12 ส.ค. 2019 เวลา 03:19 • ประวัติศาสตร์
“นิโคลา เทสลา” (Nikola Tesla) อัจฉริยะสติเฟื่อง ที่โลกลืม ตอนจบ
อัจฉริยะผู้เดียวดายไร้คนจดจำ
1
ภาพจาก http://thesrpskatimes.com/the-nikola-tesla-interview-that-was-hidden-for-116-years-will-blow-your-mind/
เทสลาเป็นคนหน้าตาดีและสุภาพจึงมีผู้หญิงหลายคนพยายามแข่งขันกันเพื่อเอาชนะใจเขา
แต่เทสลากลับไม่เคยแต่งงานหรือมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงคนไหน เทสลาบอกว่าการถือพรหมจรรย์ของเขานั้นช่วยได้มากในเรื่องการทำงานทางวิทยาศาสตร์
เทสลาทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับการทำงาน เขาทำงานทุกวันตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น
กินมื้อเย็นคนเดียวเวลา 2 ทุ่ม 10 นาทีตรง น้อยครั้งที่จะร่วมโต้ะกับคนอื่น แล้วจะกลับไปทำงานต่อถึงตีสามเป็นประจำ
เทสลาใช้เงินที่เขาได้จากการทำงานและค่าสิทธิบัตรจำนวนมหาศาลกับงานค้นคว้าทดลองจนหมด ช่วงหลังจึงไม่ค่อยมีเงินใช้จ่าย ปั้นปลายชีวิตเขาต้องอยู่คนเดียว
พักตามโรงแรมในนิวยอร์กเปลี่ยนโรงแรมทุกสองสามปีโดยไม่จ่ายค่าโรงแรม หลังสุดมาพักที่ New Yorker Hotel อยู่หลายปี
1
เทสลาเสียชีวิตที่โรงแรมนี้ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1943 (พ.ศ.2486)ด้วยโรคหัวใจล้มเหลวในวัย 86 ปี
2
หลังจากเขาเสียชีวิต ประธานาธิบดี เจ. เอดการ์ ฮูเวอร์ (J. Edgar Hoover) ได้ส่งบันทึกไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า
เรื่องราวทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ นิโคลา เทสลา ต้องถูกจัดการอย่างลับที่สุด และทุกฝ่ายต้องรักษาความลับของสิ่งประดิษฐ์ของเขาให้เป็นความลับตลอดไป
นอกจากนี้ เขายังพยายามที่จะทำโลกทั้งใบให้เป็นสื่อนำไฟฟ้า เพื่อให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปให้คนทุกคนในโลก ได้ใช้กระแสไฟฟ้าอย่างเสรี
ช่วงบั้นปลายชีวิต หากคนทั่วไปจะจำเทสลาได้ พวกเขาก็จำได้แต่ในฐานะคนประหลาดที่เขียนบทความส่งหนังสือพิมพ์ (ด้วยหัวข้ออย่าง “คลื่นยักษ์ของเทสลาในการทำสงคราม”, “การนอนหลับด้วยไฟฟ้า”, “วิธีส่งสัญญาณไปดาวอังคาร” ฯลฯ)
แต่ทว่า ในทศวรรษ 1980 ความคิดของเทสลาได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง
1
ผลการวิจัยเรื่องการสูญเสียพลังงานในพัลซาร์ดาวคู่นิวตรอน (double neutron star pulsar) ชื่อ PSR 1913+16 ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นไอน์สไตน์ในช่วงนั้น ได้ถูกพิสูจน์ว่าคลื่นแรงโน้มถ่วงมีอยู่จริง
2
หนังสือพิมพ์ New York Times
ในปี ค.ศ.1940 (พ.ศ.2483) หลังวันเกิดครบรอบ 84 ปีไม่กี่วัน เทสลาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The New York Times ว่า
“…เขาพร้อมที่จะเปิดเผยความลับเกี่ยวกับพลัง ‘โทรกำลัง’ (teleforce) ต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกา พลังนี้มีอานุภาพหลอมละลายเครื่องยนต์ของเครื่องบินจากระยะไกลถึง ๒๕๐ ไมล์ ทำให้สามารถสร้างแนวกำแพงป้องกันรอบประเทศแบบกำแพงเมืองจีน แต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า”
คู่ปรับตลอดกาลของโทมัส อัลวา เอดิสัน
เมื่อนึกถึงนักประดิษฐ์ ผู้คนมักจะนึกถึง โทมัส เอดิสัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ นิโคลา เทสลา นั้นดูเหมือนว่าทั้งสองจะมีแนวคิดที่ต่างกันคนละขั้วเลยทีเดียว
ภาพจาก https://www.energy.gov/articles/video-who-was-better-inventor-tesla-or-edison
เทสลานั้นเป็นเจ้าของแนวความคิดเรื่องไฟฟ้ากระแสสลับ ที่สามารถให้พลังไฟฟ้าในขอบเขตที่กว้างกว่าไฟฟ้ากระแสตรง ที่เป็นแนวคิดของเอดิสัน
โดยเอดิสันได้เห็นแย้งกับความคิดของนิโคลา โดยการสาธิตการคิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าที่ใช้ในการประหารนักโทษขึ้นมา
เพียงเพื่อแสดงให้เห็นอันตรายจากการใช้ไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้น ซึ่งว่ากันว่าอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ
เอดิสันนั้นไม่เข้าใจหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับตามที่เทสลาอธิบาย นี่จึงเป็นการประกาศว่าเอดิสันไม่ยอมรับสิ่งประดิษฐ์ของเทสลานั่นเอง
เทสล่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกวิศวกรรมไฟฟ้ายุคใหม่ ซึ่งทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจคณิตศาสตร์อย่างถ่องเเท้ทำให้เขาสามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
เขาศึกษาคณิตศาสตร์เเละผลงานต่างๆของนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนๆที่เคยศึกษามาก่อนทำให้สามารถเข้าใจว่าไฟฟ้ามีการทำงานอย่างไร
1
เทสล่าไม่ได้ทำงานเเบบเดาสุ่ม (trial and error) เเบบที่เอดิสันชอบทำ เขาจะใช้ความคิดเเก้ปัญหาให้ได้ก่อนที่จะสร้างสิ่งประดิษฐ์ใดๆ
ท้ายที่สุดนี้..
เทสลาถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
ภาพจาก https://www.pinterest.com/pin/498421883746921973/
สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง
เขาไม่เพียงเป็นอัจฉริยะเจ้าของสิทธิบัตรกว่า 300 รายการ หากยังเป็นบิดาแห่งวงการวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า มีชื่อเสียงโด่งดังทัดเทียมเอดิสันในครึ่งแรกของชีวิต
เป็นผู้ประดิษฐ์และค้นพบสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย อาทิ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวสติงเฮาส์เอาชนะเอดิสันในสงครามคลื่นได้) ขดลวดเทสลา (Tesla coil) เครื่องวัดความเร็วติดรถยนต์
การกระจายเสียงผ่านวิทยุ และวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า อันเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลาซึ่งวิศวกรรุ่นหลังตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
ปัจจุบันเราอยู่บนโลกใบนี้ เมื่อมองไปรอบๆตัวเราก็จะเห็นเเต่มรดกต่างๆที่เทสล่าทิ้งไว้ ..ขอบคุณ นิโคล่า เทสล่า
Nikola Tesla (1856 - 1943)
เป็นการจบซีรี่ย์ประวัติของชายผู้นำเทคโนโลยีหลายอย่างที่ยังมีอยู่ทุกวันนี้มา
ถ้าชอบอย่าลืมกดติดตามเพื่อที่จะไม่พลาด content น่าสนใจใหม่ๆ
โฆษณา