24 มิ.ย. 2019 เวลา 10:29 • ปรัชญา
เยี่ยมมาก! ที่ไม่โทษตัวเอง
สาเหตุหนึ่งของอาการซึมเศร้าที่ป็อบปูล่ามากที่สุดที่ทศวรรษนี้ ผมว่าคงหนีไม่พ้นกับการโทษตัวเองหรอกครับ
ในโลกอันกว้างใหญ่ไพศาล มนุษย์เรานี่แหละครับที่โทษตัวเองเป็นอยู่สปีชีส์เดียว
แล้วการโทษตัวเอง นี่เป็นเรื่องดีหรือว่าไม่ดีกันแน่นะ? สมมุติว่าเราเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี100เปอร์เซ็นต์ เราจะต้องคิดว่าการโทษตัวเองมันเป็นเรื่องดีแน่ ๆ แต่ไม่ใช่เลยครับ!
คุณอาจจะคิดว่า การโทษตัวเองมันก็ดีแล้วนี่ เพราะได้รู้ ได้เห็นข้อผิดพลาด รู้สึกผิดเพื่อที่จะไม่ทำมันอีก จนปัจจุบันก็มีค่านิยมที่ว่า การโทษตัวเองนี่แหละคือการเป็นคนดี
เพราะว่าเราไม่โทษคนอื่นไงล่ะ เราไม่ทำร้ายใครหรือโทษใคร นั่นแหละคนดีเขาก็มักต้องโทษตัวเองก่อน
นี่เป็นมายาคติหนึ่งที่ทำให้บางคนเข้าใจผิดจนเป็นภาวะซึมเศร้า เมื่อเรากลัวการกระทบกระทั่ง พยายามไม่ชี้แนะคนอื่น
เราสร้างนิสัยนี้ จนมองเห็นข้อเท็จจริงบางอย่างผิดพลาดไป และคิดไปว่า ทุกอย่างต้องแก้ไขด้วยตัวเราเท่านั้น เรากดดันตัวเอง เหมือนแบกโลกทั้งใบ นู่นนี่นั่นอีกมากมาย
มันทำให้เราไม่เห็นบางอย่างที่เลวร้ายซึ่งซ้อนอยู่ในการโทษตัวเอง
เราได้ค่านิยมนี้จากหลายแห่ง… ไม่ว่าจะในเพลง วัฒนธรรมหรือผู้คน และในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราได้ถูกขัดเกลาและเปลี่ยนคุณค่าเพิ่มแง่บวกให้กับ คำ คำนี้
ทั้งที่จริงการกลับมามองตัวเอง เราไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้สึกแย่เพื่อทับถมตัวเราก็ได้ เมื่อลองแจกแจงดูดี ๆ แล้ว เราจะเห็นว่าการโทษตัวเองช่างเป็นคำที่แย่เสียเหลือเกิน
แน่นอนล่ะว่าเราควรมองโลกในแง่ดี แต่ก็ไม่ควรดีเกินไปจนละเลยสิ่งที่ทำร้ายเรา
หลายคนมักปลอบคนซึมเศร้าว่า นาย เธออย่าโทษตัวเองเลย… ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จแน่นอนในสถานการณ์ที่เขาเศร้าอยู่
เราควรอยู่เฉย ๆ ฟังอย่างตั้งใจ ให้เขาระบาย
เพราะถึงแม้ว่าจะพยายามช่วยพูดให้เขาฟื้นมากแค่ไหน แต่เหตุผลที่หล่อหลอมมาทุกอย่างจะถูกยกขึ้นมาปกป้อง ข้อดีของการทำร้ายตัวเองในหัวสมองของเขา
หากเราไม่ชี้แจงเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องเลิกโทษตัวเองอย่างเด็ดขาด ทำไมเราต้องเปลี่ยนไปใช้คำอื่นแทน อย่างเช่น
“การวิเคราะห์ตัวเอง”
หรือควรยกโทษให้ตัวเอง และมองแต่สาเหตุ วิธีการแก้ปัญหาและหนทางการแก้ปัญหาเพียงเท่านั้น โดยไม่ใช้อารมณ์ร่วมไปความรู้สึกผิดในสถานการณ์นั้น ๆ มากเกินไปนัก
แน่นอนว่าพูดได้ แต่ทำยากครับหากเราไม่ฝึกฝนเลย ฉะนั้นสติจึงสำคัญที่สุดในการใช้วิธีนี้
แต่ถึงแม้จะมีสติเอง ก็อาจไม่ประสบความอยู่ดี หากไม่เปลี่ยนทัศนคติที่มีอยู่
เพราะสำหรับคนที่ยอมรับการโทษตัวเองนั้น สาเหตุมาจาก เรายอมแลกความรู้สึกผิดกับความหมายที่ว่า
นี้ไม่ใช่การทำร้ายคนอื่น
นี้เป็นการดูข้อผิดพลาดเพื่อให้ตัวเองแก้ไข
ซึ่งต่อให้เศร้าแค่ไหนอย่างไรเราก็ต้องโทษตัวเองอยู่ดี เพราะนั่นเป็นจุดยืนของคนที่มีภาวะซึมเศร้าจากสาเหตุนี้ และเขาไม่สามารถเลิกทำร้ายตัวเองได้ง่าย ๆ
เพราะอารมณ์เศร้าที่มาจากเหตุผลและความดี เป็นสิ่งที่แก้ได้ยากที่สุด เมื่อเขามองว่าการแลกเปลี่ยนนี้มันคุ้มค่าสำหรับเขา
แต่หากเราแยกมันออกอย่างชัดเจนจะเห็นว่า เราสามารถ “วิเคราะห์ตัวเอง” ให้เห็นข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไขได้เหมือนกัน โดยเราไม่ต้องทับถมตัวเองอีกเลยและถึงเราจะบอกเรื่องจริงให้คนอื่นแก้ไขหรือชี้แนะเขา มันก็เป็นเรื่องดีที่เราจะช่วยสะท้อนให้เขาก้าวหน้า และนั่นไม่ใช่การกล่าวโทษคนอื่นเช่นกัน
กล้าพูด พูดออกมาเลย!
หากเราเงียบ ปล่อยไป ไม่บอกใคร ยอมรับความผิดที่เราไม่ผิด นั่นก็อาจเรียกว่าเลวได้เหมือนกันมันก็มองได้
เพราะว่า เราปล่อยให้เขาทำเชี่ยทำผิดพลาดซ้ำ ๆ ไม่ช่วยให้เขาเห็นข้อผิดพลาดบ้างเลย
ฉะนั้นเมื่อแยกเอามายาคติออกไป การโทษตัวเองก็ไม่มีข้อดีที่คุ้มค่าเสียเท่าไรนัก เมื่อแลกกับความรู้สึกแย่ที่กดทับตัวเราเอง
ผมหวังว่าวิธีคิดและมุมมองนี้จะช่วยให้คุณมองการโทษตัวเองต่างไปจากเดิม ไม่มากก็น้อยครับ
โฆษณา