8 ก.ค. 2019 เวลา 16:04 • ธุรกิจ
ต้มยำกุ้ง...บทเรียนไม่รู้ลืม😫😫😫
“วิกฤตต้มยำกุ้ง” เป็นช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลก
วิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน (financial overextension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ ในเวลานั้น ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายก่อนหน้าการล่มสลายของค่าเงิน และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้น
สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อGDPเพิ่มสูงขึ้นจาก 100% เป็น 167% ในสี่ประเทศใหญ่อาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2536 - 2538 ก่อนจะขึ้นไปสูงถึง 180% ในช่วงที่วิกฤตการณ์เลวร้ายที่สุด ในเกาหลีใต้ สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 21% และแตะระดับสูงสุดที่40%ขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่อยู่ทางเหนือได้รับผลกระทบน้อยกว่ามาก มีเพียงในไทยและเกาหลีใต้เท่านั้นที่หนี้สัดส่วนบริการต่อการส่งออกเพิ่มขึ้น
ถึงแม้ว่ารัฐบาลส่วนใหญ่ในเอเชียได้ออกนโยบายการเงินที่ดูแล้วสมบูรณ์ แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ก้าวเข้ามาเพื่อริเริ่มโครงการมูลค่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงินในเกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว
เราได้อะไรจากต้มยำกุ้ง🍲🍲🍲
ตอนที่เกิด “ต้มยำกุ้ง” ขึ้นนั้น น้องๆส่วนใหญ่อาจจะพึ่งเกิดหรือยังอยู่ในท้องของเเม่แต่คนรุ่นพ่อรุ่นเเม่จะรับรู้ถึงผลกระทบได้ดีเลยทีเดียว แต่ในเมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ที่ควรนำไปเป็นบทเรียน และควรอย่างยิ่งที่จะเรียนรู้จากมัน ต่อให้น้องที่ไม่มีประสบการณ์ก็ตาม พี่จึงชวนน้องๆมาวิเคราะห์ว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจและจะทำอย่างไรหากเกิดขึ้นในยุคนี้
ข้อแรก| คือน้องๆควรที่จะระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายต่างๆ ของตัวเองและครอบครัว และมีการจัดพอร์ตการลงทุนให้สามารถสู้กับทุกสถาณการณ์ได้ โดยไม่ใช่แค่ลงทุนเพื่อหวังผลกำไรอย่างเดียว ต้องมีเงินสดสำรองไว้อย่างเหมาะสม
ข้อที่สอง| ก็คือต้องติดตามข่าวสารและหาความรู้อยู่เสมอ ยิ่งการลงทุนในปัจจุบันที่จะไม่ได้อยู่ในรูปแบบเดิมๆ อย่าง หุ้น กองทุน หรือพันธบัตร แต่เริ่มมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีซึ่งจะต้องอาศัยความเข้าใจอย่างมาก เราก็ยิ่งต้องตามติดเพื่อรู้ให้ทัน
ข้อสุดท้าย| ต้องฝึกวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อจะได้รู้เท่าทัน เพราะการเกิดวิกฤติในตอนนั้นเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นแทบจะเรียกได้ว่าฉับพลัน ถึงผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มเดาทางออกก็มีเวลาแค่ไม่กี่เดือน แต่สำหรับในยุคนี้ มีข้อมูลบ่งชี้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจจะกินเวลานาน อาจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งเคยบอกไว้ว่าถ้าหากยุคนั้นเป็น “ต้มยำกุ้ง” ที่ใช้น้ำเดือดจัดและต้มเพียงไม่นานก็สุก แต่ในยุคของเราก็อาจจะเป็น “ต้มกบ” ที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล
และด้วยสังคมยุค Digital Transformation มีความรวดเร็วของข้อมูลสูง อาจทำให้ขาดความระมัดระวังที่ดีได้
วิกฤตต้มยำกุ้งเป็นบทเรียนที่ดีที่ทำให้คนปัจจุบันสามารถยั้บยั้งชั่งใจในการลงทุนได้ เเละทำให้ธนาคารสามารถเลือกคนที่กู้เงินด้วยคุณสมบัติต่างไม่ใช่ใครก็ได้ที่กู้
สุดท้ายนี้พี่อยากเตือนน้องๆนักลงทุนหน้าใหม่ ทุกๆการลงทุนน้องๆควรศึกษาความรู้ต่างๆให้กระจ่างเเละรู้จริงเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่างๆให้เสี่ยงน้อยที่สุด เเละทุกๆการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงอยู่เเล้ว ทำยังไงก็ได้ให้เสี่ยงน้อยที่สุด วิธีนั้นก็คือการศึกษาความรู้ทางการเงิน ดังนั้นน้องต้องลองเสี่ยงดูเเต่น้องต้องมีความรู้น่ะค่ะ
โฆษณา