5 ส.ค. 2019 เวลา 11:00 • สุขภาพ
การนำกุ้งไปผ่านความร้อนแล้วเปลือกของมันเปลี่ยนจากสีน้ำเงินอมเขียวเป็นสีเฉดส้มแดง มันคงจะเป็นเรื่องที่คุ้นเคยและเห็นกันได้บ่อยๆ แต่เพื่อนๆ เคยสงสัยว่าทำไมเปลือกของเจ้าสัตว์ชนิดนี้ เปลี่ยนสีได้แบบคนละเฉดกันเลย?
กรณีดังกล่าวเป็นหนึ่งในเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ของโลก พยายามไขกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในช่วงยุค 1870 และพวกเขาเองก็ต้องใช้เวลานานกว่า 100 ปี จนกระทั่งหาคำตอบได้ในปี 2002
อธิบายกันสักนิดว่าการที่กุ้งมีสีน้ำเงิน (โดยเฉพาะกุ้งในทะเล) เป็นการวิวัฒนาการสีของร่างกายมาเพื่อการพรางตัว โดยอาศัยสารสองชนิด ได้แก่โปรตีน "ครัสตาไซยานิน" และสารแคโรทีนอยด์ที่ทำให้พืชหรือสัตว์มีสีเหลือง ส้ม หรือแดงชื่อ "แอสตาแซนธิน”
โดยตามปกติแล้วกุ้งอย่างล็อบสเตอร์ จะไม่สามารถผลิตสารแอสตาแซนธินได้เอง แต่สารดังกล่าวจะเกิดการสะสมในตัวกุ้งผ่านอาหารที่กิน คล้ายการสะสมของเบตาแคโรทีนในนกฟลามิงโก (ซึ่งทำให้มันมีสีชมพู)
ปัญหาคือการสะสมสารแอสตาแซนธินจะทำให้กุ้งมีตัวเป็นสีแดง ซึ่งคงจะไม่ใช่สิ่งที่ดีเท่าไหร่สำหรับสัตว์ที่ต้องการจะซ่อนตัวในทะเล
การนำกุ้งไปผ่านความร้อนแล้วเปลือกของมันเปลี่ยนจากสีน้ำเงินอมเขียวเป็นสีเฉดส้มแดง มันคงจะเป็นเรื่องที่คุ้นเคยและเห็นกันได้บ่อยๆ แต่เพื่อนๆ เคยสงสัยว่าทำไมเปลือกของเจ้าสัตว์ชนิดนี้ เปลี่ยนสีได้แบบคนละเฉดกันเลย?
กรณีดังกล่าวเป็นหนึ่งในเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ของโลก พยายามไขกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในช่วงยุค 1870 และพวกเขาเองก็ต้องใช้เวลานานกว่า 100 ปี จนกระทั่งหาคำตอบได้ในปี 2002
อธิบายกันสักนิดว่าการที่กุ้งมีสีน้ำเงิน (โดยเฉพาะกุ้งในทะเล) เป็นการวิวัฒนาการสีของร่างกายมาเพื่อการพรางตัว โดยอาศัยสารสองชนิด ได้แก่โปรตีน "ครัสตาไซยานิน" และสารแคโรทีนอยด์ที่ทำให้พืชหรือสัตว์มีสีเหลือง ส้ม หรือแดงชื่อ "แอสตาแซนธิน"
โดยตามปกติแล้วกุ้งอย่างล็อบสเตอร์ จะไม่สามารถผลิตสารแอสตาแซนธินได้เอง แต่สารดังกล่าวจะเกิดการสะสมในตัวกุ้งผ่านอาหารที่กิน คล้ายการสะสมของเบตาแคโรทีนในนกฟลามิงโก (ซึ่งทำให้มันมีสีชมพู)
ปัญหาคือการสะสมสารแอสตาแซนธินจะทำให้กุ้งมีตัวเป็นสีแดง ซึ่งคงจะไม่ใช่สิ่งที่ดีเท่าไหร่สำหรับสัตว์ที่ต้องการจะซ่อนตัวในทะเล
ดังนั้นกุ้งจึงวิวัฒนาการให้โปรตีนครัสตาไซยานินในตัวของมัน ทำปฏิกิริยากับแอสตาแซนธินด้วยการเปลี่ยนโมเลกุลของสารจนทำให้การสะท้อนแสงของแอสตาแซนธินเปลี่ยนไป
อธิบายง่ายๆ คือเมื่อสารแอสตาแซนธินจับตัวกับโปรตีนครัสตาไซยานิน มันจะกลายเป็นสีน้ำเงินเขียว
แล้วในเวลาที่กุ้งเหล่านี้ถูกนำไปผ่านความร้อนเช่นการทำอาหาร โปรตีนครัสตาไซยานินที่จับตัวกับสาร แอสตาแซนธินก็จะหลุดออกจากกัน ทำให้สารแอสตาแซนธินคืนสภาพเป็นสีแดงดังเดิม
ที่มา
mentalfloss.com/article/31483/why-do-crabs-and-lobsters-turn-red-when-you-cook-themกุ้งจึงวิวัฒนาการให้โปรตีนครัสตาไซยานินในตัวของมัน ทำปฏิกิริยากับแอสตาแซนธินด้วยการเปลี่ยนโมเลกุลของสารจนทำให้การสะท้อนแสงของแอสตาแซนธินเปลี่ยนไป
อธิบายง่ายๆ คือเมื่อสารแอสตาแซนธินจับตัวกับโปรตีนครัสตาไซยานิน มันจะกลายเป็นสีน้ำเงินเขียว
และในเวลาที่กุ้งเหล่านี้ถูกนำไปผ่านความร้อนเช่นการทำอาหาร โปรตีนครัสตาไซยานินที่จับตัวกับสาร แอสตาแซนธินก็จะหลุดออกจากกัน ทำให้สารแอสตาแซนธินคืนสภาพเป็นสีแดงดังเดิม
ที่มา
โฆษณา