17 ก.ค. 2019 เวลา 00:01 • ธุรกิจ
ทำความเข้าใจอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
..เข้าใจยาก นโยบายเปลี่ยนแปลงได้
1
📍ชนิดของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
1. Solar power plant พลังงานแสงอาทิตย์
2. Wind power plant พลังงานลม
3. Biomass power plant เชื้อเพลิงชีวมวล
4. Incinery power plant โรงไฟฟ้าขยะ
5. Geothermal power plant พลังงานความร้อนใต้ภิภพ ในเมืองไทยมีแห่งเดียวที่ อ.ฝาง
6.Hydro power plant โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ
📍ภาพรวม
..โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์จะผลิตได้ประมาณ6ชั่วโมงต่อวัน ส่วนชีวมวลผลิตได้24ชม. แต่ปัญหาของชีวมวลคือเชื้อเพลิง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือก แกลบซึ่งมีความเป็นseasonal ตามการเกษตร
1
..พลังงานลม ในบ้านเราลมไม่ค่อยแรง ส่วนใหญ่ลมดีๆจะอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไม่สามารถเข้าไปทำได้ การดีไซน์กังหันประสิทธิภาพมักไม่ค่อยคุ้มทุน
1
..พลังงานน้ำ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เราเป็นที่ราบลุ่ม พลังงานน้ำต้องอาศัยพื้นที่หุบเขา เช่นประเทศลาว ภูฐาน เขื่อนใหญ่หรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เช่นเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนภูมิพล เน้นปล่อยน้ำเพื่อการชลประทาน ไม่ได้เน้นผลิตไฟฟ้า
1
..โรงไฟฟ้าขยะ มีปัญหาเรื่องการแยกขยะต้องใช้ต้นทุนสูงในการแยก
เวลาผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นมาต้องเอาไปใช้เลย แบตเตอรี่เป็น key solution factor ของ renewable power plant เพื่อเก็บไฟฟ้าที่ผลิตเกิน แต่ปัญหาตอนนี้คือแบตเตอรี่ยังมีราคาสูง อายุการใช้งานสั้น
หน้าที่ของEGAT คือปรับกำลังไฟฟ้า ให้ความถี่คงที่เพียงพอกับload การใช้
📍คำศัพท์ที่ควรรู้
✅ IPP : independent power producer ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ มากกว่า90 MW
✅ SPP : Small power producer กำลังการผลิต 10-90 MW
✅ VSPP : Very small power producer กำลังการผลิตน้อยกว่า10 MW
✅ PPA : Power purchase agreement สัญญาการซื้อขายไฟฟ้า
✅ COD : Commercial operation date วันเริ่มต้นซื้อขาย
✅ Total equity MW : กำลังการผลิตรวมทั้งหมดของบริษัท
✅ IRR : Internal Rate of Return ความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของแต่ละโรงไฟฟ้า
✅ AP : Availability Payment ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า ครอบคลุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายคงที่ในการดำเนินการ (ใช้กับผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่)
✅ EP : Energy Payment ค่าพลังงานไฟฟ้า จะได้รับเมื่อมีการผลิตไฟฟ้าและส่งเข้าระบบของกฟผ.(ใช้กับผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่)
📍ค่าไฟฟ้าที่รัฐรับซื้อ
= ค่าไฟฟ้าฐาน+ค่าไฟฟ้าผันแปร(Ft)+Adder/FIT
📍 Adder /Feed-in-tariff
Adder : ช่วงแรกที่รัฐสนับสนุนsolar เพื่อจูงใจให้คนมาลงทุน ค่าไฟฟ้าที่รัฐรับซื้อมีการเพิ่มadder ให้ราคาประมาณ8บาท เป็นระยะเวลา10ปี ต่อมาต้นทุนการลงทุนsolarถูกลง รัฐจึงลดค่าadderลง พอพ้นระยะ10ปีจะเหลือแค่ค่าไฟฐาน+Ft เท่านั้น
FIT : ให้fix rate ตลอดอายุสัญญา25ปี
-บริษัทที่เริ่มทำโรงไฟฟ้าก่อนจะได้เปรียบเนื่องจากจะได้ค่าadderหรือFITสูงกว่าบริษัทที่มาทำทีหลัง
📍นักลงทุนต้องเข้าใจ
-สัญญาสัมปทาน ว่าเป็นแบบไหน เป็นระบบAdder หรือFIT และได้ราคาเท่าไหร่
-solar/ขยะ/ชีวมวล/ลม ค่าFIT ต่างกัน ,utilization rateต่างกัน ต้องเข้าใจจริงๆว่าเค้าขายไฟชนิดไหน ใช้อะไรเป็นเชื้อเพลิง
-ช่วงนี้adderจะเริ่มทะยอยหมดสัญญา บริษัทที่มีadder จะทำให้รายได้ส่วนนี้หายไป
📍ปัจจัยที่มีผลต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า
-ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (availability payment)
-ค่าพลังงานไฟฟ้า (energy payment)
-ระยะเวลาหยุดซ่อมบำรุง
-จำนวนชั่วโมงจ่ายไฟ
-ค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุง ค่าอะไหล่
-demand/supply
📍valuation
-วิธีคิดลดกระแสเงินสด DCF
-EBITDA margin ,EV/EBITDA ใช้เปรียบเทียบในกลุ่มพลังงานทางเลือก
📍การดูกระแสเงินสดโดยใช้ EBITDA
หุ้นกลุ่มนี้จะมีการลงทุนค่อนข้างสูง ค่าเสื่อมจะเยอะ การประเมินกระแสเงินสดโดยดูจากกำไรสุทธิ(NP)อย่างเดียวไม่สะท้อนกระแสเงินสดตามความจริงเพียงพอ จะต้องบวกค่าเสื่อม (Depreciation and Amortization )กลับเข้าไป
เพราะค่าเสื่อมเป็นตัวเลขทางบัญชี ซึ่งความเป็นจริงบริษัทได้จ่ายค่าใช้จ่ายก้อนนี้ออกไปแล้ว
📍 EV/EBITDA หรือ Enterprise Multiple (Enterprise Value Per EBITDA) เป็นตัวเลขที่แสดงถึงมูลค่าความถูกแพงของกิจการ อัตราส่วนนี้สามารถใช้เปรียบเทียบคร่าวๆ กับหุ้นตัวอื่นว่าหุ้นตัวใดถูกกว่ากัน EV/EBITDA ยิ่งสูงแสดงว่าราคายิ่งแพง บริษัทโรงไฟฟ้าหนึ่งอาจมีหลายๆโรงไฟฟ้า หรือมีหลายชนิด การใช้EV/EBITDA จะใช้มองภาพรวมของทั้งบริษัทได้
Enterprise Multiple = (Market Capitalization + Debt)/(Earning Before Interest and Tax + Depreciation + Amortization)
📍หมายเหตุ
รูปตัวอย่างเปรียบเทียบบริษัท ใช้ข้อมูลของปี61
P/E ,P/BV,EV/EBITDA ใช้ข้อมูลวันที่12/7/62
โฆษณา