21 มิ.ย. 2019 เวลา 13:09 • สุขภาพ
‼️เตือนกินสมุนไพร “ป่าช้าหมอง” มากเกิน
ป่าช้าเหงา...เพราะหมู่เฮาอายุยืน👍🏻
👉🏻ป่าช้าหมอง มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ❗️อาจทำให้ตับเย็น ร่างกายเย็น ซึ่งส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้ท้องอืดง่าย มือเท้าเย็น อ่อนเปลี้ยเพลียแรง และห้ามใช้ในผู้ป่วยที่กินยาละลายลิ่มเลือดชื่อวาร์ฟาริน เพราะอาจเสริมฤทธิ์ยา ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไต เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยในการใช้ในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว สำหรับผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิตได้ดีอยู่แล้วด้วยยาแผนปัจจุบัน ❌ไม่แนะนำให้กินป่าช้าเหงา เพราะสมุนไพรไม่ได้ทำให้โรคดังกล่าวหายขาดและอาจเสริมฤทธิ์ยาแผนปัจจุบันจนเกิดอันตราย‼️‼️‼️
ภาษาล้านนาและไทใหญ่ เรียก ป่าเฮ่วหมอง คำว่า “ป่าเฮ่ว” หมายถึงป่าช้า ป่าเฮ่วหมอง” จึงหมายถึง ป่าช้าหม่นหมอง เพราะไม่มีคนเสียชีวิต ไม่มีคนมาใช้บริการป่าช้า ถือเป็นสมุนไพรที่มีความสำคัญมาก
ชื่อสามัญ Bitter leaf
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vernonia amygdalina
การใช้เป็นยาพื้นบ้าน
ใช้แก้ไข้ ไข้มาลาเรีย
* พบสารสำคัญทางยา ชนิดเดียวกับฟ้าทะลายโจร : Andrographolide
แก้ไอ แก้โรคกระเพาะ แก้สะอึก บรรเทาอาการท้องผูก รักษาบิด ฆ่าพยาธิ รักษาดีซ่าน บำรุงไต รักษาเบาหวาน
ป่าเฮ่วหมอง ปรากฏในตำรายาล้านนาหลายตำรับ ส่วนใหญ่ใช้รักษาโรคเรื้อรังที่หายยาก เช่น โรคสาน หรือโรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติ รวมทั้งฝีต่างๆ ฝีสานตับหรือมะเร็งตับ ฝีสานปอดหรือมะเร็งปอด เป็นต้น โรคขางหรือแผลเปื่อยเรื้อรังตามอวัยวะต่างๆ และนิยมใช้เป็นยาแก้พิษต่างๆ อาทิ พิษจากสารพิษ พิษสุรายาเสพติด
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
- ลดน้ำตาลในเลือด
* สารสกัดน้ำจากใบป่าช้าเหงา มีผลลดน้ำตาลในหนูได้ 39.3% และยังมีผลช่วยฟื้นฟูตับอ่อน หลังได้รับ 28 วัน
รวมถึงมีประสบการณ์การใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่เห็นผลลัพธ์ที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ในต่างประเทศ มีทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ลดไขมัน
- ลดความดันโลหิต
- ต้านอนุมูลอิสระ
- ปกป้องตับ
- ต้านมะเร็ง ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
- กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
ในสหรัฐอเมริกา มีทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย
มีงานวิจัยระบุว่าสารสกัดน้ำของใบมีผลในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยโรคเอดส์
- แก้ปวด ลดอักเสบ
- เพิ่มคุณภาพของสเปิร์ม
วิธีรับประทาน
ยอดอ่อนลวกกินหรือกินสดๆ เป็นผัก วันละ 3-5 ใบ
ข้อห้ามใช้
- ห้ามใช้ในคนไข้กินยาวาร์ฟาริน
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
- ไม่ควรกินมากเกินไปในผู้ที่คุมน้ำตาล คุมความดันได้ดีอยู่แล้ว
"หนานเฉาเหว่ย" หรือ "หนานเฝยเฉ่า" (Nan fui chao)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnanthemum Extensum
เป็นพืชตระกูลเดียวกับป่าช้าหมอง มีฤทธิ์ทางยาคล้ายกัน
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก สมุนไพรอภัยภูเบศร🙏🏻
โฆษณา