21 ก.ค. 2019 เวลา 01:12 • ท่องเที่ยว
เขื่อนในไทย มีที่ไหนกันบ้าง พาไปดูกัน
#โพสนี้เน้นชมภาพสวยๆชื่นชมธรรมชาติ กันนะครับ ข้อมูลไม่เจาะรายละเอียดมาก
เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
1. เขื่อนศรีนครินทร์ (เขื่อนเจ้าเณร) อยู่ที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี กั้นแม่น้ำแควใหญ่ และสร้างไว้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน และประมง เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียวใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2515 สันเขื่อนสูง 140 m ยาว 610 m พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 419 ตารางกิโลเมตร ความจุอ่างเก็บน้ำ 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. เขื่อนภูมิพล (เขื่อนยันฮี) อยู่ที่ อ.สามเงา จ.ตาก กั้นลำน้ำปิง และสร้างไว้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน และการประมง เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งขนาดใหญ่ สันเขื่อนสูง 154 m ยาว 486 m สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2507 โดยอ่างเก็บน้ำในเขื่อนภูมิพลถือเป็นแหล่งเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก สามารถกักเก็บน้ำได้ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนภูมิพล จ.ตาก
3. เขื่อนอุบลรัตน์ (เขื่อนน้ำพอง) อยู่ที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น กั้นแม่น้ำพอง สร้างไว้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน และการประมง เป็นเขื่อนดิน สร้างปิดกั้นแม่น้ำพองที่ตำบลโคกสูง สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2509 สันเขื่อนยาว 885 m พื้นที่ผิวน้ำ 400 ตารางกิโลเมตร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทย ซึ่งสร้างขึ้นถัดจากเขื่อนภูมิพล
เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
4. เขื่อนเจ้าพระยา อยู่ที่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท กั้นลำน้ำเจ้าพระยา สร้างไว้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการชลประทาน เป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยถือเป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กั้นลำน้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เปิดใช้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พศ.2500 สันเขื่อนสูง 16.5 m ยาว 237 m อัตตราระบายน้ำผ่านเขื่อนสูงสุด 3,300 ลูกบาศก์เมตร
เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
5. เขื่อนสิริกิติ์ (เขื่อนผาซ่อม) อยู่ที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ กั้นแม่น้ำน่าน สร้างไว้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน และการประมง เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนเหนียว กั้นแม่น้ำน่านที่ผ่าซ่อม เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2515 สันเขื่อนสูง 113.60 m ยาว 800 m กักเก็บน้ำได้ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนสิริกิต์ จ.อุตรดิตถ์
6. เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) อยู่ที่ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ กั้นลำน้ำพรม สร้างไว้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน และการประมง สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2516 สันเขื่อนสูง 70 m ยาว 700 m เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้เพื่อการเกษตรชลประทาน และเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด เขื่อนจุฬาภรณ์ มีลักษณะเป็นแบบหินถมแกนกลางเป็นดินเหนียวบดอัดทับแน่นด้วยหินและกรวด ตัวเขื่อนยาว 700 เมตร สันเขื่อนกว้าง 8 เมตร สูง 70 เมตร ระดับสันเขื่อนอยู่ที่ 763.0 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) อ่างเก็บน้ำมีความจุ 163.75 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ
7. เขื่อนวชิราลงกรณ์ อยู่ที่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี กั้นลำน้ำแม่กลอง สร้างไว้เพื่อการชลประทาน และการประมง เป็นเขื่อนหินทิ้งขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้ทดน้ำเพื่อประโยชน์ทางเกษตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ..2512 เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย เขื่อนวชิราลงกรณ์มีความสูงจากฐาน 92 เมตรสันเขื่อนกว้าง 10 เมตร ยาว 1,019 เมตร ปริมาตรตัวเขื่อนประมาณ 8.1 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนวชิราลงกรณ์ จ.กาญจนบุรี
8. เขื่อนสิรินธร (เขื่อนลำโดมน้อย) อยู่ที่ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี สร้างไว้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน และการประมง เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวสร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำมูล สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2514 สันเขื่อนสูง 42 m ยาว 940 m กักเก็บน้ำได้ 1,966.5 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี
9. เขื่อนเชี่ยวหลาน (เขื่อนรัชชประภา) อยู่ที่ อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี กั้นแม่น้ำคีรีรัฐนิคม สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสงที่บ้านเชียวหลานตำบลเขาพัง เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ โดยสร้างเป็นเขื่อนหินถมแกนเหนียว สูง 94 m สันเขื่อนยาว 761 m ความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร เขื่อนนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 554 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
เขื่อนเชี่ยวหลาน จ.สุราษฎร์ธานี
10. เขื่อนกิ่วลม อยู่ที่ อ.เมือง จ.ลำปาง กั้นแม่น้ำวัง สร้างไว้เพื่อการชลประทาน และการประมง เป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2514 สันเขื่อนสูง 26.50 m ยาว 5,035 m กักเก็บน้ำได้ 112 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง
11. เขื่อนแก่งกระจาน อยู่ที่ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี เป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำเพชรบุรี ที่ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2509 สันเขื่อนสูง 58 m ยาว 760 m ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 70 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
12. เขื่อนลำปาว อยู่ที่ จ.กาฬสินธุ์ กั้นลำน้ำปาวและห้วยยาง สร้างไว้เพื่อการชลประทาน และการประมง เป็นเขื่อนดิน สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2511 กักเก็บน้ำได้ 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์
13. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อยู่ที่ จ.ลพบุรี กั้นลำน้ำป่าสัก สร้างไว้เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร และป้องกันการเกิดอุทกภัยในเขตแดนกลาง เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ความยาว 4,860 m จุดสูงที่สุด 36.50 m เปิดใช้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พศ.2542
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
14. เขื่อนยางชุม อยู่ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ กั้นลำน้ำคลองกุย สร้างไว้เพื่อการชลประทาน และการประมง เป็นเขื่อนดิน สูง 23 เมตร ยาว 1,500 เมตร ความจุเก็บกัก 32 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 19,000 ไร่
เขื่อนยางชุม จ.ประจวบคีรีขันธุ์
15. เขื่อนแม่กวง อยู่ที่ จ.เชียงใหม่ กั้นแม่น้ำกวง สร้างไว้เพื่อการชลประทาน และการประมง เป็นเขื่อนดินถมบดอัดแน่น สูง 68 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร สร้างปิดกั้นลำน้ำแม่กวง มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 186 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูก 13 ตำบล ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนประมาณ 175,000 ไร่
เขื่อนแม่กวง จ.เชียงใหม่
16. เขื่อนแม่งัด (สมบูรณ์ชล) อยู่ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่สร้างไว้เพื่อการชลประทาน และการประมง
เขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่
17. เขื่อนน้ำงึม อยู่ที่ จ.หนองคาย กั้นแม่น้ำโขง สร้างไว้เพื่อเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของลาว แต่ไทยได้ประโยชน์ ในการซื้อกระแสไฟฟ้า เพื่อให้จังหวัดชายแดนแม่น้ำโขง อยู่ห่างจากนครเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2515 มีลักษณะเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ กักเก็บน้ำในลำน้ำงึมเอาไว้
เขื่อนน้ำงึม จ.หนองคาย
18. เขื่อนพระรามหก(เขื่อนพระเธียรราชา) อยู่ที่ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา กั้นแม่น้ำป่าสัก สร้างไว้เพื่อเป็นเขื่อนทดแทนน้ำของประเทศไทย เป็นเขื่อนแห่งแรกของประเทศไทย สร้างเสร็จเมื่อ .พ.ศ.2467 ใช้ระบายน้ำในโครงการชลประทานป่าสักใต้พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี และปทุมธานี
เขื่อนพระรามหก จ.อยุธยา
19. เขื่อนลำตะคอง อยู่ที่ อ.สี่คิ้ว จ.นครราชสีมา กั้นแม่น้ำลำตะคอง gป็นเขื่อนดินสูง 40.30 เมตร สันเขื่อนยาว 521 เมตร เก็บน้ำได้ 310 ล้านลูกบาศก์เมตร บริเวณรอบขอบเขื่อนเก็บน้ำ จะอยู่ติดริมถนนเลาะเลียบไปกับ ถนนมิตรภาพเป็นผืนน้ำกว้างใหญ่ไพศาล
เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา
20. เขื่อนกระเสียว อยู่ที่ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี กั้นลำห้วยกระเสียว เป็นเขื่อนดินที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศไทย (เขื่อนดินที่ยาวที่สุดคือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)
เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี
21. เขื่อนปราณบุรี เป็นเขื่อนดินกั้นแม่น้ำปราณบุรี ในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างเสร็จเมื่อ พศ.2518 สันเขื่อนสูง 42 m ยาว 760 m ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 70 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
22. เขื่อนน้ำอูน เป็นเขื่อนดิน กั้นแม่น้ำอูนในอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2517 ตัวเขื่อนสูง 29.50 m ยาว 3,000 m กักเก็บน้ำได้ 520 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร
23. เขื่อนขุนด่านปราการชล ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน อำเภอหินตั้ง จังหวัดนครนายก เป็นเขื่อนคอนกรีตอัดบดยาวที่สุดในประเทศไทย และยาวที่สุดในโลก มีความยาว 2,720 m สูง 93 m รับน้ำที่ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผ่าน้ำตกเหวนรก ลงสู่อ่างเก็บน้ำความจุ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก
24. เขื่อนบางลาง
สร้างกั้นแม่น้ำปัตตานี ที่บ้านบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นเขื่อนถมแกนดินเหนียว สูง 85 m สันเขื่อนยาว 430 m ความจุน้ำ 260 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่กักเก็บน้ำเหนือเขื่อน 2,080 ตารางกิโลเมตร
เขื่อนบางลาง จ.ยะลา
เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเขื่อนในไทย ยังมีอีกหลายเขื่อนที่ไม่ได้นำเสนอครับ หวังว่าท่านผู้อ่านจะเห็นถึงความสำคัญของเขื่อน
ถ้าชอบโพสต์นี้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม เป็นกำลังใจให้ด้วยเน้อ😀😀
อ้างอิง
โฆษณา