18 ก.ค. 2019 เวลา 11:25 • สุขภาพ
ECS คือ ขาใหญ่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเรา
1
ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (ECS) ควบคุมสารสื่อประสาททุกชนิดในร่างกายเรา รวมทั้งสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคพาร์กินสันด้วย
1
สารสื่อประสาทชนิดนี้เรียกว่า สารสื่อประสาทโดปามีน ซึ่งจะมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ถ้าสารโดปามีนลดน้อยลงหรือไม่อยู่ในภาวะสมดุล จะนำไปสู่โรคพาร์กินสันได้
5
ปัจจุบันยาที่ใช้ในการควบคุมโรคนี้ เช่น ยาที่ให้สารสื่อประสาทนี้เข้าไปทดแทน หรือยาที่ไปกระตุ้นตัวรับของโดปามีนให้จับกับสารโดปามีนได้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่ง ยาที่จะเข้าไปยับยั้งเอนไซม์ขอร่างกายที่จะมาทำลายสารโดปามีน เป็นต้น
ดังนั้น เราจะเห็นว่า โรคพาร์กินสันก็เป็นโรคที่มีความซับซ้อนไม่น้อยไปกว่าโรคเรื้อรังอื่นๆ ถ้าตามกลไกการเกิดโรคนี้ เราก็มีสิทธิ์ใช้ยาอย่างน้อย 3 ชนิดต่อเนื่องตลอดไป ซึ่งจะหายขาดหรือไม่ ในปัจจุบันยาเคมีก็ไม่ได้ทำได้ขนาดนั้น
จากภาพประกอบเบื้องต้น เราจะเห็นว่า มีการค้นพบการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ และ สารแคนนาบินอยด์ ที่ร่างกายสร้างขึ้นเองได้
ซึ่งก็พบว่า ระบบ ECS ทำงานควบคุมระบบการทำงานของสมองส่วนที่ทำหน้าที่เคลื่อนไหวในร่างกายผ่านการควบคุมสารสื่อประสาทหลายชนิดที่มีผลต่อกันและกัน เช่น
โดปามีน ซีโรโทนีน หรือ กลูตาเมต ด้วยการหลั่งสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ออกมา แล้วไปจับกับตัวรับ CB1 และ CB2 ที่อยู่ตามเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่หลั่งสารสื่อประสาทชนิดต่างๆที่มีผลต่อโรคพาร์กินสัน
แล้ววงจรของการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อให้เป็นปกติก็จะเกิดการทำงานอย่างสมดุล
ปัจจุบันยังไม่พบยาเคมีชนิดใดในการนำมารักษาโรคนี้ สามารถปรับสมดุลระบบเคลื่อนไหวของร่างกายได้
การค้นพบความสัมพันธ์ในการทำงานของระบบ ECS กับ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้นำไปสู่บทบาทของสารแคนนาบินอยด์ในการนำมาใช้รักษาโรคพาร์กินสันได้มากขึ้น
สารไฟโตแคนนาบินยอด์ จากพืชกัญชา กัญชง สามารถทำงานทดแทนสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายอาจสร้างขึ้นมาได้ไม่มากพอ ได้อย่างครอบคลุมเกือบทุกๆกลไก
ฉะนั้น การนำกัญชา หรือ กัญชง มาใช้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จึงไม่ใช่เรื่องมโนลอยๆขึ้นมา เพียงแต่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
และการจะนำกัญชา กัญชง มาใช้ ก็ไม่จำเป็นต้องสเปคเว่อร์วังอลังการ เพราะสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ต่อให้ใช้เทคโนโลยีสูงส่งแค่ไหน มันก็ยังคงเป็นสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ตัวเดิม โครงสร้างเดิม แบบที่ได้จากภูมิปัญญาชาวบ้านนั่นละ (เพียวแต่ดูเรื่องปนเปื้อนอีกนิดหน่อย เหมือนเราจะปลูกผักกินเอง นั่นละ บริบทการใส่ใจเหมือนกัน ไม่ใช่แบบป้อนข้อมูลเพื่อทำให้ประชาชนสติแตก จนกลัวการปนเปื้อน)
พาร์กินสัน ให้ขาใหญ ECS จากกัญชา กัญชง ดูแลคุ้มครองได้ จ่ายค่าคุ้มครองน้อยกว่าเป็นไหนๆ
อ้างอิงบางส่วนจาก
Endocannabinoid signaling in the brain. Science.
2002;296:678–682.
Endocannabinoids and basal ganglia functionality. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids. 2002;66:257–267.
The endocannabinoid system as a target for the
treatment of motor dysfunction. Br J Pharmacol. 2009;156:1029–1040.
CB1 cannabinoid receptor signalling in Parkinson’s disease. Curr Opin Pharmacol. 2003;3:54–61.
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
โฆษณา