28 มิ.ย. 2019 เวลา 16:43 • ธุรกิจ
FREITAG จากไอเดียรีไซเคิลของใกล้ตัวสู่แบรนด์ระดับโลก
1
Markus และ Daniel 2 พี่น้องดีไซน์เนอร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ พวกเขาทั้งสองปั่นจักรยานไปทำงานทุกวัน และต้องทนกับฝนที่ตกเป็นประจำในนครซูริค พวกเขามองหากระเป๋าที่มีขนาดใหญ่พอที่จะใส่อุปกรณ์การเรียนต่างๆ มีวัสดุที่ทนฝน และสามารถใช้ร่วมกับการเดินทางบนจักรยานได้ ในวันนึงที่พวกเขาพูดคุยกันอยู่ในห้องครัวในอพาร์ทเมนต์ Markus ได้เหลือบไปมองรถบรรทุกมองถนน จนเกิดเป็นไอเดียเอาผ้าคลุมรถบรรทุกที่มีคุณสมบัติทนแดด ทนฝน มาทำเป็นกระเป๋าที่แก้ปัญหาที่ต้องพบเจอในทุกวัน นี่คือเรื่องเล่าอันทรงพลังของกระเป๋าที่มีไอเดียจากวัสดุรีไซเคิลที่ใครหลายคนคงนึกไม่ออกว่าสิ่งของพวกนี้จะเอามาทำเป็นกระเป๋าใบนึงได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นผ้าใบรถบรรทุก เข็มขัดนิรภัย และยางในจักรยาน จนกลายมาป็น FREITAG กระเป๋าสุดเท่ที่ครองใจคนรุ่นใหม่ได้ในทุกวันนี้
www.freitag.ch
‘We think and act in cycles’
พวกเขาเริ่มหาผ้าใบคลุมรถบรรทุกมาล้างทำความสะอาด นำมาตัดเย็บเป็นกระเป๋า Message bag
FRIETAG ใบแรกจึงถึงกำเนิดขึ้น กระเป๋าของพวกเขาสร้างขึ้นภายใต้คอนเซป ที่จะนำขยะรีไซเคิลทั้งหมด มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง สายสะพายกระเป๋า Freitag ทำจากเข็มขัดนิรภัยที่ไม่ใช้แล้ว ขอบกระเป๋าทำมาจากยางในรถยนต์จักรยานเก่า และผ้าใบรถบรรทุกที่ถูกนำมาใช้ผลิตกระเป๋าจะมีอายุการใช้งานจริงไม่ต่ำกว่า 5-8 ปี
ทำไม FRIETAG ถึงครองใจวัยรุ่น?
นอกจากความอึด ทึก ทนแดด ทนฝน ที่เหมาะกับสภาพอากาศของบ้านเรา กระเป๋าของ FRIETAG มีความ Functional ที่ทำให้วัยรุ่นไทยรวมถึงวัยทำงานนิยมใช้กันป็นอย่างมาก ทั้งการใส่เอกสาร Laptop ของใช้ต่างๆ จนถึงเป็นกระเป๋าเดินทาง ฯลฯ ในปัจจุบันมีกระเป๋าทั้งหมด 50 แบบ ที่สามารถตอบโจทย์ทุกการใช้งานได้เป็นอย่างดี นอกจาก value ของแบรนด์ที่ดึงเอาเรื่อง sustainability ที่ผู้คนเริ่มให้ความสนใจเรื่องรักษ์โลกกันมากขึ้น อีกหนึ่งจุดขายเฉพาะตัวคือ Every Bag is Difference เพราะกระเป๋าที่คุณซื้อไปจะมีเพียงใบเดียวโลก ไม่มีทางซ้ำกับคนอื่นแน่นอน นั่นยิ่งทำให้ FREITAG ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า บางแบบมีมูลค่าสูงถึง 14,900 บาท (*ราคาจากเวป PRONTO ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทาง)
www.freitag.ch
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จาก FREITAG นอกจากการเอาเทรนด์รักษ์โลกของผู้คนมาช่วงดึงมูลค่าให้กับสินค้า ตัวแบรนด์ที่มี Story telling ที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ สิ่งนึงที่สองพี่น้อง Markus และ Daniel ได้สอนเราคือ การเปลี่ยนเอา pain point ของตัวเองให้กลายเป็นธุรกิจ บางครั้งไอเดียในการทำธุรกิจก็อยู่รอบตัวนี่เอง หลายๆ ธุรกิจเกิดขึ้นเพราะมีไอเดียที่แก้ pain point ต่างๆ ทำให้ชีวิตประจำวันของเราดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Grab, UBER (แก้ปัญหาเรื่องการเรียกรถแท็กซี่), Dropbox (แก้ปัญหาเรื่องหาไฟล์งานไม่เจอ Thump dive หาย ) ฯลฯ ปัญหาเหล่านั้นอาจจะป็นแค่เรื่องเล็กๆ น้อย ที่สร้างความหงุดหงิดใจให้กับคุณ เพียงแค่คุณเรียนรู้ ปรับใช้ และต่อยอดให้กลายเป็นธุรกิจ สร้างมูลค่าให้โปรดักหรือเซอวิสนั้นๆ ทำให้ผู้คนรู้ถึงมูลค่าของธุรกิจของคุณ
1
ผู้บริโภคตอนนี้ไม่ได้ต้องการแค่เทคโนโลยีสมัยใหม่ วิทยาการล้ำๆ เสมอไป พวกเขาอาจเพียงมองหาผู้ช่วย ที่จะทำให้ชิวิตประจำของวันชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไป คำถามที่แท้จริงคือ ธุรกิจของคุณตอนนี้มีส่วนช่วยให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นได้อย่างไรต่างหาก
โฆษณา