16 ก.ค. 2019 เวลา 17:22 • ปรัชญา
มายาคติ 2019
ก่อนอื่นต้องขอนิยามคำว่า”มายาคติ” เสียก่อน โดยขอหยิบยกมาจากนิยามของ ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ ซึ่งผมรู้สึกว่าเข้าใจ และเข้าถึงคำๆนี้ได้ง่าย ดังนี้
"มายาคติ" คืออะไร?
มีคำถามมาว่า "มายาคติ" คืออะไร? แตกต่างจาก "อคติ" ตรงไหน? ขอตอบสั้นๆ อย่างนี้ว่า
"อคติ" คือ ความลำเอียง โดยจะเน้นที่การลำเอียงทางความเชื่อหรือความคิด ส่วนคำว่า "มายาคติ" หมายถึง ความเชื่อที่ไม่เป็นความจริงที่เชื่อสืบต่อกันมา โดยไม่จำเป็นว่าตั้งใจลำเอียงหรือไม่
มายาคติเป็นการสมาสของสองคำ "มายา" ซึ่งแปลว่า สิ่งที่ไม่ใช่ความจริง หลอกลวง กับ "คติ" ซึ่งแปลว่าความเชื่อที่สืบต่อมา
คำว่า มายาคติ ในภาษาไทยแปลมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า myth ซึ่งเป็นศัพท์ทางสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา หมายถึง คติความเชื่อหรือทัศนคติที่ไม่เป็นความจริง
จุดที่สำคัญมากที่ต้องเข้าใจคือ มายาคติ ไม่ได้หมายถึง การหลอกลวงที่มีใครมาหลอกลวงเรา แต่เป็นการที่คนเราคุ้นเคยกับมันจนเราหลงเชื่อกันไปเองว่านั่้นเป็นความจริง คิดไปเองว่าค่านิยมที่เรายึดถืออยู่นั้นเป็นธรรมชาติ หรือเป็นไปตามสามัญสำนึก หรือเป็นสัจธรรมของโลก
มายาคติมักไม่ได้เกิดกับบุคคลเพียงคนเดียว แต่จะเกิดกับกลุ่มคนที่มีบางอย่างร่วมกัน เช่น เชื้อชาติเดียวกัน ประเทศเดียวกัน ทวีปเดียวกัน ชนชั้นเดียวกัน แวดวงเดียวกัน
ขอยกตัวอย่างของมายาคติ เช่น ความเชื่อที่ว่า...
...เชื้อชาติหรือประเทศของเราเป็นมีความบริสุทธิ์เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีสายเลือดของเชื้อชาติอื่นปะปน หรือเชื้อชาติของเราวิเศษเหนือใคร
...ศาสนาของเราหรือนิกายของเราถูกต้องทั้งหมด ไม่มีข้อผิดพลาดเลย และเป็นหนึ่งเดียวที่ถูกต้อง เหมาะกับทุกยุคสมัย ไม่ต้องปรับปรุง ศาสนาอื่นไม่มีความจริงอยู่เลย หรือมีศาสนาดีกว่าไม่มีศาสนา (หรือกลับกัน)
...การปกครองระบอบเผด็จการเลวทุกกรณี คอมมิวนิสต์เลวทุกกรณี การปฏิวัติเลวทุกกรณี ประชาธิปไตยดีทุกกรณี หรือกลับกัน
...ระบอบเศรษฐกิจสังคมนิยมไม่ดีทุกกรณี ระบอบทุนนิยมเสรีดีทุกกรณี ระบบตลาดเสรีแก้ปัญหาความอยุติธรรมได้เสมอ หรือกลับกัน
...สมัยโบราณดีกว่าสมัยนี้ นับวันทุกอย่างมีแต่แย่ หรือการอยู่อย่างธรรมชาติดีกว่าความทันสมัยเสมอ
...อีกสารพัด
เอาพอสังเขป กระชับ ได้ใจความ พร้อมตัวอย่างเพื่อความเข้าใจง่ายๆ มายาคติจากอดีตนั้นมีมากมายเหลือเกิน ตามที่ท่าน อาจารยร์ได้ยกตัวอย่าง แต่สิ่งที่ผมจะนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้ไปขบคิดกันนั้น จะเป็นมายาคติที่ร่วมสมัย อยู่ในยุคปัจจุบัน ไม่ย้อนอดีตไปไกลมากนัก มีอะไรบ้างไปดูกัน
“ราคา” ใช่แล้วราคาสิ่งของต่างๆมักถูกตัวแปลสำคัญทำให้ราคาที่มาจากมูลค่าที่แท้จริงของตัวมันเอง ถูกบิดเบือนไปเสียจนไม่หลงเหลือมูลค่าที่แท้จริงของมัน ตัวแปลนั้นก็คือ “มายาคติ” คุณเคยสงสัยมั้ย ว่าสิ้งของที่เราใช้อยู่ทุกๆวันทำไมมันจึงราคาเท่านั้นเท่านี้ สินค้าบางประเภทยิ่งมีต้นทุนแฝง นอกจาก วัตถุดิบ ค่าแรง ค่าขนส่ง แล้วยังมีต้นทุนทางด้านความเชื่อเข้าไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น “ราคาที่ดิน” ทุกคนถูกปลูกฝังให้มีความเชื่อว่าราคาที่ดิน จะมีแต่ขึ้นไม่มีลง เพราะที่ดินมันใช้แล้วหมดไป ไม่มีใหม่แล้ว เราถูกปลูกฝังกันมาแบบนี้ ถ้าไม่ซื้อวันนี้ราคาจะขึ้นไปอีกจนซื้อไม่ได้ เราต้องซื้อเพราะความกลัว แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความเชื่อเหล่านี้กำลังถูกถ้าทาย เอาง่ายๆเลย ที่ดินในจังหวัดหนึ่งห่างกัน 10 กิโล ราคาต่างกัน 20 เท่าตัว สมัยก่อนการเดินทางคือการเดินเท้า หรือใช้สัตว์เป็นพาหนะ สมัยนี้มีจักยาน รถยนต์ หรือระบบขนส่งอื่นๆ ที่ทำให้ 10 กิโลเมตรนั้นดูใกล้ไปเลยแต่เราก็ยังให้ค่าราคาที่ดิน ที่ต่างกันอย่างมาก หากตัดมายาคติเรื่องที่ดินมันจะหมดไป ออกได้เพราะปัจจุบันเราถมทะเลด้วยขยะได้แล้ว หรือประชากรโลกมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ หรือเราเดินทางจากจุดนึงไปจุดนึงด้วยความเร็วเสียงและใช้แค่พลังงานจากแสงอาทิตย์ ราคาที่แท้จริงควรจะเป็นเท่าไหร่??? ลองไปคิดกัน
“ทองคำ” ปริมานแร่ทองคำทั้งโลกรวมกันมีประมานแค่ 1 สนามฟุตบอล แต่ฉไนแล้วทองคำกลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง หักต้นทุนค่าขุด ทำเหมือง ค่าหลอมไปแล้ว ที่เหลือมูลค่าของทองคำก็มาจาก การที่คนส่วนมากในโลกเชื่อว่ามันมีค่า
หากลองตัดความเชื่อดังกล่าวออกไป ทองคำจะไปมีค่ามากกว่าหุ้นปันผลดีๆ ในบริษัทฯใหญ่ๆได้อย่างไร หรือถ้าวันนึงทุกคนในโลกมีชุดความเชื่อใหม่ ว่าทองคำก็เป็นแค่แร่ชนิดนึงหรือหลังจากแปลรูปแล้วก็เป็นแค่เครื่องประดับธรรมดา มูลค่าที่แท้จริงมันก็จะปรากฎ
“นาฬิกาหรูๆ” ช่วงนี้ถ้าได้ติดตามข่าวก็พอจะทราบว่าราคามันตกลงไปมากเนื่องจากการซื้อโดยความเชื่อว่าราคามันจะขึ้นไปเรื่อยๆ การผลิตแบบจำกัดจำนวน ราคาของมือสองที่ขึ้นไปอย่างบ้าคลั่ง สุดท้ายแล้วถ้าตัดสิ่งเหล่านั้นออก มูลค่าที่แท้จริงจะเหลือเท่าไหร่ หรือถ้าตัดค่าการตลาดเรื่องเล่า คุณค่าจากวัสดุหรือวิธีการผลิต เหลือแค่มันเป็นแค่เครื่องบอกเวลา
ผมอยากยกตัวอย่างอีกหลายๆเรื่องๆแต่ความต้องการที่แท้จริงของผมเพียงแค่อยากให้ทุกคนลองตัดภาพ “มายาคติ” ออกจากสิ่งต่างๆ ที่รุมล้อมตัวคุณดู แล้วคุณจะพบสิ่งที่เรียกว่ามูลค่าที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ
ในปี 2019 เรากำลังตกอยู่ในยุดแห่งข้อมูล ที่หลั่งไหลเข้ามาจากทุกทิศทุกทาง ผมอยากให้เราต้องพัฒนาสิ่งที่ผมเรียกว่า “เกราะป้องกันทางความคิด” ศาสนา ชาตินิยม ความเชื่อต่อสิ่งต่างๆ อาจอยู่แค่ในระดับเปลือกเพราะหลายอย่างก็เป็นส่วนหนึ่งของ มายาคติที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อชี้นำความคิดไปยังสิ่งใดสิ่งนึงที่ผู้สร้างต้องการ เราต้องสร้างมันขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเราเอง การแยกความเป็นจริง กับสิ่งที่เราเคยเชื่อหรือถูกทำให้เชื่อ จะทำให้เราอยู๋ในยุคแห่งข้อมูลได้แบบไม่ถูกชี้นำมากเกินไป ผมมักใช้คำว่า “ครอบครองโดยไม่ถูกครอบงำ”
มาร่วมเดินทางไปกับผมนะครับ จนกว่าจะพบกันใหม่ Oat road to minimal life
โฆษณา