13 ส.ค. 2019 เวลา 09:40 • ธุรกิจ
VeChain คืออะไร? , PTMG analysis, ทุกอย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับ VeChain , สาย Vi วิเคราะห์อย่างไร , ความคิดเห็นจากทาง Bit investment
Project
VeChain Foundation นั้นก่อตั้งขึ้นในปี 2017 ซึ่งเหมือนกับโปรเจคอื่นๆ VeChain Foundation นั้นเป็นองกรณ์ที่ไม่แสวงหาผลกำไร แต่ถึงอย่างไรก็ตามเนื่องด้วยปัญหาทางด้านกฎหมายหรือ Incentive ต่างๆ และเพื่อให้โปรเจคนั้นดำเนินการไปได้ในทุกๆวันและประสบความสำเร็จ
1
ทำให้ VeChain Foundation ก่อตั้ง VeChain Company ขึ้นมาที่ Shanghai ประเทศจีน เป็น Start-up ที่คอยจัดหาทั้ง Services และสร้างงาน เพื่อช่วย VeChain Foundation ในการดำเนินการสร้างโปรเจคให้สำเร็จ (Day-to-day operations ) เช่นเวลามีค่าใช้จ่ายหรืออะไรก็ตามที่ Community ต้องการและเกี่ยวข้องกับการเงินหรือการบริหารทรัพยากร
VeChain Company ก็จะคอยช่วยเหลือในนามของ Community อย่างเช่น VeChainThor Mobile wallet.
ในช่วงนึง VeChain Community ( Global ) นั้นมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาบน Desktop wallet และน้อยคนนักที่จะไปสนใจ Mobile wallet ซึ่งคนที่สนใจในการพัฒนา Mobile wallet นั้นส่วนใหญ่อยุ่ในภูมิภาคเอเซีย โดยเฉพาะในประเทศจีนทำให้ VeChain Company ก้าวเข้ามาช่วยเหลือและพัฒนานั้นเอง
VeChain Company นั้นเป็นบริษัทด้าน BlockChain-as-a- service (“ BaaS”) Platform ได้ออก Product ชื่อ ToolChain
โดย Toolchain นั้นเป็น Blockchain สำหรับองกรณ์ โดยมุ่งเน้นไปที่ ความโปร่งใสในการทำธรุกรรม , ศักยภาพในการร่วมมือและความรวดเร็วในการส่งข้อมูล , การปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับองกรณ์นั้นๆ
โดย VeChain นั้นมุ่งเน้นไปที่หลายๆ อุสหกรรม ตั้งแต่ สินค้าหรูหรา , การเกษตร , Logistic , อาหารและยา โดยใช้ technology ในการแทร็ก และติดตามสินค้าผ่าน Supply chain ร่วมไปถึงวัดคุณภาพสินค้าระหว่างการเดินทาง โดย ToolChian นั้น แบ่งออกเป็น 3 version คือ Standard Version , Developer Version , Partner Version โดยความแตกต่างนั้นก็ขึ้นอยู่กับ Feature ต่างๆ ของแต่ละองกรณ์ สามารถไปฟังข้อแตกต่างได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=ySqt1auPpcA
VeChain นั้น ผสมผสาน Blockchain technology กับ Smart chip ในการแกะรอย ตามติด Lifecycle ของ สินค้า ซึ่ง Smart chip นั้นเองสามารถไปร่วมกับพวก internet of thing ต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในองกรณ์นั้นๆ ท่านผู้อ่านอาจคุ้นในชื่อ smart chip ต่างๆ อย่างเช่น NFC chips , QR codes นั้นเอง
ในเดือน กุมภาพันธ์ 2018 VeChain ได้ rebrand ตัวเองเป็น “ VeChain Thor ” เนื่องจากช่วง ICO นั้น VeChain ได้ออก VEN ซึ่งเป็น ERC20 หมายความว่า VEN นั้น run อยู่บน Ethereme Blockchain แต่เมื่อ VeChain ปล่อย mainnet แล้วนั้นหมายความว่า VeChain จะมี blockchain เป็นของตัวเอง โดยจะมี 2 token นั้นคือ VeChain Tokens ( VET ) และ VeThor tokens (VTHO)
1
VeChain Tokens (VET) : นั้นถูกใช้โดย VeChain foundation ในการทำ Business activities หรือ financial activities บน blockchain ผู้ที่ถือเหรียญจะมีสิทธื์ในการเข้าถึง VeChain blockchain
VeThor Token (VTHO) : สำหรับผู้ถือเหรียญ VET จะได้รับ VTHO ที่สามารถทำให้ใช้ Smart Contracts หรือ สร้าง Application บน Vechain thor Blockchain ได้
2
Competitor
Walton Chain เป็นโปรเจคที่เกี่ยวโยงในด้าน Supply Chain เช่นกันครับ โดยมุ่งเน้นไปตัว RFID technology ( ส่งสัญญาณผ่านทางคลื่นวิทยุ )
สรุปง่ายๆคือ VeChain token นั้นเป็นเหมือน Currency ส่วน VeThor token นั้นเป็นเหมือนนำ้มันที่ใช้สำหรับการทำธุรกรรมนั้นเอง
Team
Sunny Lu ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO เคยเป็นทั้ง CTO และ CIO ให้ Louis Vuitton China ซึ่งนี้อาจเป็นนึงในสาเหตุที่ Sunny Lu นั้นสนใจ Supply Chain กับ Logistic เป็นพิเศษ
Jay Zhang ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CFO มีประสบการณ์บริษัทการเงินชั้นนำมากมายทั้ง Deloitte และ PwC China ( 12 ปี )
ภาพรวม ทีมงานที่เหลือนั้นค่อนข้างมีประสบการณ์ในด้านของตัวเองอย่างดี และผ่านบริษ้ทยักใหญ่แต่ละวงการมาแล้วทั้งสิ้น
Marketing
Medium : Update ทุก announcement อย่างสมำ่เสมอ. 5/5
Reddit : มีการช่วยเหลือ Community อยู่บ่อยๆ. 5/5
twitter : Update ข่าวสาร ตลอด 5/5
Facebook Unofficial group active มาก 5/5
Youtube : มี update video สมำ่เสมอ. 5/5
Goal
ก็ตอนนี้ทาง VeChain นั้นไม่มี Roadmap แล้วน่ะครับ Goal เท่าที่หาเจอคือก็ ต้องการขยาย VeChainThor Ecosystem
และคาดว่าจะเปิดตัว White paper Version 2.0 ในเร็วๆนี้ครับ
ทุกอย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับ VeChain
เริ่มระดุมทุนใน ปี 2017
มี Financial Report ทุก Quarter
ปัจจุบันเริ่มทำการ Buy back Token ขณะที่แอดมินกำลังพิมอยู่ที่ 55 ล้าน VET ที่ถูกซื้อกลับ
สามารถดูจำนวนได้ที่ https://explore.veforge.com/accounts/0xCBb08415335623A838E27d22Ac7FDF8A370AF064
ข้อมูลการ Buy back ครับ
Partnership
เรียกได้ว่าเป็นตัวชูโรงของโปรเจคนี้
VeChain นั้นได้เป็น พาร์ทเนอร์กับ
บริษัทชั้นนำมากมาย อาทิ PwC China , H&M ,DHL
Walmart China โดยเน้นไปด้าน Food safety เช่นแหล่งที่มา , การใช้สารเคมี โดยมีแพลนจะครอบคลุมถึง 100 ชนิดสินค้าภายในปีนี้ ( แค่ scan Qr code ที่อยู่บนตัวสินค้า ก็จะทราบถึง แหล่งที่มา , การปลูก , เก็บผลผลิตวันไหน )
BNW group ที่ VeChain Support ในด้านของ start-up program ที่ผสมผสานการผลิตกับ Blockchain และมีความสัมพันธ์ที่ดีมาตลอด
และผู้นำเข้า Wine เจ้าใหญ่ของประเทศจีนนามว่า “ Shanghai Waigaoqiao Direct Imported Goods Co., Ltd. ” ได้ใช้ NFC ship ที่ถูกตรวจสอบบน VeChainThor
Blockchain ทำให้ลูกค้าสามารถ track ได้ตั้งแต่กระบวนการผลิตถึงวันที่ผลิต บน Wine ยี่ห้อหรูอย่าง Penfolds Bin-407 โดยจากรายงานนั้นทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 10%
โดนล่าสุดทาง CEO ได้มา live AMA ตอบคำถามกับทาง Community แอดมินขอยกคำถามที่น่าใจมาละกันน่ะครับ
Community : อยากทราบความสัมพันธ์ระหว่าง VET / VTHO กับ Use cases ?
CEO : บริษัทต่างๆนั้นจะมุ่งเน้นไปที่ VeChainThor Blockchain เพื่อดำเนินการทางธุรกรรมต่างๆเช่น Tracking แล้วการทำธุรกรรมบน mainnet นั้นจำเป็นต้องใช้ VTHO ตาม Economic model ของเรา. ปัจจุบันจำนวนการใช้ VeChianThor Blockchain โดยลูกค้าของเรานั้น “ เพิ่มขึ้นทุกวัน ” ทำให้ความต้องการ VTHO นั้นเพิ่มขึ้นตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชึ่งนั้นก็จะส่งผลไปถึงราคาของ VET เพราะ VTHO มาจาก VET
2
Community : แล้วบริษัทต่างๆเอา VTHO จากไหน ?
CEO : บริษัทอื่นๆหรือลูกค้าของเรานั้นต้องจ่ายค่าดำเนินการในการ Adopt BlockChain as a service อย่าง ToolChain ซึ่งเงินตรงนั้นก็จะเอามาซื้อ VTHO และ VET ใน Open market ซึ่งค่าจ่ายตรงนั้นก็จะไปเชื่อมกับจำนวนธุรกรรมบน VeChainThor นั้นเอง (หมายความว่า ถ้าจำนวนการทำธุรกรรมเยอะ ค่าใช้จ่ายก็จะเยอะตาม)
สาย Vi วิเคราะห์อย่างไร
สำหรับ VeChain นั้นเป็นโปรเจคที่หน้าสนใจมากในแง่ของการ เอา Blockchain มาใช้กับ องกรณ์อื่นๆอย่างจริงจัง ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นพวกนี้มากนักเพราะ ส่วนใหญ่ บริษักยักใหญ่ต่างๆเลือกที่จะ develop เองอีกประเด็นนึงคือการมี Partnership ที่เป็นบริษัทอย่าง DHL , PWC หรือ Walmart ที่มีการนำ VeChain มาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในองกรณ์
ข้อกังวลหลักๆคือการเพิ่มต้นทุนและกระบวนการของ production process ให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นซึ่งก็ใช่ว่าทุกบริษัทจะต้องการแบบนั้น
แต่ในภาพรวมนั้นลูกค้าก็จะเป็นคนที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดอยู่ดี
ในแง่ของ Long term investment ควรจะพิจารณาถึง Use case และ Future result สืบเนื่องด้วยทีมงานที่ดูแลด้าน Ecosystem ของ Vechain นั้นจะพยายามไม่ให้ ราคาของ VET หรือ VTHO สูงเกินความเป็นจริง เพราะต้องการให้อยู่ใน range ที่ Cost of using Blockchain is affordable เพื่อให้คนที่ต้องการใช้จริงๆสามารถเข้าถึงได้ ปัจจุบันตัวนี้ยังไม่มีใน พอร์ทครับ แต่ถือเป็นตัวที่น่าจับตามองตัวนึงเลย ยังไงอยากให้รอติดตามดูใน White paper 2.0 ที่จะออกมาในเร็วนี้ครับ
2
ความคิดเห็นจากทาง Bit investment
VeChain นี่ถือว่าดีมากในแง่ของการ Focus ใน Industry เฉพาะทาง ไม่สะเปะสะปะ ในกลุ่มที่มี pain point ที่ชัดเจนคือ ธุรกิจขายสุรา (Liquor), สินค้าหรูหรา (Luxury Goods), ยานยนต์ (Auto)
1
ซึ่งสามกลุ่มแรกเป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟีอย
แต่ สินค้าขายปลีก (Retail), อุตสาหกรรมการเกษตร (Agriculture), การขนส่ง (Logistic)
ไม่ชัดเจนว่ามันเป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟื่อยพอที่จะให้ Blockchain มาช่วย Track แล้วเป็นการเพิ่มต้นทุนได้หรือไม่
หรืออาจจะเจาะกลุ่มเฉพาะทาง อันนี้ไม่ชัดเจน
ประเด็นปัญหามันคือกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ ถ้าหากใช้​ VeChain แล้วต้นทุนเพิ่มขึ้น ภาระที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นจะตกไปอยู่กับใคร ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการหรือ รัฐ จะเป็นผู้ที่ช่วยเรื่องของ​ Infrastructure
ในแง่ ของเทคโนโลยี ส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่ประเด็นหลัก โจทย์ชัดเจน ​Value Proposition มี แต่ในแง่ความคุ้มทุน เชิง economy มันคุ้มค่าพอที่จะ​ Run บน Blockchain จริง ๆ ไหม ? ถ้า Focus ที่บางกลุ่มของแต่ละ Segment ก็น่าจะพอได้ ต้องตามในรายละเอียดอีกที และส่วนที่เป็นข่าวของ Walmart ส่วนตัวแล้วถ้า Walmart ใช้แล้วไม่ได้เป็นการเพิ่มต้นทุน น่าจะ​ โอเค แต่ปัญหาคือ แล้วคนถือเหรียญจะได้อะไร เราลองนึกในมุมกลับกันถ้าเราเป็น​ Walmart เราจะเพิ่มต้นทุนเราในเรื่องนี้จริง ๆ หรือไม่ เราเดินไป BigC Lotus เราจำเป็นต้องรู้ข้อมูลการ Track สินค้าจริง ๆ หรือไม่ ถ้าสินค้านั้นไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยจำเพาะ อย่าง Wine เหล้า กระเป๋า Brand Name ซึ่งพวกนี้เอาเข้าจริงๆ Platform อื่นก็ทำได้เช่นกัน
1
By.Crypto Vi man
1
ฝากกด like & Share ให้ด้วยน่ะครับ
โฆษณา