29 มิ.ย. 2019 เวลา 13:34 • ธุรกิจ
4 สัญญาณที่นักลงทุนหลายคนใช้ทำนายเศรษฐกิจในอนาคต
"ตราบใดที่ภาคการบริโภคกับภาคการผลิตยังอยู่ได้ เศรษฐกิจก็ยังยืนอยู่ได้เช่นกัน"
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากผลกระทบจากสงครามการค้าของยักษ์ใหญ่ระหว่างจีนกับอเมริกา แม้ว่าจะเริ่มคลี่คลายลงแล้วบ้าง
แต่ผลกระทบที่ต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้วต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ได้ก่อบาดแผลทางเศรษฐกิจทั่วโลกได้มากพอตัวทีเดียว สะท้อนไปถึงตลาดหุ้นที่อยู่ในช่วง sideway เราในฐานะนักลงทุนรายย่อยตัวน้อย ก็มีช่วงเวลาที่เหมาะอย่างยิ่งที่จะหาความรู้ไว้ใช้ในอนาคต
4 สัญญาณเตือนภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน U.S.
1. Inverted yield curve
ภาวะที่อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว
ว่ากันง่ายๆคือ นักลงทุนถือพันธบัตรรัฐบาลอายุยาวมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลอายุสั้น เพราะนักลงทุนคิดว่าธนาคารกลางจะลดดอกเบี้ยลง ทำให้มีแต่คนซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุยาวจน Yield ลดลงจนต่ำกว่า Yield ของพันธบัตรที่มีอายุสั้นกว่า เรียกว่า Inverted Yield Curve
นักลงทุนนิยมใช้ ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และ 2 ปี (10y-2y spread) ซึ่งมักติดลบเมื่อเกิด Inverted Yield Curve
2. Credit Conditions (เงื่อนไขในการให้สินเชื่อ)
ยิ่งเงื่อนไขในการกู้ยืมโดนเฉพาะในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางยากขึ้นเท่าไหร่ นั้นก็หมายความถึงความเสี่ยงที่เหล่าธนาคารหรือผู้ให้กู้มองเห็นว่ามีความเสี่ยงที่ภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นอาจไม่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจของผู้กู้ยืมโตได้เท่าที่ควรจะ
เป็น
3. Business Sentiment (มุมมองจากธุรกิจ)
ดัชนี PMI ของสหรัฐฯ จัดทำโดย ISM (Institute for Supply Management)สำรวจผ่าน 5 ตัวแปรหลัก ประกอบไปด้วย : ยอดสั่งซื้อใหม่ ปริมาณสินค้าคงคลัง สายการผลิต การส่งสินค้าซัพพลาย และการจ้างงาน
ถ้ามากกว่า 50.0 จุด แสดงว่ามีการขยายตัว
แต่ถ้าหากออกมาต่ำกว่า 50.0 จุด สะท้อนการหดตัว
4. Labor Signs (สัญญาณการจ้างงาน)
ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐ ที่รายงานโดยกระทรวงแรงงานสหรัฐ
เช่น จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงาน (Initial Jobless Claims)
ตัวเลขการจ้างงานชั่วคราว (temporary hiring) เมื่อไหร่ที่เศรษฐกิจดี ตัวเลขการจ้างงานชั่วคราวจะเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ แต่ถ้าเศรษฐกิจแย่ก็มักจะเป็นคนแรกที่ต้องเดินออกไป
โฆษณา