10 ส.ค. 2019 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
มารู้จักการสืบสันตติวงศ์ราชวงศ์จักรกรีกันเถอะ 1
(ต้นรัตนโกสินทร์)
พอดีหลังจากจบซีรียส์เรื่องเล่าประวัติศาสตร์ราชวงศ์ของผมไป ขาประจำอย่างพี่อนันต์ ทีวี เกิดสอบถามเรื่องราวต่อไปของการสืบสันตาติวงศ์ ที่หลายท่านเคยฟังข่าว เรื่องเล่าหรืออะไรหลายอย่าง โดยไม่ทราบว่าที่จริงเป็นอย่างไร ทั้งที่จริงแล้วเรื่องเหล่านี้มีบันทึก มีหนังสือและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน หากแต่เราไม่มีการนำไปสอนกันอย่างถูกต้อง จนเรื่องเล่าสนุกปากกลายเป็นการหลอกประโลมให้คนบางกลุ่มใช้เป็นข้ออ้างต่างๆ นาๆ ผมจึงเห็นว่าควรที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยบอกเล่าความจริงว่าที่แท้แล้วเป็นมาอย่างไร
ก่อนอื่นขออกตัวก่อนว่าผมเองไม่มีความชำนาญอะไรมากนักด้านประวัติศาสตร์ แต่พออาศัยว่าได้ไปอ่านตามหนังสือ บันทึก และตามหน้าเพจข้อมูลอย่างวิกิพิเดียหรือว่าจะเป็นเพจการศึกษาประวัติศาสตร์จากหลายๆ เพจ แล้วจำๆ มาเล่าให้ฟังต่อไป ดังนั้นหากผิดพลาดประการได้ ของกราบบังคมทูลพระราชทานอภัยโทษและขออภัยท่านผู้อ่านไว้ด้วย อีกประการขอแจ้งว่าจะแยกเป็นสองส่วนคือต้นรัตนโกสินทร์ ที่ผมจะกล่าวถึงการสืบสันตติวงศ์แต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 และตอนที่ 2 สืบต่อรัตนโกสินทร์คือตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 9 เพื่อไม่ให้ยาวเกินไป อันจะทำให้เบื่อเสียก่อน
ตามความเดิมที่เล่าไว้แต่ครั้งก่อน ต้นราชวงศ์จักรีสืบเชื้อสายจากตระกูลขุนนางในสมัยอยุธยาเรื่อยมาแต่แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวร จนกระทั่งกรุงแตก นายทองด้วงหรือด้วงได้เข้าช่วยพระเจ้ากรุงธนบุรีในการกอบกู้บ้านเมืองมีผลงานต่อประเทศชาติ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ถึงเจ้าพระยาจักรีและสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของการรับราชการ ต่อเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสติวิปลาสทางเหล่าขุนนางจึงทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกนี้ ขึ้นปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี โดยพระองค์ได้ย้ายราชธานีมาสร้างใหม่ในอีกฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมพระเจ้ากรุงธนบุรีได้มอบดินแดนนี้ให้แก่คนจีนอพยพ รัชกาลที่ 1 ได้เวนคืนและพระราชทานที่บริเวณถัดไปคือย่านเยาวราช พาหุรัตให้แทน
โดยตลอดรัชสมัยช่วงเวลา พ.ศ.2325-2352 พระองค์ได้ทำนุบำรุงบ้านเมือง ต่อสู้สงครามกับเหล่าอริราชย์ทั้งพม่าและเขมร รวมทั้งล้านนา(ไทยตอนเหนือ) โดยความช่วยเหลือของกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาทพระมหาอุปราช ชาติไทยจึงได้ยืนยงคงเอกราชอยู่ได้แม้จะผ่านศึกใหญ่อย่างสงคราม 9 ทัพ และสงครามอื่นๆ ในขณะนั้น
1
นอกจากนี้พระองค์ยังเล็งเห็นว่าการตั้งรัชทายาทตามแบบวิธีสมัยอยุธยานั้น นำไปสู่ความแตกแยกและแก่งแย่งอำนาจจนชาติบ้านเมืองอ่อนแอ ด้วยว่าการที่พระมหากษัตริย์จะได้ตั้งรัชทายาทไว้ก็จริง หากแต่เชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่และข้าราชชั้นสูงที่มีอำนาจในบ้านเมือง มักจะต้องการให้เจ้านายฝ่ายตนได้อยู่ในอำนาจเพื่อหวังพึ่งบารมี อันทำให้การยอมรับต่อพระราชาองค์ใหม่เป็นเรื่องยาก ดังนั้นพระองค์จึงได้สร้างระบบอเนกชนนิกรสโมสรขึ้นมา
5
อันระบบนี้เองจะเป็นผู้คัดเลือกว่าเจ้านายพระองค์ใดควรจะได้รับสืบต่อราชบัลลังก์ โดยเมื่อสิ้นรัชกาลแล้วจะได้มีการทูลเชิญเชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ ข้าราชการชั้นสูง รวมทั้งพระราชาคณะที่เป็นที่เคารพ เพื่อมาประชุมคัดเลือกกันว่าเจ้านายหรือเจ้าชายพระองค์ใด ควรจะได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติต่อไป
3
ซึ่งแม้ระบบนี้จะมีคนค่อนคอดว่าเป็นเพียงระบบคัดเลือกหรือประชาธิปไตยสมมุติ เพราะท้ายที่สุดเจ้านายที่ทรงพระอำนาจในคณะนั้นย่อมได้รับเลือก หาได้มีการเลือกกันอย่างแท้จริง ตรงนี้เองผมขอแสดงความเห็นขัดแย้งต่อแนวคิดโต้แย้งนี้ว่า แม้เจ้านายผู้เรืองอำนาจมักจะได้รับเลือกอยู่เป็นประจำ หากแต่นั่นก็คือหนทางแห่งการรับเลือก หรือท่านจะเถียงว่าระบบประชาธิปไตยแบบสมัยใหม่ คนที่มีความนิยมในขณะนั้นจะไม่ได้รับเลือก? เช่นนั้นหากระบบอเนกนิชนสโมสรจะได้เลือกเจ้านายที่เป็นที่นิยมและมีคะแนนเสียงในหมู่ข้าราชการและเชื้อพระวงศ์ส่วนมากเป็นกษัตริย์ จะไปต่างอะไรกับการเลือกพรรคหรือบุคคลที่เสียงข้างมากนิยมขณะนั้นได้อย่างไร?
2
ที่สำคัญระบบนี้ยังทำให้ฝ่ายข้างน้อยเองได้ประเมินกำลังกับฝ่ายเสียงข้างมาก ทั้งยังได้แสดงความเห็นแย้งก่อนการขึ้นสู่อำนาจ เสมือนการปรับความคิดให้เข้าใจว่าระบบที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ซึ่งช่วยยุติความวุ่นวายในสงครามชิงบัลลังก์ที่แท้จริง มาเป็นสงครามโต้แย้งอำนาจปกครองบนโต๊ะสนทนา อันทำให้เมื่อได้เลือกพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่แล้ว ปัญหาเรื่องการแย่งชิงอำนาจก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย
3
อนึ่งระบบการคัดเลือกนี้ ยังคงให้สิทธิ์พระราชาพระองค์ก่อนจะได้เลือกรัชทายาทไว้ หรือหากจะไม่ได้เลือกไว้ก็มักจะไล่สายจากพระราชโอรสองค์โตที่เกิดแต่เอกอัครมเหสีเป็นลำดับแรก หากแต่มีเหตุให้เห็นว่าไม่เหมาะสมก็สามารถจะยกเลิกการเลือกรัชทายาทหรือระบบไล่สายสันตติวงศ์นั้นเสียก็ได้ เรียกได้ว่าเป็นระบบที่ยึดไว้บนธรรมนูญที่กำหนดไว้ หากแต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เช่นนี้เองทำให้ปัญหาแย่งชิงอำนาจจึงไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย
2
เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 1 แล้วพระองค์ได้ตั้งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ผู้ปราดเปรื่องในด้านสติปัญญาเป็นรัชทายาท ทั้งคณะที่ประชุมอเนกนิชนสโมสรได้เห็นตรงกันว่าเป็นผู้เหมาะสมที่จะผ่านแผ่นดินเป็นรัชกาลที่ 2 พระองค์จึงได้เข้าพิธีบรมราชาภิเษกเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีสมัยรัชกาลช่วงปี พ.ศ. 2352-2367
2
ในช่วงรัชกาลนี้สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่เป็นปกติสุข ศึกสงครามกับอาณาจักรรอบบ้านยังคงมีอยู่เนื่องๆ แต่พระองค์ก็ได้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทับ ช่วยในราชการสงครามหลายครั้ง ทั้งยังแต่งสำเภาจีนไปจิ้มก่องหรือถวายบรรณาการแด่ราชวงศ์หมิง อังเป็นพี่ใหญ่ของอาณาจักรในแทบเอเชียไกลนี้ ซึ่งพระองค์ได้ส่งเพื่อนชาวจีนไปค้าขาย จนมีกำไรกลับมามหาศาล จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
โดยเมื่อพระองค์ได้สวรรคตลง โดยมิได้เลือกรัชทายาทไว้ คงให้ฝ่ายอเนกนิชนสโมสรได้ใช้สิทธิ์เลือกเจ้านายที่เหมาะสมสู่บัลลังก์ตามสมควร ซึ่งอันที่จริงแล้วหากไล่ตามสายสันตติวงศ์ พระเจ้าลูกยาเธออันประสูติแต่พระอัครมเหสีซึ่งควรมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์นั้นคือเจ้าฟ้ามงกุฎ หากแต่ขณะนั้นพระองค์เองมีพระชนมายุเพียง 18-19 ชันษา ทั้งสถานการณ์บ้านเมืองเองก็ยังเต็มด้วยภัยสงคราม และการค้ากับชาติมหาอำนาจตะวันตกก็เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย อันให้เป็นที่หวาดระแวงว่าจะก่อภัยสู่สยาม ครั้งจะฝากชะตาประเทศไว้กับเด็กหนุ่มเพียงนั้นคงเห็นไม่สมควร ต่างกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ที่มีวัยถึง 37 พระชันษาแล้ว ทั้งได้ผ่านราชการสงครามและการค้าการต่างประเทศมามาก เห็นควรทูลเชิญกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองราชย์สมบัติ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในช่วงปี พ.ศ.2367-2394
1
ว่าด้วยรัชกาลที่ 3 นี้เองที่คนส่วนใหญ่อาจจะเข้าใจว่าพระองค์ได้แย่งราชบัลลังก์จากพระอนุชา ไม่ว่าจะได้เพราะเหตุใดก็ตาม หากแต่อยากให้ได้ศึกษาข้อเท็จจริงต่อไปนี้ แล้วพิจารณาเอาเองเถิดว่าที่จริงแล้วเหตุบ้านการณ์เมืองขณะนั้น มีเหตุผลอะไรที่ทำให้พระองค์ต้องเสด็จผ่านแผ่นดิน
ในรัชสมัยก่อนพระองค์หรือเข้าแผ่นดินพระองค์แล้ว สงครามกับรอบบ้านรอบเมืองก็เกิดขึ้นอยู่เนื่องๆ อย่างเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียนจันทร์ได้ยกทัพบุกมาถึงนครราชสีมา จนท้าวสุรนารีหรือย่าโมได้ยั้งทัพเอาไว้ได้ จำเป็นที่คนจะประคับประคองบ้านเมืองก็ต้องมีวัยวุฒิและคุณวุฒิที่เหมาะสมกับสถานการณ์ช่วงนั้น ทั้งการที่พระองค์ได้ให้เพื่อนชาวจีนเป็นตัวแทนไปค้าขายกับจีน จนได้กำไรเป็นทองคำหนักถึง 4 หมื่นชั่ง ทำจากเหรียญทองของประเทศเม็กซิโก แล้วพระองค์จึงตั้งเพื่อนผู้เป็นตัวแทนค้าเป็นพระยานิกรบดินทร์ และได้นำเงินนั้นมาเก็บใส่ถุงผ้าแดงตามความเชื่อคนจีนว่าสีแดงนั้นขับไล่สิ่งชั่วร้ายได้ แยกเป็นถุงล่ะสิบชั่ง เก็บไว้โดยไม่ใช้จ่ายอันใด และไม่แม้แต่จะพะราชทานแก่พระโอรสของพระองค์เลยแม้แต่แดงเดียว ทรงเก็บไว้จนใกล้สิ้นพระชนม์ก็เรียกขุนนางสนิทมาสั่งเสียว่า เงินนี้ฉันขอกันไว้สัก 1 หมื่นชั่งเพื่อบำรุงวัดที่ฉันสร้างไว้ ส่วนที่เหลืออีก 3 หมื่นชั่ง แม้การศึกสงครามกับพม่าเขมรเห็นว่าจะหมดสิ้นไปแล้ว แต่พวกฝรั่งนี้เองเห็นทีจะไว้ใจไม่ได้ จึงให้เก็บเงินนี้ไว้เพื่อไถ่บ้านไถ่เมืองเถิด
3
แล้วในรัชสมัยของพระองค์เอง ท่านมิเคยตั้งพระสนมองค์ได้เป็นพระมเหสี ทำให้พระราชโอรสที่เกิดแต่พระองค์นั้นล้วนเป็นพระองค์เจ้า ไม่มีเจ้าฟ้าเลยสักพระองค์เดียว ซึ่งหากจะคิดว่ามีสิทธิ์ในการครองราชย์แล้ว แต่ก็ทำให้มีข้อตำหนิเอาได้ ทั้งพระองค์ยังเคยเขียนโองการตำหนิพระโอรสแต่ล่ะพระองค์อย่างเสียหาย ต่างกับพระอนุชาคือเจ้าฟ้ามงกุฎที่ทรงผนวชอยู่นั้น ท่านตำหนิเพียงเล็กน้อย ซ้ำเมื่อพระอนุชาทรงผนวชท่านก็ได้เกิดจิตศรัทธาสร้างวัดให้ใหม่นามว่าวัดบวรนิเวศ อันมีความหมายว่าวัดซึ่งเป็นที่พำนักของกษัตริย์ และพระองค์เองทรงรำพึงเสมอว่าบัลลังก์นี้เป็นของพระอนุชามาโดยตลอด ตัวพระองค์เองมีหน้าที่เพียงมาดูแลเพื่อให้ถึงเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น พระองค์จึงไม่ยอมตั้งองค์รัชทายาทไว้ และให้ที่ประชุมอเนกนิชนสโมสรได้เลือกเจ้านายที่เหมาะสม ซึ่งเวลานั้นเองเจ้าฟ้ามงกุฎพระอนุชาก็ทรงพร้อมสำหรับภาระหนักของบ้านเมืองและเป็นไปตามเจตนาของพระองค์ที่จะถวายคืนราชสมบัติต่อพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์นี้ ดังนั้นท่านที่เคยมีอคติใดต่อการสืบสันตาติวงศ์ในชั้นนี้ ขอให้ได้ทบทวนจากเหตุการณ์เพียงส่วนหนึ่งที่เล่ามา ว่าเจตนาของการรับราชบัลลังก์นี้แท้จริงแล้วเพื่อประสงค์ใด
3
ดังนั้นเมื่อสิ้นรัชกาลแล้วที่ประชุมอเนกชนนิกรสโมสรจึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาพระประยูรวงศ์เชิญเสด็จลาผนวชเพื่อครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน โดยพระองค์มิได้ปฏิเสธแต่ขอให้ทูลเชิญ พระอนุชาคือพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วย เนื่องจากมีชะตาแรงต้องได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินเป็นแน่แท้ ดังนั้นเมื่อท่านได้บรมราชาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงปี พ.ศ. 2394-2411 เจ้าฟ้าจุฑามณีก็ผ่านพิธิขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีศักดิ์และสิทธิ์เสมอด้วยกษัตริย์พระองค์หนึ่งช่วงปี พ.ศ.2394-2408
โดยในรัชกาลนี้ คือปีพ.ศ.2434 พระเจ้าซาร์นิโครัสที่ 2 ขณะดำรงพระยศมกุฎราชกุมารแห่งรัสเซียได้เดินทางมาเยือนสยาม รัชกาลที่ 4 ทรงต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ทั้งยังให้ประทับร่วมห้องกับพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ มกุฎราชกุมารอีกด้วย ซึ่งทำให้ทั้งสองพระองค์มีความสนิทสนมกันเป็นอย่างมาก แม้ภายหลังทั้งสองพระองค์จะขึ้นสู่ตำแหน่งกษัตริย์ก็ตาม
1
เมื่อสิ้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 แล้ว ที่ประชุมอเนกชนนิกรสโมสรได้เลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ รัชทายาทวัยเยาว์ขึ้นครองราชย์ด้วยวัยเพียง 15 ชันษา ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2411-2453 แต่พระองค์เองเป็นผู้มีพระปรีชาสามารถได้ประกอบคุณงามความดีมาโดยเห็นประจักษ์ต่อปวงชนชาวไทยทั่วไป จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้เพราะเชื่อว่าคงทราบกันดี แต่ขอหยิบความเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ที่รัชกาลที่ 3 ทิ้งพระมรดกให้ไว้
1
โดยในปี ร.112 หรือปี 2429 ฝรั่งเศสได้บุกเข้ายึดแขวนคำม่วนของลาว โดยอ้างว่าได้มีจดหมายยกแขวนนี้จากเจ้าลาวล้านช้างแต่เก่าก่อนให้แก่ญวน(เวียดนาม) ซึ่งขณะนั้นเป็นของฝรั่งเศส ดังนั้นแขวนคำม่วนจึงต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย ทำให้เกิดการสู้รบกับทหารไทยที่เห็นว่าล้านช้างนั้นเป็นของสยามมาช้านาน ข้ออ้างขังฝรั่งเศสนั้นไม่ถูกต้อง ฝ่ายฝรั่งเศสได้ยกกองเรือบุกยึดจันทบุรีและตราดตอบโต้ ทั้งยังส่งเรือปืนลุยฝ่าป้อมพระจุลและกองเรือสยามเข้ามาจนถึงสถานทูตฝรั่งเศสในพระนคร แล้วหันป้อมปืนใส่พระบรมมหาราชวัง พร้อมยังขู่ว่าสยามต้องยอมยกดินแดนในเขมร ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหรือดินแดนลาวแก่ฝรั่งเศส และต้องนำเงินมาไถ่ดินแดนเป็นเงิน 3 ล้านฟรัง ใน 48 ชั่วโมง และต้องเป็นสกุลเงินชาติยุโรป อเมริกาหรือเม็กซิโกเท่านั้น มิเช่นนั้นจะระดมยิงปืนใหญ่ใส่พระบรมมหาราชวังและยึดสยามเป็นเมืองขึ้น
รัชกาลที่ 5 ทรงกลุ้มพระทัยมาก เพราะขณะนั้นเงินในท้องพระคลังมีไม่พอ ทางข้าราชการผู้ใหญ่จึงทูลถึงเงินถุงแดงที่รัชกาลที่ 3 สั่งไว้ให้เอาไว้ไถ่บ้านเมือง เห็นทีก็เพื่อการนี้แล้ว จึงได้นำมารวมกับเงินในท้องพระคลังทั้งท้องพระคลังหลวงและท้องพระคลังข้างที่ แต่เงินก็ยังไม่พอ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์จึงร่วมกับขุนนางชั้นสูงรวมเงินให้ได้ตามเวลา จึงเรียกเงินไถ่บ้านเมืองนั้นว่าเงินถุงแดง และขนเงินผ่านถนนหน้าพระบรมมหาราชวังเพื่อจ่ายค่าไถ่แก่ฝรั่งเศส ว่ากันว่าเงินนั้นหนักถึง 21 ตัน ต้องขนกันทั้งวันทั้งคืนจนถนนนั้นสึกเป็นรอยล้อรถเลยทีเดียว กระนั้นเองฝรั่งเศสก็ยังอ้างสิทธิ์ยึดเอาจันทบุรีและตราดไว้เป็นตัวประกันต่อไป อันเหตุการณ์นี้เอง พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ ผู้เป็นแม่ทัพเรือจึงได้สักคำว่า ตราด ร.ศ.112 ไว้ที่อุระของพระองค์เพื่อเตือนใจว่าฝรั่งตาน้ำข้าวหาใช่มิตรที่แท้ของสยาม
1
เรื่องมาถึงตรงนี้ผมขอจบส่วนแรกไว้เพียงเท่านี้ก่อน เพื่อให้ท่านที่สละเวลาอ่านได้คิดและย้ำว่าพระมหากษัตริย์ไทยแต่ละพระองค์ ได้ขึ้นสู่อำนาจเพื่อจะดูแลบ้านเมืองให้รอดปลอดภัย มิได้มีเจตนาหมายมั่นในอำนาจ เพราะจะเห็นได้ว่าแต่ล่ะพระองค์หาได้สนใจว่าพระราชอำนาจนี้ควรตกแก่พระโอรสอันเป็นที่รักแต่อย่างเดียว ทั้งการบำเพ็ญประโยชน์ของแต่ละพระองค์ก็มากมายเหลือคณานับ แล้วหากสะดวกจะได้นำเสนอตอนต่อไปของการสืบสันตาติวงศ์ที่ได้เปลี่ยนระบบไปแล้วจากช่วงต้นรัตนโกสินทร์
โฆษณา