26 ก.ค. 2019 เวลา 05:46
ประวัติศาสตร์รำลึก,
#คำตักเตือนของรัชกาลที่5,#ทรงแนะนำการวางตัวและการเจรจากับอังกฤษ, #ทรงตักเตือนอันเป็นบรรทัดทางที่จะรับใช้ชาติบ้านเมือง,
1)#ทรงตักเตือนให้เป็นบรรทัดทางที่จะรับใช้ชาติบ้านเมือง,
-ข้อความตักเตือนนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชดำรัสตอบในการเฉลิมพระชนมพรรษาสุดท้ายแห่งรัชกาลอันยาวนาน 42 ปี ก่อนทรงเสด็จสวรรคตในอีก 21 วันต่อมา ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต
-“...ความรู้สึกแลซื่อตรงต่อหน้าที่นี้เป็นคุณวุฒิอันสำคัญของคนทั้งปวง,ไม่ว่าผู้ที่มีบรรดาศักดิ์สูงต่ำเพียงใด หรือว่าจะเป็นคนรับราชการฝ่ายทหารฝ่ายพลเรือนหรือประกอบการอย่างใดๆ,
ถ้าคนทั้งหลายมีความรู้สึกและซื่อตรงต่อหน้าที่ของตนได้ดังประสงค์, ขอให้ท่านทั้งหลายจงถือคำตักเตือนของเราเป็นบรรทัดทางที่จะปฏิบัติราชการ หรือกิจการในหน้าที่ของตนให้ทั่วกัน.”
2)#ทรงแนะนำการวางตัวและการเจรจากับอังกฤษ,
-เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เป็นราชทูตเดินทางไปยุโรปในปีพ.ศ.2423 เพื่อนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย และเจรจาปรับปรุงสัญญา, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงมีพระราชหัตถเลขาพระราชทาน “คำแนะนำส่วนพระองค์” มีความบางตอนว่า,
-“...การซึ่งเธอจะประพฤติไว้ตัวในเวลาเข้าหาเสนาบดีของเจ้าแผ่นดินอื่น ฤาจะพูดจาปรึกษาการงานอันใดก็ดี, ขอให้เธอไว้ตัวเหมือนหนึ่งเสนาบดีของพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นเอกราชแท้ อย่าให้ลดหย่อนเกินไปเพราะคิดว่า เมืองเราเป็นเมืองน้อย เมืองเขาเป็นเมืองใหญ่ ถ้าถ่อมตัวเกินไปก็จะเป็นที่เปิดช่องให้กดลงได้ง่าย เพราะประเทศทั้งปวงแม้ถึงว่าในประเทศยุโรปด้วยกันเอง...ราชทูตเขายังต้องรักษาเกียรติยศเจ้าแลเกียรติยศตัวเขา ให้แข็งอยู่เป็นเมืองเอกราชเสมอ...”
-“...ถ้าจะพูดด้วยการอ่อนน้อมแลไม่มีกำลังวังชาอย่างนี้ในที่ประชุมเปิดเผยเนืองๆ กลัวว่าจะมีอันตรายแก่บ้านเมือง...ขอให้เธอรักษาคมรักษาคายให้เป็นไว้บ้าง อย่าตีแผ่แบมือไปทีเดียว แต่มิใช่ฉันจะให้ท้ารบ...”
-“...ฉันเข้าใจแลเห็นการชัดว่า อังกฤษชอบแข็งแรง กล้าพูด ไม่ชอบออดแอดอ้อนวอน, เหมือนมิสเตอร์น็อกซ์ (Sir Thomas Geore Knox-กงสุลใหญ่อังกฤษประจำสยาม),
ถ้าพูดออดแอดเขาเห็นว่าเป็นวีค คือ อ่อน, ซึ่งเป็นคำของอังกฤษเคยติเตียน แลไม่มีความไว้วางใจแก่Government ถือวีคอ่อนอย่างนั้นอยู่เสมอ,... ถ้าจะขอพูดต้องอ้างเหตุอ้างผลที่ควรเราจะได้ แล้วขอตรงๆ ว่าจะเอาอย่างนั้น จะให้มิให้ก็คงได้ตริตรองมาก...”
3)#เกร็ดเพิ่มเติม,
-พระยารัตนโกษา (จีน จารุจินดา) ต่อมาคือพระยาเพ็ชรพิไชย เลขานุการเอก (First Secretary) ของคณะทูตสยาม พ.ศ.2423,
-พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ทรงเป็น เลขานุการโท (Second Secretary),
สวัสดี และขอจบเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ,
ร้อยเรียงข้อมูล (T.Mon)
25/7/2019
ข้อมูลสนับสนุนส่วนหนึ่ง:
พระราชดำรัสตอบ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 27 หน้า 1546, วันที่ 2 ตุลาคม ร.ศ. 129 (พ.ศ.2453),พระราชหัตถเลขาพระราชทานเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) วันจันทร์ เดือน 7 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรงโทศก 1242 (10 พฤษภาคม พ.ศ.2423),Reminiscence of Ratanakosin II (1851-1911),
โฆษณา