10 ก.ค. 2019 เวลา 03:50 • การศึกษา
วงกลมปริศนาที่พื้นมหาสมุทร มันคืออะไรกันนี่???
Photo reference : MYSTERIOUS UNDERWATER CROP CIRCLES (https://m.youtube.com/watch?v=YOGvVn7IWVY&time_continue=2)
บนโลกของเรามีอะไรน่าตื่นตา แปลกใหม่และน่าสงสัยอยู่เสมอเลย เพียงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็กลายเป็นคำถามที่ทุกคนสนใจอยากรู้คำตอบ
เมื่อปีค.ศ. 1995 วงกลมที่น่าพิศวงถูกพบที่ดินแดนอาทิตย์อุทัย ชายฝั่งใกล้ๆ เกาะ Amami-Oshima นั่นเอง
ไม่มีใครรู้เลยว่ามันเกิดมาจากปรากฎการณ์อะไรกันแน่ แต่สามารถพบได้ทั่วไปรอบๆ บริเวณนี้ จนกระทั่งมีนักวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่นออกมาไขปริศนานี้ได้สำเร็จ
เย่!
1
Hiroshi Kawase, Yoji Okata, และ Kimiaki Ito สามท่านผู้รอบรู้ได้เขียนหนังสืออธิบายปรากฎการณ์ดังกล่าวว่า มันเป็นวงกลมที่ถูกปลาชนิดหนึ่งสร้างขึ้นมา
เอ้! ปลาอะไรนะ เก่งจริงๆ สามารถทำรูปทรงที่ซับซ้อนแบบนี้ได้
คำตอบคือ เจ้าปลาปักเป้าตัวผู้นั่นเอง 😂 และเฉพาะพันธุ์ Torquigener sp. เท่านั้นด้วยนะที่มีความสามารถนี้
Photo reference : https://alchetron.com/Torquigener
ทำไมถึงมีเฉพาะตัวผู้ที่ทำได้ล่ะ???
เอาไว้จีบสาวน่ะสิถามได้ 😂 สาวๆ ปักเป้าชอบตัวผู้ที่ทำวงกลมได้ยอดเยี่ยมที่สุด และ เลือกทรายบริเวณที่ทำได้ดีที่สุด
ขยะหรือเศษซากที่ไม่ต้องการจะถูกนำไปทิ้งด้านนอก นับเป็นรังที่สะอาดาสวยงาม โดยเกณฑ์การพิจารณา จะดูตั้งแต่ความสะอาดของทราย จำนวนเปลือกหอยในทราย รวมไปทั้งขนาดและรูปทรง
1
เพราะที่กลางวงกลมนั้นตัวเมียจะเข้าไปวางไข่นั่นเอง
ถามว่าทำไมต้องทำเป็นรูปทรงนี้???
เพราะรูปทรงนี้ใช้ในการชะลอกระแสน้ำในมหาสมุทร ทำให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมสำหรับไข่ที่กำลังพัฒนาเป็นตัวอ่อนที่บริเวณตรงกลางวงกลม
ขนาดของวงกลม?
มันมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.8 - 2 เมตร
Photo reference : ThaiSciBiodiversity (https://www.facebook.com/120993234662846/posts/571070149655150?s=100003854703788&sfns=mo)
โดยแอดจะอธิบายการสร้างรังเป็น a-d ตามรูปข้างต้น
ระยะ a = ระยะแรกเมื่อตัวผู้เริ่มลงมือทำรัง
ระยะ b = ระยะที่สองซึ่งรังมีความสมบูรณ์มากขึ้น หรือ เกือบสำเร็จแล้ว
ระยะ c = ระยะที่ตัวเมียจะเข้ามาพิจารณารัง นั่นก็หมายความว่ารังเสร็จแล้ว ทำๆ อยู่ก็จะมีตัวเมียสนใจมาดูนะ อะไรแบบนี้ แล้วตัวผู้ก็จะเชิญสาวเข้ามาสำรวจด้วยกัน แต่ถ้าตัวผู้ตัวอื่นหรือสัตว์น้ำอื่นมาล้ำเส้นก็จะโดนไล่หนีไป เมื่อตัวเมียตกลงปลงใจก็จะวางไข่ที่ตรงกลางและจากไป ส่วนพ่อปลามีหน้าที่เฝ้าไข่อยู่ประมาณ 6 วัน โดยไม่แตะต้องทรายจนไข่ฟักออกมา
ระยะ d = เมื่อไข่ฟัก พ่อปลาก็จากไป และ ทรายก็กลับไปเรียบเหมือนเดิมเพราะแรงคลื่น
ถามว่า มีการใช้พื้นที่ทำรังซ้ำได้ไหม??
คำตอบคือ ไม่ เพราะปักเป้าจะเปลี่ยนที่ทำรังไปเรื่อยๆ
Photo reference : https://www.nature.com/articles/srep02106#f7
โดยทิศทางการไหลของกระแสน้ำในวงกลมเป็นดังนี้
โดยที่รูป a บริเวณสีแดงที่ถูกมาร์คไว้ เป็นทิศทางการไหลของน้ำ และสรุปได้ตามรูป b จะเห็นว่าน้ำไหลเข้ามาตามลูกศรสีฟ้าทำให้ความแรงของน้ำถูกชะลอลง และไหลผ่านออกไปตามลูกศรสีเขียว บริเวณตรงกลางจึงเป็นที่ๆ โดนคลื่นน้อยที่สุด
รูปทรงดังกล่าวสามารถต้านทานกระแสคลื่นได้แค่ 6 วันเท่านั้น พอดีกับวันที่ลูกปลาฟักออกมา
Reference / อ้างอิง
3. MYSTERIOUS UNDERWATER CROP CIRCLES (https://m.youtube.com/watch?v=YOGvVn7IWVY&time_continue=2)
4. Article | OPEN | Published: 01 July 2013 Role of Huge Geometric Circular Structures in the Reproduction of a Marine Pufferfish (https://www.nature.com/articles/srep02106#f7)
เรียบเรียบเนื้อหาโดย : โลกมีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
วันที่ 10 ก.ค. พ.ศ. 2562
แอดไม่ได้เป็นเจ้าของภาพแต่อย่างใดค่ะ ลิงค์ที่มาของภาพปรากฎอยู่ใต้ภาพค่ะ
*** รับปรึกษาปัญหาเกี่ยวสัตว์น้ำ ปลาป่วย อุปกรณ์ เครื่องกรอง ชนิดพันธุ์ปลา ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ
เฟสบุ๊คเพจ : โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์
โฆษณา