30 ก.ค. 2019 เวลา 06:39 • ความคิดเห็น
วิกฤตประชากรของประเทศไทยในปี 2100
นั่งอ่านรายงาน Bloomberg กับ WorldBank
เรื่องเอเชียใต้ พบว่าเค้า Focus ประเทศไทย เรื่องสังคมผู้สูงอายุอย่างมาก แม้ว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยจะไม่ได้มีอัตราเกิดต่ำที่สุด เรามาอันดับ 2 อันดับแรกคือสิงคโปร์ แต่สิงคโปร์มีรัฐสวัสดิการที่ดี และ Life Expectancy (คืออายุขัยเฉลี่ย) ที่สูงกว่าไทยคือ 82.8 ปี แต่ไทยอยู่ที่ 75.3 ปี
1
เลยส่งผลให้อัตรา Population Growth Rate (อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ) เราอยู่ที่ 0.3% เท่านั้น
1
ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ที่ 1.3% มากกว่าเรามาก (และเค้ามีประชากรน้อยมาก แค่ 5 ล้านคน เทียบกับเราที่ 68 ล้านคน ดังนั้นรัฐบาลเค้าน่าจะดูแลไหว แต่ของเราน่าจะดูแลไม่ไหว)
3
ในปี 2100 หรืออีก 81 ปี ข้างหน้า พยากรณ์ทางสถิติว่า
ประชากรของประเทศจะลดลงเหลือเพียง 2 ใน 3 เท่านั้น คือเหลือเพียง 44 ล้านคน
1
เพราะเราจะมีอัตรา Lose Population ถึง -34.1 %
เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากญี่ปุ่นที่อัตรา Lose Population -41 % (แต่ญี่ปุ่นมีประชากร 120 ล้านคน)
และเค้าห่วงว่าประเทศไทยไม่มีเวลา และไม่มีศักยภาพพอที่จะแก้ปัญหานี้ได้ไว เนื่องจากปี 2030 (ในอีก 11 ปีข้างหน้า) อัตราคนเกษียณ จะเป็นอัตราสูงสุดเท่าที่เคยมีมานั่นก็คือ 25% (ก็คือ 1 ใน 4 ของประชากร) โดยจะมีจำนวนคนเกษียณอายุราว ๆ 18 ล้านคน
4
ทำนายได้ว่า สวัสดิการต่างๆ ที่เคยให้คนวัยทำงานจ่ายเงินเลี้ยงคนเกษียณทั้งหลายจะพังครืนลงมา เช่น เบี้ยบำนาญชราภาพ , ประกันสังคม เพราะจะเกิดการไม่สมดุลของคนจ่ายคนรับ
2
ซึ่งคนเกษียณอายุจำนวน 18 ล้านคนจะเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดแล้วและจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ
เหมือนจะเป็นข่าวดี แต่ไม่ใช่แบบนั้น
ในปี 2100 (81 ปีข้างหน้า) ในประชากร 44 ล้านที่เหลือ จะแบ่งเป็นวัยทำงาน 18 ล้านคน วัยเกษียณ 17 ล้านคน และ วัยเด็ก 8 ล้านคน
1
ดูเผิน ๆ คือ ตัวเลขคนวัยเกษียณลดจาก 18 ล้านคนในปีที่ Peak ที่สุด คือ 2030 มาเหลือ 17 ล้านคน ในปี 2100
แต่ถ้าเทียบเป็น % แล้ว กลายเป็น 38% กว่า ๆ เลยทีเดียว ซึ่งมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรอีก แปลว่าวัยทำงานต้องแบกภาระผู้สูงอายุอย่างหนัก
1
ค่าอายุขัยเฉลี่ยของประเทศจะสูงมาก
ประเทศจะกลายเป็นคนสูงอายุที่หง่อมเลยทีเดียว
การพัฒนาก็จะยากขึ้นไปอีก เพราะต้องหมดไปกับค่าดูแลประชากรสูงอายุที่สัดส่วนมากไป และสัดส่วนเงินไปพัฒนาด้านอื่นก็จะลดลง
1
ซึ่งจริง ๆ เหตุการณนี้เริ่มมาได้สักพักแล้ว ไม่ต้องรอให้ถึงปี 2030 ในปี 2019 เองซึ่งก็คือตอนนี้ ก็เริ่มส่งสัญญาณหลายๆ อย่าง เช่น คนทำงานเริ่มมีลูกน้อยลง เพราะแค่เอาตัวเองให้รอดยังลำบาก เมื่อต้องดูแล พ่อแม่อีก 2 คน
1
ทำให้วัยนี้จึงลดอัตราการมีลูกลงเพราะค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ค่าครองชีพตัวเอง ค่าเลี้ยงดูบุพการี พอมีลูกยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายไปอีกมหาศาล
1
ปัญหานี้จึงแก้ได้ยาก ถึงยากมาก
ทำให้คนแต่งงานช้าลงเรื่อยๆ รอตั้งตัวได้ รอพร้อม
1
อีกสาเหตุหนึ่งคือ หากมีลูก ฝ่ายผู้หญิงรู้สึกว่าต้องถูกลดมาตราฐานตัวเองลง จากเคยมีรายได้ กลับกลายเป็นต้องลาออกมาเลี้ยงลูกโดยคอยรับเงินจากสามีทางเดียว ซ้ำรายบางครอบครัวเพียงรายได้จากสามีไม่พอ ทำให้ต้องออกมาทำงานด้วย และกลับไปทำงานบ้านด้วย เลี้ยงลูกด้วย
1
ในภาวะนี้ชนชั้นกลางจึงมีลูกน้อยลง เพราะไม่อยากลด Standard การใช้ชีวิต และยิ่งมีลูกยิ่งทุ่มลงไปมาก
1
ส่วนชนชั้นล่างปัญหาอาจจะน้อยกว่าเนื่องจากฝ่ายหญิงไม่ได้ทำงาน และไม่ต้องการ Standard การใช้ชีวิตมากนัก และลูกยังเป็นแรงงานสร้างรายได้ได้ด้วย เช่น ออกไปทำงาน ขายของ
3
อีก 11 ปีข้างหน้า หลายๆ ธุรกิจจะเริ่มได้รับผลกระทบจากประชากรน้อยลง เช่น โรงเรียน เนิร์สเซอรี่ มหาลัย สวนสนุก พิพิธภัณฑ์ ห้างสรรพสินค้า ที่ target เด็กวัยรุ่นเป็นหลัก
1
ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาที่อยู่อาศัยล้นตลาด // ทิ้งร้าง
หลายคนบอกว่าก็รณรงค์ให้มีลูกเพิ่มสิ
แต่ปัญหามันคือระดับโครงสร้าง
คนคงไม่มีลูกเพิ่มเพราะแค่เราจะแจกเงิน ....
ปล. gap นี่เค้าว่าไทยจะเหมือนญี่ปุ่น ที่ต่อไปต้องให้สัญชาติคนต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ให้ง่ายขึ้นมากขึ้น เพื่อแรงงานและประชากรต่อไป แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องเชื้อชาติ และสังคมตามมาบ้างเหมือนกัน ..
โฆษณา