28 ก.ค. 2019 เวลา 13:08
เหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543
1
เหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543 เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศไทยที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกัน 2 เหตุการณ์ในช่วงระยะเวลาห่างกันเพียงไม่กี่เดือน ด้วยกลุ่มคนกลุ่มเดียวกัน ที่เป็นนักศึกษากะเหรี่ยงคริสต์ สัญชาติพม่า ติดอาวุธสงคราม เรียกกองกำลังตัวเองว่า ก๊อด'ส อาร์มี่ (God's Army) หรือ กองกำลังพระเจ้า
3
เหตุการณ์บุกยึดสถานทูตพม่า
2
เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เวลา 11.45 น. จู่ ๆ กลุ่มนักศึกษาพม่า จำนวน 12 คน พร้อมอาวุธปืนและระเบิด บุกเข้าไปในสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ที่ถนนสาทร จับเจ้าหน้าที่สถานทูตและประชาชนที่เข้าไปติดต่อราชการเป็นตัวประกัน ไว้ได้ราว 20 คน จากนั้นก็ชักธงชาติพม่าและชักธงของพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย (Nationality League for Democracy) ขึ้นไปแทน
5
ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนักศึกษาพม่าคนอื่น ๆ ที่อยู่บริเวณเดียวกันมาสอบสวน ควบคู่ไปกับการเจรจาปล่อยตัวประกัน ทำให้ทราบว่า หัวหน้าผู้ก่อการครั้งนี้ ชื่อ นายจอห์นนี่ ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลทหารพม่าให้ปล่อยตัว นางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน ให้กลับไปทำหน้าที่หลังได้รับการเลือกตั้งหลายถล่มทลายในปี พ.ศ. 2533 ทางฝ่ายรัฐบาลไทย พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เดินทางมาสั่งการและเปิดศูนย์อำนวยการขึ้นที่อาคารไบเออร์ ที่อยู่ติดกับสถานทูต
4
ระหว่างนี้ การเจรจาไม่ได้ผล แต่ตัวประกันสามารถทยอยหนีออกมาได้เรื่อย ๆ หลังสถานทูต จนเหลือเพียง 5 คน
จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. นายจอห์นนี่ได้ต่อรองขอเฮลิคอปเตอร์ให้ไปส่งตนและพรรคพวกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่จังหวัดราชบุรี ทางรัฐบาลไทยได้ตอบรับ โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ เสนอตัวเป็นตัวประกันนั่งโดยสารไปด้วยเพื่อรับรองความปลอดภัยจนกระทั่งถึงที่หมาย ซึ่งระหว่างตอนที่รถของนักศึกษาและรถของเจ้าหน้าที่ไทยออกจากสถานทูต ได้มีการปิดถนนสาทรและมีการรายงานสดจากที่เกิดเหตุของบรรดาสื่อมวลชนช่องต่าง ๆ
1
ในที่สุด เมื่อผ่านไป 25 ชั่วโมงนับจากเกิดเหตุ เหตุการณ์ก็จบลงอย่างสงบ
หลังจากนั้น สื่อมวลชนได้ต่างพากันเสนอแนะและวิพากษ์วิจารณ์ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้อย่างกว้างขวาง ทำให้ทราบว่า กองกำลังก๊อด'ส อาร์มี่ นี้ มีผู้นำเป็นเด็กผู้ชายฝาแฝดอายุเพียง 12 ขวบ ชื่อ ลูเธอร์ กับ จอห์นนี่ ทู เป็นเด็กแฝดที่มีลิ้นสีดำ ซึ่งเป็นผู้มีบุญตามคติความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงและชาวพม่า และที่พำนักของนักศึกษาพม่าในประเทศไทย มีศูนย์ใหญ่ที่สุด ชื่อ ศูนย์มณีลอย ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีนักศึกษาที่หลบหนีจากเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่ามาพำนักยังศูนย์นี้จำนวนมาก ซึ่งทางรัฐบาลจะต้องให้ความดูแลและรอบคอบทางด้านความปลอดภัยมากกว่านี้
2
เหตุการณ์บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี
1
เช้าวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543 กองกำลังนักศึกษาพม่า ที่นำโดย นายเบดาห์หรือปรีดา จำนวน 10 คน ได้ก่อเหตุขึ้นและอุกอาจยิ่งกว่าเดิม ด้วยการปลอมตัวเป็นผู้โดยสารนั่งรถประจำทางสายสวนผึ้ง-ราชบุรี แล้วใช้ปืนเอ็ม-16 และระเบิดจี้คนขับรถให้พาไปยังโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อไปถึงได้บุกยึดโรงพยาบาล จับแพทย์ พยาบาล และคนไข้ประมาณ 1,000 คน เป็นตัวประกัน
4
จากนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยพยายามเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากผู้ก่อการได้วางระเบิดดักไว้ที่ลาดจอดรถทั้งด้านหน้าและด้านหลังโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีเจรจาต่อรองจนทราบว่า กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ ต้องการนำตัวแพทย์ และพยาบาลไปรักษาทหารกะเหรี่ยงที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกทหารรัฐบาลพม่าปราบปรามอย่างหนัก การเจรจาผ่านไปเกือบ 20 ชั่วโมง กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ได้ร้องขอเครื่องมือสื่อสารและเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ ให้พากลับไปส่งยังชายแดน ที่อำเภอสวนผึ้ง
3
ในขณะที่พยายามจัดหาสิ่งที่ฝ่ายผู้ก่อการร้องขอมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยทั้งทหารและตำรวจพยายามต่อรองเพื่อหันเหความสนใจ โดยการถ่วงเวลาให้ผู้ก่อการอ่อนล้าและรอกำลังเสริม เพราะฝ่ายไทยต้องการจัดการขั้นเด็ดขาด
1
ในที่สุด เวลา 04.00 น. ของวันที่ 25 มกราคม กองกำลังผสม หน่วยนเรศวร 261 และหน่วย อรินทราช 26 จำนวน 50 นายได้บุกเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน ควบคู่ไปกับการจัดการขั้นเด็ดขาด โดยใช้เวลาเพียงไม่ถึง 20 นาที สามารถช่วยเหลือตัวประกันไว้ได้ทั้งหมดอย่างปลอดภัย และกลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ เสียชีวิต 10 คน
1
กระทั่งวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2544 ลูเธอร์และจอห์นนี่ ทู พร้อมลูกน้องทั้ง 55 คน ได้เข้ามอบตัวต่อทางการไทย และถูกส่งไปอยู่ในค่ายผู้อพยพ "พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านต้นยาง" ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
1
อ้างอิง:หนังสือ 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2549 โดย สำนักพิมพ์มติชน, ISBN 974-323-889-1
โฆษณา