14 ก.ค. 2019 เวลา 02:00 • การศึกษา
#มือใหม่ออมหุ้นด้วยวิธีDCA
4
DCA (Dollar Cost Average) หรือเราจะเรียกกันโดยทั่วไปว่า “วิธีการออมหุ้น” เป็นเครื่องมือการลงทุนที่นักลงทุนมือใหม่ป้ายแดงสามารถนำไปพิจารณาซื้อหุ้นที่เราประเมินว่ามีโอกาสเติบโตในระยะยาวด้วย “การทยอยซื้อเป็นประจำทั้งในช่วงราคาหุ้นขึ้นและหุ้นลง”
1
ซึ่งนอกจากหุ้นแล้ว เราก็สามารถใช้หลักการนี้ในการลงทุนกองทุนรวมต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน
คำถามในใจของมือใหม่หลายคนก็คือ มีเงินกำอยู่ในมือแล้ว...อยากลงทุนแล้ว...พร้อมแล้ว ควรจะลงทุนด้วยเงินจำนวนเท่าไหร่ต่อเดือนดี? 1,000 บาท 2,000 บาท หรือ 5,000 บาท ?
ซึ่งเรื่องของจำนวนเงินอาจจะขึ้นอยู่กับความพร้อมโดยการคำนวณรายรับ-รายจ่ายของตนเองในแต่ละเดือนว่ามีความพร้อมเพียงใดในการออมทุกๆ เดือนโดยไม่กระทบต่อรายจ่ายประจำ
2
ทั้งนี้ เราอาจจะไม่มีทางได้คำตอบเลยถ้าเราไม่เริ่มต้นตั้งคำถามว่า “เป้าหมายทางการเงินของเราคืออะไรกันแน่?”
ตัวอย่างเช่น
• เป้าหมายเกษียณอีก 30 ปี
• เป้าหมายในการขอสาวแต่งงานในอีก 5 ปี
• เป้าหมายในการส่งลูกเรียน ป. โท เมืองนอกในอีก 7 ปี ...
1
พอเรากำหนดเป้าหมายของตัวเองได้แล้ว เราก็เริ่มพุ่งชนมันโดยเริ่มวางแผนด้วยการตั้งสมมติฐานผ่านกลไกล 3 พลัง ได้แก่
(1) เงินต้น (2) ระยะเวลา (3) อัตราผลตอบแทน
1. เริ่มต้นที่เป้าหมายแล้วลองคำนวณดูก่อน
สมมุติเรามีเป้าว่าต้องมีเงินเก็บ 5 ล้านบาท เพื่อใช้ในยามเกษียณในอีก 30 ปี ซึ่งหากเราเก็บเงินเดือนละ 1,000 บาท ฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ไม่ได้ดอกเบี้ย ในระยะเวลา 30 ปี หรือ 360 เดือน
เราจะมีเงินเกษียณเพียง 360,000 บาท คำนวณเสร็จปุ๊ปเราก็ช็อคแป็บ!!! กับดอกเบี้ยเงินออมไทยแลนด์...ซึ่งหลังจากตั้งสติได้แล้วจะรู้ได้ทันทีว่ามันไม่พอยาไส้ตอนเกษียณแน่นอน
1
2. เมื่อมีเป้าหมายแล้วมาดูว่าจะต้องสร้างแผนยังไง
พอเป็นเช่นนี้เรามีทางเลือกอยู่ 3 ทางคือ “เพิ่มเงินต้น เพิ่มอัตราผลตอบแทน หรือ ยืดอายุเกษียณออกไป” ซึ่งเราจะต้องคำนวณตัวเลขให้เหมาะสมต่อชีวิต ภายใต้เงื่อนไขที่เราเป็น
2
เช่น เป้าหมาย 5 ล้านบาท มีเวลา 30 ปี (360 เดือน) รับความเสี่ยงได้มาก ที่อัตราผลตอบแทนทีคาดหวังเฉลี่ย 7% ต่อปี กรณีนี้คำนวณแล้วจะต้องเก็บเงินมา DCA ประมาณเดือนละ 4,100 บาท
ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณมากมาย โดยเราเลือกใช้ Application ที่ชื่อว่า “EZ Financial Calculators” แล้วเลือกใช้ฟังก์ชั่น TVM Calculator ในการคิดคำนวณตัวเลขได้แบบชิวๆ
6
3. มาดูว่าทำตามแผนได้ไหม หรือต้องทำอะไรเพิ่ม
พอเราเห็นทางออกแล้วก็ต้องมาถามตัวเองอีกครั้งว่า เราสามารถเก็บเงินได้จำนวน 4,100 บาทไหม?
3
ถ้าทำได้และยอมรับผลตอบแทนตามนี้ ก็สามารถลงมือสร้างเป็นแผนในการลงทุนแบบ DCA ได้เลย กรณีคำนวณแล้วพบว่าเก็บไม่ได้ไหว ก็ต้องมาปรับในส่วนอื่นๆ แทน เช่น การยึดอายุเกษียณ การหารายได้เพิ่ม การลดค่าใช้จ่าย หรือพิจารณาความเสี่ยงให้ได้ผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
จุดนี้ถือเป็นสิ่งทีเราจะต้องมาคำนวณกันว่าจากเป้าหมายแล้ว เราควรเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่เพื่อนำมาลงทุน ภายใต้ผลตอบแทนที่คาดหวังยังไง และใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ (ใช้ App EZ Financial Calculators ช่วยคำนวณได้อีกเช่นกัน)
4. คิดไม่ออกลองสร้างเป้าหมายตัวเลขกลมๆ ดูก่อน
ถ้าตีลังกาคิดเป้าหมายทางการเงินแล้วก็ยังคิดไม่ออกจริงๆ แต่ว่า “I wanna saving money” ก็ลองตั้งเป้าหมายแบบเป็นตัวเลขแทนก็ได้
3
เช่น อยากเก็บเงิน 1 ล้านบาทใน 3 ปี และกำหนดอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่คาดหวังที่ไม่เสี่ยงมากในระยะเวลา 3 ปี เช่น 3% - 5% แล้วเราจะคำนวณได้ว่า ในแต่ละเดือนควรเก็บเงินมา DCA กี่บาท
สรุปให้เห็นภาพชัดเจนอีกครั้งก็คือ จะลงทุนแบบ DCA รายเดือนอย่าคิดตัวเลขลอยๆ เพราะไม่มีทางได้คำตอบ สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่จะให้คำตอบ และผลลัพธ์อันทรงประสิทธิภาพได้ก็คือ การตั้งเป้าหมายของเราผ่านเงื่อนไขผ่านกลไกล 3 พลัง คือ
1
--> (1) เงินต้น (2) ระยะเวลา (3) อัตราผลตอบแทน
1
ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ที่มีรายได้ประจำ ทั้งที่เป็นข้าราชการ และพนักงานเอกชน เราต่างออมเงินด้วยวิธีการ DCA กันอยู่ทุกเดือนอยู่แล้วโดยที่เราไม่รู้ตัว โดยข้าราชการส่วนใหญ่ก็มักมีทางเลือกในการออมกับ “กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)”
1
ส่วนพนักงานเอกชนส่วนใหญ่ก็มักจะออม (ด้วยความรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง หรือเต็มใจบ้างไม่เต็มใจบ้าง) ผ่านทาง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Providend Fund)” โดยหลักการก็คือนำเงินที่หักออกจากเงินเดือนในทุกๆ เดือนนั้นมาสร้างผลตอบแทนนั่นเอง
ซึ่งสำหรับข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. เมื่อออกจากราชการ หรือ เกษียณอายุราชการ จะได้รับเงินก้อน กบข. และบำเหน็จ หรือบำนาญจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
1
ซึ่งเงินก้อน กบข. เป็นส่วนผสมระหว่างเงินออมของสมาชิกกับเงินสมทบและเงินชดเชยจากบำนาญจากรัฐ และผลประโยชน์จากการลงทุนที่ กบข. บริหารจัดการให้
ส่วนพนักงานเอกชนที่ออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น จะออมเงินผ่านกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว กรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต
โดยเงินกองทุนจะมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนเพื่อตนเองส่วนหนึ่ง (นายจ้างหักจากเงินเดือน) เรียกว่า “เงินสะสม”​ และเงินอีกส่วนคือเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเรียกกว่า “เงินสมทบ”
1
โดยเงินทั้งสองส่วนต้องไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% หรือเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนที่บริษัทนั้นๆ ใช้บังคับ
โดยเงิน 2 ส่วนนี้ก็จะสามารถเติบโตงอกเงยได้ด้วยการบริหารเงินจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่จะนำเงินไปลงทุนในตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ และได้ดอกผลนำมาเฉลี่ยคืนให้กับสมาชิกตามสัดส่วนของเงินที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุน หรือที่เราเรียกว่า “ผลประโยชน์ของเงินสะสม” และ “ผลประโยชน์ของเงินสมทบ”​นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าแม้เราจะเป็นนักลงทุนมือใหม่ที่ไม่ค่อยมีเวลาเฝ้าหน้าจอรอจังหวะ หรือไม่มีประสบการณ์เท่าไรนัก แต่หากเรามีการศึกษาข้อมูล มีการตั้งเป้าหมาย และที่สำคัญคือมี “วินัย” ในการเก็บออมเงินอย่างสม่ำเสมอ
1
พลานุภาพของผลตอบแทนทบต้นทบดอกจากการลงทุน จะช่วยให้เราไปถึงฝั่งฝัน และเป้าหมายทางการเงินได้โดยที่ไม่ต้องเหนื่อยเลย เพราะว่าเราให้ “เงินทำงาน” แทนเรา (Passive Income) นั่นเองครับ.
ถ้าชอบรบกวนไลค์ กดแชร์ และรบกวนกด Follow ติดตามเพื่อให้กำลังใจกันด้วยนะครับ 🙏🏻😊
ขอบคุณภาพจาก : Pixabay
ข้อมูลจาก : www.aommoney.com, www.gpf.or.th, www.set.or.th
โฆษณา