Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอไทย ตัวน้อย
•
ติดตาม
24 มิ.ย. 2019 เวลา 15:12 • สุขภาพ
👉🏻👉🏻ช่วงนี้เรื่องกัญชามาแรงมากๆ อยากให้ทุกคนได้รู้ถึงผลข้างเคียงและข้อห้ามกันหน่อย #กัญชาไม่ใช่ยาวิเศษ และตอนนี้ยังไม่มีสารสกัดกัญชาจำหน่ายหรือใช้รักษาผู้ป่วย อยู่ในขั้นตอนการวิจัย📍📍📍📍📍📍
ผลข้างเคียงของกัญชา
🌱 ส่วนใหญ่ขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละคน วิธีการใช้ ขนาดยาที่ใช้
😞 พบได้บ่อย : ง่วงนอน อ่อนเพลีย เวียนหัว วิตกกังวล คลื่นไส้ ปากแห้ง การเรียนรู้ลดลง
กรณีสูบจะพบอาการไอ มีเสมหะ หลอดลมอักเสบ
😄 พบค่อนข้างบ่อย : เคลิ้มสุข ตาเบลอ ปวดหัว
🤭 พบน้อย : ความดันตก โรคจิต หวาดระแวง ซึมเศร้า เดินเซ ใจสั่น อาการใจสั่นมักเกิดช่วงเริ่มต้นใช้ยาที่ปรับขนาดยา
🔴 ข้อห้ามใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มีสารที่ทำให้เมา (THC) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งผลิตภัณฑ์จากกัญชาในไทย พบสารนี้อยู่ ยังไม่มีการสกัดแยกได้ เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
1. ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา
ซึ่งอาจเกิดจากส่วนประกอบอื่นๆ และ/ หรือสารที่เป็นตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัด
2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดขั้นรุนแรง หรือไม่สามารถคุมอาการได้
เช่น ยังมีอาการกำเริบบ่อยๆ ของการปวดเค้นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันตก เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงหัวใจขาดเลือด รวมถึงห้ามใช้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
3. ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคจิตมาก่อน หรือ มีอาการของโรคอารมณ์แปรปรวนหรือ โรควิตกกังวล
4.ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิด หรือสตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์เนื่องจากมีรายงานการศึกษาพบว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย รวมถึงพบสารจากกัญชาผ่านในน้ำนมแม่ได้
⚠️ ข้อควรระวัง การใช้กัญชาทางการแพทย์
1. เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มี THC เป็นส่วนประกอบ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดจิตเภทและลดพัฒนาการทางสมองได้
2. ผู้ที่เป็นโรคตับและโรคไต (ไม่แนะนำให้ใช้ในคนไข้ไตวายระยะสามขึ้นไป หรือมีค่าอัตราการกรองของไต GFR น้อยกว่า 60) เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยชัดเจน แต่จากเปลี่ยนแปลงยาพบว่าเกิดขึ้นที่ตับส่วนใหญ่ หากจำเป็นต้องใช้ให้ลดขนาดยาลง)
3. ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก
4. ผู้ใช้ยาอื่นๆ เช่น ยานอนหลับ ยาจิตเวช ยาลดการเต้นของหัวใจ ยากันชัก ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน เนื่องจากอาจเกิดอันตรกิริยาระหว่างกัน (มีผลเปลี่ยนแปลงระดับยาในเลือด)
5. ผู้สูงอายุ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอ กระบวนการเปลี่ยนแปลงยาของผู้สูงอายุจะช้ากว่า จึงดูเหมือนว่ามีการตอบสนองต่อกัญชาได้สูงกว่า และระวังการพลัดตกจากที่สูง จากการที่สาร THC ในกัญชาอาจมีผลทำให้ง่วง เสียการทรงตัว วิงเวียน ดังนั้นการใช้จึงควรเริ่มต้น ในปริมาณที่น้อยและปรับเพิ่มขึ้นช้าๆ และใช้ในขนาดต่ำสุดที่ให้ผลการรักษา
6. ไม่ควรใช้ยากัญชาในขณะที่ขับรถหรือทำงานใกล้เครื่องจักร เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ หลีกเลี่ยง 4 ชั่วโมงหลังสูบ/ 6-8 ชั่วโมงหลังรับประทาน หรือเลี่ยงหากมีอาการเคลิ้มสุข/ง่วงนอน
7. ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง แนะนำให้ใช้กัญชาในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่การเผาไหม้ (การสูบ) เพื่อลดกระทบที่เกิดกับปอด
8. ไม่ควรใช้กัญชาหากไม่มั่นใจในคุณภาพ เนื่องจากมีรายงานว่ากัญชาที่นิยมนำมาสูบอาจมีการชุบฝิ่น หรือมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงสูง !!!
อยากให้ทุกคนศึกษาข้อมูลดีๆนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก สมุนไพรอภัยภูเบศร
บันทึก
19
6
62
19
6
62
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย