
เมื่อเรารู้แล้วว่าค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทเราเป็นเท่าไหร่บ้าง ก็จัดสรรไว้เลยค่ะ แบบนี้คือการจำกัดงบ ไม่ให้ใช้มากเกินไป ทำให้เราไม่มีปัญหาว่าเงินจะไม่พอใช้
1
5. ตั้งเป้าหมายในการออมเงิน
โดยเป้าหมายที่ตั้งควรจะเป็นไปได้ แต่ต้องใช้ความพยายาม เช่น ปกติออมได้ 7% ถ้าเป้าหมายคือออมได้ 10% แบบนี้ เป็นไปได้ เราจะมีความตั้งใจมากขึ้น ถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจน
“ยิ่งตั้งเป้าหมายเร็ว เราก็จะยิ่งบรรลุเป้าหมายเร็ว”
1
6. ไม่สร้างหนี้ ถ้ายังไม่พร้อม
หรือถ้าอยากรู้ว่าเราพร้อมเป็นหนี้ไหม อยากให้ใช้วิธี”ลองเป็นหนี้”ก่อน คือ การตัดออมในจำนวนที่เราต้องผ่อน ทุกเดือน ห้ามเอาตรงนี้มาใช้ และต้องอยู่ได้ด้วยเงินที่เหลือ สัก 6-12 เดือน ก่อนเป็นหนี้จริงๆ
การทำแบบนี้บางคนอาจนึกเสียดาย ไม่ก่อหนี้ในที่สุดก็เป็นได้
1
7. สร้างทรัพย์สิน ที่ทำให้”เงินไหลเข้ากระเป๋า” อะไรก็ได้
💰ตัวอย่างสินทรัพย์💰
เงินฝากในธนาคาร : ดอกเบี้ย
ตราสารหนี้ : ดอกเบี้ย
หุ้น : ปันผล,ส่วนต่างราคา
กองทุน ปันผล,ส่วนต่างราคา
สลากออมสิน : ดอกเบี้ย, รางวัล
บ้านเช่า : ค่าเช่า, มูลค่าบ้านที่เพิ่มขึ้น
ทองคำ : ส่วนต่างราคา
กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : เงินสมทบ, ส่วนต่างราคา
1
จากพี่ถึงรุ่นน้อง ยาวหน่อยแต่ตั้งใจพิมพ์มากๆๆ
จนสามีหันมาถามว่า เขียนคอนเท้นท์อีกแล้วใช่มั้ย
สักพักหันมาบอก.. เรื่องอะไรเนี่ย นานจัง
สักพัก ก็ยังไม่จบ สาบอกว่า ยาวไป เดี๋ยวคนไม่อ่านนะ 5555555
จึงอยากบอกว่า “อ่านเถอะ!!!!!!!”
เป็นอีกเรื่องที่อ้อตั้งใจเขียนมากๆจริงๆ
1
ด้วยรัก
- อ้อ SaveYourMoney -
1
31 บันทึก
64
5
59
31
64
5
59
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย