17 ก.ค. 2019 เวลา 18:37 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ใครคือโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก ?
หากชาลส์ แบบเบจ เป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
เอดา เลิฟเลซ ก็เป็นมารดาแห่งโปรแกรม
ส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์นี้น่าจะก่อให้เกิดผลงานที่ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยขึ้นมาได้ แต่ในความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม
เอดา เลิฟเลซ เป็นชื่อหลังแต่งงานของ ออกุสตา เอดา ไบรอน (Augusta Ada Byro) ธิดาของกวีผู้โด่งดัง ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) และ แอน อิซาเบลลา(Anne Isabella)
น่าเศร้าที่หลังจากเอดาถือกำเนิดขึ้นไม่นาน คู่สามีภรรยาก็แยกทางกัน โดยลอ์ดไบรอนเดินทางออกจากอังกฤษไปทั่วยุโรปโดยไม่ได้กลับมาอีกเลย เอดาจึงต้องอยู่กับแม่ของเธอซึ่งเป็นหญิงสาวธรรมดา ที่รักลูกอย่างยิ่ง
เอดาเป็นเด็กป่วยบ่อย ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง แม่ของเธอจึงจ้างครูมาสอนวิชาต่างๆให้กับเอดาที่บ้าน จนพบว่าเอดาเป็นเด็กที่สนใจคณิตศาสตร์มาก
หนึ่งในอาจารย์ที่มาสอนให้เป็นเพื่อนคุณแม่ ชื่อว่า แมรี ซอเมอร์วิลล์ (Mary Somerville) ผู้เก่งกาจคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์
Mary Somerville
วันหนึ่ง แมรี ซอเมอร์วิลล์ พาให้เอดาไปรู้จักกับชาลส์ แบบเบจ ผู้กำลังมุ่งมั่นกับการสร้างเครื่องจักรคำนวณที่มีชื่อว่า difference engine โดยแบบเบจได้แสดงเครื่องต้นแบบของ difference engine ให้เอดาได้ชม ส่งผลให้ในเวลาต่อมาเอดามาร่วมงานกับแบบเบจในปี ค.ศ. 1843 ซึ่งตอนนั้นแบบเบจพยายามสร้างเครื่องจักรวิเคราะห์ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมาก
แม้ว่าแบบเบจจะมีไอเดียและการสร้างเครื่องจักรวิเคราะห์
แต่ผู้ที่แสดงให้เห็นว่ามันเป็นไปได้จริง ด้วยการเขียนชุดคำสั่งให้กับเครื่องจักรนี้ คือ เอดา
เธอเขียนชุดคำสั่งให้เครื่องจักรวิเคราะห์สร้างชุดเลขที่เรียกว่า Bernoulli number ซึ่งเป็นชุดเลขที่นักคณิตศาสตร์ให้ความสนใจมาโดยตลอด กล่าวได้ว่านั่นคือ โปรแกรมแรกของโลกที่ถูกเขียนขึ้น และ เอดา เลิฟเลซ (Augusta Ada King, Countess of Lovelace) เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
อย่างไรก็ตาม เอดามีแนวคิดที่ไปไกลกว่าชาร์ล แบบเบจมาก
ในแง่ที่ว่าเครื่องจักรที่ถูกโปรแกรมได้นั้นอาจทำงานได้ไกลกว่าการคำนวน เพราะหากปัญหาหรือความสัมพันธ์ของสิ่งใดๆสามารถแสดงได้ด้วยจำนวนและการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ โน้ตดนตรีหลายตัวมารวมกันเป็นคอร์ดและบทเพลงที่ไพเราะได้อาจเป็นไปตามกฎพื้นฐานบางอย่าง ซึ่งเครื่องจักวิเคราะห์จะสามารถสร้างสรรค์ส่วนหนึ่งของบทเพลงออกมาได้
ไม่น่าเชื่อว่าหญิงสาวเมื่อสองร้อยปีก่อนจิตนาการถึงเครื่องจักรที่สามารถทำงานได้แทบทุกอย่าง หากได้รับการป้อนโปรแกรมคำสั่งที่เหมาะสม
น่าเศร้า
เอดามีชีวิตส่วนตัวที่เต็มไปด้วยปัญหา
ทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวและสุขภาพ
เธอเสียชีวิตในวัยเพียง 36 ปีด้วยโรคมะเร็ง ไปก่อนชาลส์ แบบเบจ หลายปีทีเดียว
สุดท้ายแล้ว
เครื่องจักรวิเคราะห์ไม่สามารถถูกสร้างขึ้น
ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะการสร้างอุปกรณ์ที่ทำงานได้อย่างคอมพิวเตอร์โดยไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เลยเป็นงานที่ซับซ้อนและยากมาก
แค่ส่วนเก็บข้อมูล ก็ถูกออกแบบให้เก็บเลขได้ถึง 1,000 จำนวน (จำนวนละ 50 หลัก) เข้าไปแล้ว
อีกทั้งยังต้องใช้พลังงานจากไอน้ำมาช่วยในการเดินเครื่อง
สิ่งที่หลงเหลือเป็นหลักฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาก่อนกาลนี้ คือ การออกแบบของชาลส์ แบบเบจ หลายพันหน้า และโปรแกรมที่เอดาเขียนขึ้น
difference engine ที่ถูกสร้างขึ้นภายห
อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1985 พิพิธภัณฑ์ Science Museum แห่งลอนดอนทดลองสร้างเครื่อง difference engine ขึ้นมา โดยใช้เวลา 17 ปี จนถึง ค.ศ. 2002 จึงจะเสร็จสมบูรณ์ซึ่งผลลัพธ์คือมันสามารถทำงานได้จริง
(แต่เครื่องจักรวิเคราะห์นั้นโหดซับซ้อนจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีใครสร้างขึ้นมาทดสอบ)
ในอนาคตหากหุ่นยนต์ขึ้นมาครองโลกจริง
แบบเบจ และ เอดา ก็คงเป็นเหมือนอาดัม กับอีฟ
ในโลกใหม่ใบนั้นกระมัง
โฆษณา