31 ก.ค. 2019 เวลา 22:30 • การศึกษา
วิวัฒนาการของงู ตอนที่ 2
ทำไมงูกินแค่มื้อเดียวแต่อยู่ได้ทั้งเดือน?
ตอนที่แล้วเรื่องขางูหายไปไหน
วันนี้มาต่อที่งูกินยังไงกันต่ออีกสักหน่อยละกันนะครับ
ปกติแล้วในปัจจุบัน การที่คนเรากินข้าวในหนึ่งวัน
ส่วนใหญ่ต้องกินอย่างน้อยสองถึงสามมื้อถึงจะดำเนินชีวิตต่อไป
ได้อย่างปกติสุข(ย้ำว่าคนส่วนใหญ่นะครับ)
แต่มาดูเพื่อนร่วมโลกของเราชนิดหนึ่ง เอาเป็นงูละกัน
งูกินแค่"มื้อใหญ่ๆแค่มื้อเดียว"แต่อยู่ได้ยันสิ้นเดือน ทำไมหล่ะ?
ทำไมแค่เพียงมื้อเดียวก็เพียงพอแล้วสำหรับงู?
มันไม่หิวเหรอ?
มันอยู่รอดโดยไม่ตายได้เหรอ?
1
แล้วทำไมเราต้องเสียเวลาไปกับการกินตั้งหลายมื้อ?
มาหาคำตอบกันครับ...
มื้อใหญ่เลย
คำตอบสั้นๆแบบรวบรัดเช่นเคยก็คือ
"เลือดอุ่นและเลือดเย็น"ครับ ว่าแต่ มันคืออะไร?
ต่างกันยังไง? ที่สำคัญคือ มันเกี่ยวอะไร?
ก่อนจะไปตอบคำถาม ต้องบอกก่อนว่าจะสัตว์เลือดอุ่นหรือเย็น
มันก็มีจุดมุ่งหมายที่เดียวกันนั่นก็คือ การ"ทำให้ร่างกายอุ่นอยู่ตลอดเวลา"
งงไหมครับ ถ้างงอยู่...อะ ฟังต่อ
สัตว์ทุกชนิดบนโลกใบนี้ จะวิ่งหาความร้อนเสมอเพราะงั้น...
คำถามจริงๆที่ต้องถามคือ ทำไมมันสัตว์ทุกชนิดถึงพากันวิ่งหาความร้อน?
เพราะความร้อนที่พอเหมาะจะทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ
ในร่างกายทำงานได้ เช่น เดิน วิ่ง แต่ถ้ามันเย็นไป
ประสิทธิภาพการทำงานก็จะต่ำกว่าที่เคยเป็น
เหมือนกับการแช่มือในน้ำแข็งแล้วมือชานั่นแหละครับ
นั่นเพราะกล้ามเนื้อและเส้นประสาทขาดความร้อน
และเลือดไปเลี้ยงได้ไม่ดี เลยทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ดวงอาทิตย์
ทีนี้พอสัตว์ต่างๆ ต่างก็ถวิลหาความร้อน
จึงมีจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน คือ"ความอบอุ่นของร่างกาย"
แต่สิ่งที่ต่างกันมากมายก็คือ "แหล่งที่มา"
สัตว์เลือดเย็น เช่น ไดโนเสาร์ กิ้งก่า สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ใช้แหล่งความร้อนหลักคือ "ดวงอาทิตย์"
มันจึงอาบแดดทั้งวัน ผึ่งแดดทั้งวัน นอนอ้าปากอยู่นั่น
ไม่ได้ทำอย่างอื่นเลย ก็เพราะมันรับความร้อนจากแสงอาทิตย์อยู่ครับ
(เช่น จระเข้ หลายๆคนน่าจะเคยเห็น)
แล้วถ้าตะวันตกดินเมื่อไหร่เหมือนใครเตะปลั๊ก
ความร้อนได้มาก็ต้องออกไป เก็บอะไรไว้ไม่ได้เลย
(ไม่มีแบตเก็บพลังาน) เพราะยืมของเขาใช้ ไม่มีไฟใช้เอง
ส่วนสัตว์เลือดอุ่นครับ เช่นพวกเราๆ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย
มีความพิเศษตรงที่ ร่างกายของสัตว์เลือดอุ่นวิวัฒนาการถึงขั้น
"สร้างความร้อนจากภายในได้เอง" โดยใช้หลักการ เอาพลังงานไปแลกพลังงาน
อารมณ์จะคล้ายๆเราถูมือไปเรื่อยๆแล้วต่อมามือเราก็อุ่น
ซึ่งขั้นแรกเราต้อง"ออกแรง"ถูมือก่อน(ใช้พลังงานก่อน)
จากนั้นเราถึงจะได้ความร้อนออกมา(แลกพลังงานที่เยอะกว่าออกมา)
ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญสั้นๆเกี่ยวกับสัตว์เลือดอุ่นเลือดเย็น
ได้ด้วยการถูมือครับ ...
ทั้งสัตว์เลือดอุ่นและเย็นมีมือที่ใช้ถูกัน เพื่อแลกกับความร้อน
ที่จะออกมาเหมือนกัน ต่างก็ตรงที่ใครเป็นคนถูให้ครับ
สัตว์เลือดอุ่น เช่นเรา มีมือเป็นของตัวเอง อยากได้ความร้อนเมื่อไหร่
ก็ออกแรงถูได้เรื่อยๆ จึงไม่ต้องพึ่งใคร หรือพึ่งความร้อนจากที่ไหน
แต่ แต่ แต่ ... ประเด็นสำคัญของสัตว์เลือดอุ่นคือ
"มันถูไม่หยุดครับ" พอไม่หยุด ความร้อนจึงออกมาเรื่อยๆ
ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานไปมากเหมือนกัน
ไม่เชื่อลองจับแขนจับขาตัวเองดู ถ้าอุ่นๆ แสดงว่าร่างกายคุณกำลัง
"ถู"เพื่อเค้นความร้อนออกมา(เปรียบเทียบนะครับ)
กลับกันสัตว์เลือดเย็น เช่นงูนั้น ต้องยืมมือพระอาทิตย์มาถู
แล้วส่งความร้อนมาให้ แต่พอพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไป
ก็ไร้ซึ่งคนที่จะมอบความร้อนให้ และเมื่ออุณหภูมิต่ำลง
นั่นจะทำให้ประสิทธิภาพร่างกายลดลงด้วย(เลยจำศีลอยู่เฉยๆ)
แล้วทั้งหมดที่เล่ามามันไปเชื่อมกับเรื่องงูกินมื้อเดียวได้ยังไง?
คือแบบนี้ครับ การที่ร่างกายเราจะย่อยอาหาร เดิน วิ่ง
ทำกิจกรรมอะไรมากมายได้ มันต้องอุ่นเท่านั้นครับ
ถ้าเย็นๆจะทำได้แต่ไม่ดีเลย
ซึ่งงูเป็นสัตว์เลือดเย็น ร่างกายมันจะอุ่นจริงๆเฉพาะมีแสงอาทิตย์
นั่นทำให้กระบวนการย่อยหรือการใช้พลังงาน
เกิดขึ้นเยอะจริงๆจะมีแค่ช่วงมีแสงเท่านั้น
พอตกเย็น ไม่มีแสงอาทิตย์อุ่นๆ อุณหภูมิร่างกายมันลดลง
กระบวนการต่างๆก็ลดลงไปด้วย เหมือนจำศีลไปเลย
ทุกอย่างหยุดนิ่ง ไม่มีการใช้พลังงานมากไปกว่าการหายใจ ...
นั่นแปลว่า ถ้ามันกินมื้อใหญ่ๆแค่มื้อเดียว
ก็อยู่รอดได้เป็นเดือน ...
เพราะช่วงกลางคืนมันไม่ได้เอาพลังงานไปใช้อะไรมากมายนั่นเอง
***อีกสักเล็กน้อย***
ตัดกลับมาที่คำถามที่ว่าทำไมเรากินหลายมื้อต่อวัน?
คำตอบก็เพราะ "ต้องรีบอุดรูรั่วครับ"
อย่างที่ผมบอกไปว่า สัตว์เลือดอุ่น
ถูมือทั้งวัน(ใช้พลังงาน) เพื่อสร้างความร้อนออกมา
ถึงแม้เราไม่อยากได้ ร่างกายมันก็สร้างออกมาให้
ซึ่งบางครั้งมันก็เกินความจำเป็นของเราเอง
เหมือนกับแก้วที่มีรูรั่วใหญ่ๆ
น้ำที่ไหลออกเปรียบเสมือนพลังงานที่เอาไปแลกเป็นความร้อน
พอมันแลกทั้งวันทั้งคืน พลังงานต้นทุนที่มีมันก็จะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ
นั่นทำให้เราต้องกิน กิน แล้วก็กิน อาหารให้ได้หลายมื้อต่อวัน
หรือประมาณสองพันแคลอรี่ ...
เพื่อให้ทันกับพลังงานที่เสียออกไปนั่นเองครับ
***คำถามทิ้งท้าย***
เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมงูถึงมี"พิษ"ที่ร้ายแรงมาก
สามารถล้มสัตว์ใหญ่ๆได้ภายในไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง?
ทำไมพิษร้ายถึงถูกวิวัฒนาการขึ้นมา?
บรรพบุรุษของงูไปเจออะไรมาถึงกับต้องสร้างพิษไปสู้?
...ตอนหน้ามีคำตอบครับ...
#WDYMean
#ขอบคุณที่อ่านกันจนจบนะครับบ 😁
#ถ้าชอบก็ฝากกด"Like"กด"Share"เป็นกำลังใจให้กัน
ด้วยนะครับ 😋
#และถ้าใครสนใจบทความสไตล์นี้ก็อย่าลืมกดติดตามกัน
ด้วยนะจ๊ะ ☺
#อ้างอิงจากหนังสือ"เหตุผลของธรรมชาติ"
Wikipedia : snake
โฆษณา