Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายน่าสนใจ
•
ติดตาม
27 ก.ค. 2019 เวลา 12:50 • การศึกษา
แอบถ่ายใต้กระโปรง เป็นการทำอนาจาร!
เรื่องมีอยู่ว่า จำเลยเป็นแพทย์ตั้งกล้องแอบถ่ายใต้กระโปรงคนไข้ผู้หญิงที่นั่งตรงข้ามในห้องตรวจ
ศาลท่านตัดสินไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๘๓๒/๒๕๕๘ ว่าเป็นความผิดฐานทำอนาจารโดย “ใช้กำลังประทุษร้ายแก่จิตใจ”
เรื่องนี้หากดูบทนิยามในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑(๖) บัญญัติว่า “ใช้กำลังประทุษร้าย” หมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจ..... ดูเผินๆเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรเพราะศาลท่านตัดสินตามหลักกฎหมายอยู่แล้ว
แต่ปัญหาคือ อะไรคือ “จิตใจ”
ในเรื่องจิตใจนี้เคยมีความพยายามในการให้เหตุผลและมีคำวินิจฉัยไว้หลายเรื่องด้วยกัน เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๑๖/๒๕๒๘ วินิจฉัยว่าความโศกเศร้าเสียใจเป็นเพียงอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งศาลได้วางหลักเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจบัน มีคำพิพากษาล่าสุดที่ ๗๑๒๑/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่าความโศกเศร้าเสียใจ ไม่ใช่ค่าเสียหายที่พึงเรียกร้องได้
คำพิพากษาหลายๆเรื่องตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาตีความคำว่าจิตใจ หมายถึงระบบประสาทซึ่งเกี่ยวข้องกับสมองอันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ไม่ใช่ความรู้สึก ซึ่งเป็นเพียงอารมณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นการทำร้ายถึงขั้นสลบ หรือให้กินยานอนหลับ หรือตกใจจนสติวิปลาสไปชั่วคราว สิ่งเหล่านี้ต่างหากคือความเสียหายต่อจิตใจ เพราะเกี่ยวข้องกับสมองสั่งการโดยตรง
อีกทั้งความผิดฐานทำอนาจาร ในทางตำราหมายถึงการถูกเนื้อต้องตัวในลักษณะไม่สมควรทางเพศ ดังนั้นการเดินเข้าไปสูดลมหายใจแรงๆ ข้างแก้มของผู้หญิง หากไม่โดนตัวกัน ก็ไม่ใช่อนาจาร การชำเลืองมองด้วยสายตาคุกคามทางเพศ ยังไม่ถูกตัวกัน ยังไม่ใช่อนาจาร นี่คือหลักที่ยึดถือกันมาตลอด!
เหตุใดศาลในคดีนี้จึงตีความว่าการแอบถ่าย เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแก่จิตใจ? อะไรคือการใช้กำลัง? และอะไรคือจิตใจ? แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม หากศึกษาการตีความของศาลต่างประเทศ จะเห็นว่าคำว่าจิตใจนี้ หมายความรวมถึงอารมณ์ด้วย เนื่องจากเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึกที่ล้วนเกิดจากสมองทั้งสิ้น และสมองก็เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย การกระทบกระเทือนอารมณ์ ย่อมส่งผลกระทบต่อความคิดและการกระทำ อันเป็นผลจากการสั่งการของสมองเช่นกัน
ดังนั้นการที่ศาลท่านตีความว่าความรู้สึกอับอายของผู้เสียหายคดีนี้ เป็นความเสียหายต่อจิตใจ จึงนับเป็นการตีความที่เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และทันสมัย เป็นการตีความเพื่อให้กฎหมายมีที่ใช้ มิใช่ตีความเพื่อไม่ให้ใช้ อันเป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลังที่จะศึกษาต่อไป
ปล. นอกจากเป็นอนาจาร ที่มีโทษจำคุก ๑๐ ปีแล้ว ก็ยังถือเป็นการคุกคามให้ได้รับความอับอาย อันมีลักษณะส่อไปในทางล่วงเกินทางเพศ จำคุก ๑ เดือน ปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๙๗
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย