8 ส.ค. 2019 เวลา 09:30 • บันเทิง
ถ้าโลกนี้ มีวิธีช่วยตัดสินใจให้มีโอกาสตัดสินใจถูกเสมอ คุณจะเชื่อไหม ?
มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Algorithms to Live By
คือถ้ามนุษย์สามารถตัดสินใจได้ถูกต้องมันควรมีระบบความคิด หรือ Algorithms อะไรสักอย่างที่ช่วยในการตัดสินใจ ในเล่มนี้มีหลายอย่างเลย ตั้งแต่ หางานทำ เลือกที่อยู่อาศัย แม้กระทั่งเลือกคู่ให้เจ๋งที่สุด ……
โดยเฉพาะการเลือกคู่นี่ ถูกเสนอเป็นปัญหาทางคณิตศาสตร์ ในชื่อว่า Secretary Problem ซึ่งเสนอโดย Merrill M. Flood นักคณิตศาสตร์ชื่อก้อง ที่ดังมาจากการเสนอแก้ไขปัญหา Prisoner's dilemma อันซับซ้อน
โดยเค้ามักบอกให้ลูกศิษย์ช่วยคิดวิธีแก้ปัญหาจากโจทย์ง่ายๆ ดังนี้
เรามีกองเอกสารใบสมัครอย่างสุ่มของเลขาอยู่กองหนึ่ง
1. เราสามารถเรียกเลขามาสัมภาษณ์ได้ทีละคน
2.เมื่อ”ปฎิเสธ”หรือ”ผ่าน”คนใดไปแล้วไม่สามารถย้อนกลับไปเลือกได้อีก แต่ถ้าเลือก”หยุด” ก็จะได้คนที่สัมภาษณ์เลยและจะดูคนที่เหลือไม่ได้อีก …
ซึ่งปัญหานี้ก็มาเทียบเทียงการเลือกคู่ได้ ถ้าเราคบทีละคน เลิกแล้วไม่กลับไปหาอีก หาคนใหม่ แล้วเราจะเลือกคนที่ดีที่สุดได้อย่างไร
นับตั้งแต่ปี 1949 ที่ Merrill M. Flood เสนอปัญหานี้นักคณิตศาสตร์หลายคนพยายามาหาวิธีแก้ปัญหาแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งในปี 1960 จึงมีคนเสนอทฤษฎีที่เรียกว่า “Optimal stopping”
การหยุดเลือกอย่างเหมาะสมมาแก้ปัญหา secretary problem
คือแม้ไม่ได้คนที่ดีที่สุดในกอง แต่นั่นคือคนที่ยอดเยี่ยมที่ควรเลือกแล้ว ทฤษฎีเขียนไว้ยาวเหยียด แต่สรุปสั้นๆ ว่า ใช้กฎ 37%
ยกตัวอย่างเช่น เลขามีส่งใบสมัครมา 20 ใบ แปลว่า 37% แรกคือ 7 คน สิ่งที่ให้เราทำคือ สัมภาษณ์ผ่านไปเลย 7 คน หลังจากนั้นตั้งใจหา ถ้าเจอ คนที่ 8-20 ถ้าเจอใครที่ดีกว่า 7 คนแรกให้หยุดเลย นั่นคือคนที่ควรเลือก … หรือถ้าไม่มีเลยก็เลือกคนสุดท้ายคือคนที่ 20
ถ้าเอามาใช้กับการหาคู่ต้องกำหนดสมการก่อน เช่นจะเริ่ม หาคู่ตั้งแต่อายุ 25-35 โดยจะคบมากสุดไม่เกินปีละคน แปลว่าจะเจอได้ประมาณ 10 คน ดังนั้น 3 คนแรกให้คบผ่านๆไปก่อน … แล้วคนที่ 4 - 10 ให้ตั้งใจหาใครดีกว่า 3 คนแรกเอาเลย …
แต่ก็ขอทิ้งท้ายว่า มนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์ เรามีชีวิตจิตใจ เรากลับไปเลือกคนเดิมได้ หรือเราไม่เลือกใครเลยก็ได้นั่นแหละคือเสน่ห์ของมัน และเราก็มักยินดีเลือกผิดซ้ำๆ โดนหลอกให้ความหวังซ้ำๆ หลอกตัวเองซ้ำๆ ในตัวเลือกที่ก็รู้ว่าไม่ดี ว่าไม่ควร เพราะบางทีในความทุกข์นั้นมันก็มีความหวัง ในคราบน้ำตาก็มีความสุข บางทีลึกๆ แล้วมนุษย์อาจจะชอบมีความสุขบนความเจ็บปวดของตัวเองก็ได้
มากกว่าเลือกตามทฤษฎีที่ก็ดีแต่มันดูน่าเบื่อไปหน่อยนั่นเอง
โฆษณา