19 มิ.ย. 2019 เวลา 05:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
☀️โซลาร์ รูฟท็อป (Solar Rooftop)
1
เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่กับหลายๆคน
เพราะก่อนหน้านี้ก็มีโครงการโซลาร์รูฟท็อปเสรีนำร่องไปแล้ว
โดยล่าสุด กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน)
ก็ได้เปิดตัวโครงการ โซลาร์ภาคประชาชน
และเริ่มลงทะเบียนได้แล้ววันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา
เพื่อสนับสนุนให้บ้านเรือนทั่วไปผลิตไฟฟ้าใช้เอง
และนำส่วนเกินมาขายให้กับการไฟฟ้าฯ
หากมองเผิน ๆ เหมือนลงทุนครั้งเดียวแต่ได้กินผลตอบแทนยาว ๆ แบบนี้ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่ไม่อยากให้รีบตัดสินใจหากยังไม่ได้ดูรายละเอียด สำหรับคนที่ยังงง ๆ ไม่แน่ใจว่า โซลาร์ รูฟท็อป คืออะไร ราคาเท่าไร ติดตั้งยังไง ถ้าสนใจเข้าร่วมโครงการ โซลาร์ภาคประชาชน ลงทะเบียนที่ไหน มีขั้นตอนอะไรบ้าง ตามไปหาคำตอบพร้อม ๆ กัน
🌞โซลาร์ รูฟท็อป คืออะไร
Kapook
โซลาร์ รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ไว้บนหลังคา
เมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ก็จะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องแปลงไฟ (Inverter) เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง
เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ
ก่อนจ่ายไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในบ้าน
แต่หากเป็นช่วงฟ้าปิด ฝนตก หรือความเข้มของแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ ระบบก็จะสลับกลับมาใช้ไฟฟ้าแบบปกติโดยอัตโนมัติ
3
🌞การติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป
Kapook
โซลาร์ รูฟท็อป สามารถติดตั้งบนหลังคาได้ทุกชนิด
ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องซีเมนต์ และเมทัลชีท
แต่ก็ควรเช็คโครงสร้างหลังคาซะก่อนว่าแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักของโซลาร์เซลล์หรือไม่
โดยเฉพาะหลังคาที่ผ่านการใช้งานมานานกว่า 10 ปีขึ้นไป
ใช้พื้นที่ติดตั้งประมาณ 8-10 ตารางเมตร
ต้นทุนเฉลี่ย 35,000 บาท ต่อการผลิตไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์
1
☀️โซลาร์ รูฟท็อป เหมาะกับใคร
นอกจากเช็คโครงสร้างหลังคา พื้นที่ และต้นทุนที่ต้องใช้
ควรเปรียบเทียบปริมาณการใช้ไฟฟ้าในบ้านของตัวเอง
กับความต้องการการใช้ไฟฟ้าจากครัวเรือนอื่น ๆ ด้วย
โดยกรณีที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันมากก็จะคืนทุนเร็วกว่า
เพราะทำให้ประหยัดค่าไฟได้ประมาณ 3.80 บาทต่อหน่วย
และยังนำส่วนที่เหลือไปจำหน่ายต่อให้กับการไฟฟ้าฯ ได้อีกทาง
Kapook
☀️วิธีเข้าร่วมโครงการ
สำหรับ "โซลาร์ภาคประชาชน" เป็นโครงการของ กกพ. ที่สนับสนุนให้บ้านเรือนทั่วไปผลิตไฟฟ้าใช้เอง แล้วค่อยนำส่วนเกินที่เหลือจากการใช้มาจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฯ โดยมีการกำหนดกำลังในการผลิตไฟฟ้าไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ต่อครัวเรือน และมีสัญญารับซื้อในราคา 1.68 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยผู้ที่สมัครจะต้องเป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของมิเตอร์ หากเคยเข้าร่วมโครงการโซลาร์รูฟเสรี ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้
☀️วิธีลงทะเบียน
สามารถลงทะเบียนพร้อมดาวน์โหลดเอกสารให้การไฟฟ้าฯ
พิจารณา ผ่านทางเว็บไซต์ www.erc.or.th ทั้งนี้หากอยู่ในพื้นที่ของกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ยื่นคำขอในช่อง สำหรับผู้ใช้ไฟ กฟน. ส่วนอีก 74 จังหวัดที่เหลือลงทะเบียนผ่านช่อง สำหรับผู้ใช้ไฟ กฟภ. โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2562
ไปจนถึงสิ้นปี 2562 หรือจนกว่าจะเต็ม
☀️เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียน ได้แก่
บุคคลทั่วไป
1
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของเครื่องวัดฯ
- สำเนาใบแจ้งค่าไฟฟ้าของอาคารที่ติดตั้งแผง
- เอกสารแสดงรายละเอียดคุณสมบัติของแผงโฟโตโวลเทอิก
- แผนผังแสดงที่ตั้งของสถานที่ติดตั้งแผงโฟโตโวลเทอิก
- แผนภูมิระบบไฟฟ้า (Single Line Diagram) ที่มีวิศวกรรับรองแบบ
- สำเนาใบประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรที่ยังไม่หมดอายุ ระดับภาคีวิศวกรเป็นต้นไป
- เอกสารแสดงรายละเอียดคุณสมบัติของอินเวอร์เตอร์
- รูปถ่ายบ้านอยู่อาศัยที่จะติดตั้งแผง Solar
- หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท (กรณีมอบอำนาจ)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
นิติบุคคล
- เอกสารข้างต้นแบบเดียวกับบุคคลทั่วไป
- หนังสือรับรองนิติบุคคล ที่มีวัตถุประสงค์ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาบัตร ปชช. กรรมการผู้มีอำนาจลงนามและสำเนาแบบ ภ.พ. 01 หรือแบบ ภ.พ. 20 (ถ้ามี)
หลังจากลงทะเบียนและยื่นเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯ ก็จะทำการตรวจสอบข้อมูลและแจ้งผลไปยังอีเมลและทางเว็บไซต์ หากผ่านการคัดเลือกก็จะได้ลงนามในสัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้าต่อไป
หลังทราบรายละเอียดกันไปแล้ว หากสนใจเข้าร่วมโครงการ โซลาร์ภาคประชาชน ก็สามารถลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ของ กกพ. ได้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ไปจนถึงสิ้นปี 2562 ได้เลยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ข่าวพลังงาน, การไฟฟ้านครหลวง, กกพ., energyreform-solar และ เรื่องเด่นเย็นนี้
#พลังงานทดแทน
โฆษณา