30 มิ.ย. 2019 เวลา 16:48 • ธุรกิจ
เขาหาว่าฉันเป็น “นักเลงคีย์บอร์ด”
ในยุคที่อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายและครอบคลุมไปทั่วทุกมุมโลก การสื่อสารผ่านช่องทางนี้จึงเป็นที่นิยม
เนื่องจากมีความ “ฉับไว ทันเหตุการณ์” เราสามารถรับรู้ได้ทั้ง “ภาพและเสียง” และที่มากไปกว่านั้นคือเป็นการสื่อสาร “สองทาง” ที่ผู้รับสารสามารถแสดงความคิดเห็นให้กับผู้ส่งสารหรือเจ้าของสื่อได้
โดยที่สื่อแบบเก่าๆไม่สามารถทำได้หรือทำได้ในขอบเขตจำกัด
คนเราเลยหลงลืมตัว ด้วยความกลัวไม่ทันกระแส ความรู้สึกมีอารมณ์ร่วมหรืออะไรก็แล้วแต่ จึง “พิพากษา หรือ ตัดสิน”
เหตุการณ์เหล่านั้นด้วยคำรุนแรง จึงมีคำว่า “เกรียนคีย์บอร์ด”
เกิดขึ้นมา
แล้วเราควรวิจารณ์อย่างไรให้เกิดประโยชน์???
คำว่า “วิจารณ์” แท้จริงแล้ว แปลว่า ตรอง ไคร่ครวญ คิด ตรวจตรา สืบสวน ค้นคว้าและพิจารณาคุณค่า
หลังจากทราบความหมายแล้ว ลองเอาเทคนิคการ “วิจารณ์วรรณกรรม” มาใช้
เขาจะได้ไม่มาหาว่าเราเป็น “เกรียนคีย์บอร์ด” อีกต่อไป
โดยองค์ประกอบของการวิจารณ์วรรณกรรมคือ
• ภาษา
• เนื้อหา
• รูปแบบ
ก่อนที่จะวิจารณ์อะไร ก็ต้องรู้ก่อนว่ามีความรู้พื้นฐานในเรื่องเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด
หลักการของการวิจารณ์ต้องทำอย่างไรบ้าง???
• วิเคราะห์ คือการแยกแยะองค์ประกอบและรูปแบบ
• วิจารณ์ คือการมองรายละเอียดให้ครบถ้วนสามารถแนะนำ.
และติชมว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” อย่างไรได้
• วิพากษ์ คือการประเมิณคุณค่าของผลงานได้
สุดท้ายคือจรรณยาบรรณของการวิจารณ์
• ไร้อคติ
• ติเพื่อก่อ
• รับผิดชอบ
ลองคิดดูซิครับการวิจารณ์เรื่องใดๆ สักเรื่องนึงต้องใช้ความรู้และหลักการพอสมควรทีเดียว ขอให้เรามีสติสักนิดนึง หากจะ”วิจารณ์” สิ่งหนึ่งสิ่งใด เราจะได้ไม่ถูกจัดให้ไปอยู่ในกลุ่ม “นักเลงคีย์บอร์ด”
แหล่งข้อมูลจาก
โฆษณา