16 ส.ค. 2019 เวลา 23:26 • ความคิดเห็น
พินัยกรรมชีวิตของพระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต
5
พระไพศาล ท่านเกิดวันที่ 10 พฤษภาคม 2500 และได้เขียนพินัยกรรมชีวิตไว้เกือบสี่ปีแล้ว โดยปิดผนึกซองมอบไว้ที่รองเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต และสั่งว่า “ถ้าอาตมาป่วยระยะสุดท้ายให้เปิดผนึกซอง แล้วทำตามที่มอบหมายไว้”
“ระยะท้ายๆ ของชีวิตคนเรา เราควรคิดเรื่องนี้ได้แล้ว ทุกวันนี้คนเป็นทุกข์มาก เพราะไม่ได้เตรียมตัว โดยเฉพาะคนป่วยระยะสุดท้ายที่ไม่ต้องการยื้อชีวิต แม้จะเคยคิดว่าอยากยื้อ แต่โดนยื้อจริงๆมันทรมานมาก”
เมื่อใดก็ตาม ที่ใครก็ตามกลายเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้แล้ว บางคนสื่อสารไม่ได้แล้ว และหมอก็ไม่ได้บอกข้อดีข้อเสียในการรักษาโดยใช้เคร่ื่องมือทางการแพทย์ยื้อชีวิต และส่วนใหญ่กระบวนการตัดสินใจอยู่ที่ญาติพี่น้อง
“เครื่องมือเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ใช้วันเดียว บางคนเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน เป็นปี คนไข้บางคนวิงวอนขอให้ปลด แต่ไม่มีใครกล้าทำ นอกจากนี้ยังมีคนทุกข์อีกกลุ่ม บางคนกู้ยืมเงินมายี่สิบสามสิบล้านเพื่อรักษาพ่อแม่ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้คนที่เรารัก แต่บางทีคนที่เรารักไม่ต้องการ”
การแสดงเจตจำนงหรือทำพินัยกรรมชีวิตไว้ก่อนที่จะป่วยระยะสุดท้าย ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดการทรัพย์สินเงินทองให้ลูกหลาน
พระไพศาล บอกในช่วงเปิดพินัยกรรมชีวิตว่า การแสดงเจตจำนงล่วงหน้า ควรคุยกับลูกหลาน ญาติพี่น้องให้รู้เรื่อง
“เคยเจอกรณีไม่ทำพินัยกรรม แล้วลูกสามคนบอกว่าไม่ยื้อ อีกคนบอกว่ายื้อ คนเดียวก็ชนะ เพราะทำอย่างนั้นจะถูกว่าอกตัญญู เรื่องนี้หมอช่วยได้ ต้องบอกว่า การยื้อหรือไม่ยื้อ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรและยังมีกระบวนการรักษาแบบประคับประคองดูแลกายและใจหรือไม่”
บางกรณีหมอให้คำแนะนำก็ไม่ต้องยื้อ ซึ่งลูกหลานก็ยินยอม เรื่องนี้พระไพศาล บอกว่า หมอจำนวนมากไม่มีความรู้เรื่องการลดความทุกข์ทรมาน รู้แต่ว่า จะใช้ความรู้เทคโนโลยีชั้นสูงยื้อชีวิตให้นานที่สุดได้อย่างไร เพราะเรื่องพื้นฐานหมอส่วนใหญ่ไม่มีจึงต้องไปเรียน
“หมอที่ไปเรียนก็จะรู้ว่า ไม่ต้องยื้อก็ได้ คนไข้ก็ตายสงบได้ และตายอย่างมีคุณภาพด้วย ถ้าได้คุยกับคนไข้ก่อนที่เขาจะป่วยหนักพูดไม่ได้ เพื่อจะได้ทำตามสิ่งที่เขาต้องการ แต่ลูกๆ มักจะเข้าใจว่าวาระสุดท้ายจะต้องทำทุกอย่างให้ร่างกายผู้ป่วยคือ เจาะคอ ล้างไต ใส่ท่อ แล้วคิดว่านี่คือความกตัญญูกับพ่อแม่ในวาระสุดท้าย แต่เราแน่ใจได้ยังไงว่า นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขา”
1
นอกจากนี้ ท่านยังได้ยกตัวอย่างกรณีคนไข้รายหนึ่ง ลูกๆ ของเขาบอกว่าให้ใช้เทคโนโลยีช่วยชีวิตแม่ของเขาเต็มที่เลย
"ตอนนั้นคุณหมอ เล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งมีคนมารายงานว่า มีคนไข้อายุ70ไตวาย และร่างกายแย่ ลูกสาวเขาบอกหมอว่า ถ้าแม่เป็นอะไร ให้ปั้มหัวใจ ไตวายล้างไต ทำทุกอย่าง ทั้งๆ ที่คุณหมออธิบายว่า แม้ล้างไต ก็ไม่ดีขึ้น เพราะอวัยวะย่ำแย่แล้ว โดยบอกว่า คุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่แม่ของคุณต้องการคือความสงบใจ ลูกสามารถทำให้แม่สงบได้ด้วยการพูดให้แม่มีความสุข
ลูกๆ ตาเป็นประกาย เพราะไม่เคยได้ยินสิ่งเหล่านี้จากหมอ พอทำอย่างนั้นไปแล้ว แม่ที่โคม่าตอบสนองดีขึ้น ก็เลยเข้าใจว่าไม่ใช่การยื้อ แต่เป็นการทำให้แม่ใจสงบ สำหรับคนที่ใกล้ตาย สิ่งที่ดีที่สุดไม่ใช่การยื้อหรือการใช้เทคโนโลยีนานาชนิดกับร่างกาย แต่ต้องช่วยให้เขามีความสุขทางใจ และช่วยให้ทางกายมีความทุกข์ทรมานน้อยลง”
อีกเรื่องที่พระไพศาล สรุปให้ฟังคือ ความกตัญญูของลูกที่มีต่อพ่อแม่ อยากมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้
“สิ่งที่ดีที่สุดของเรา อาจเป็นโทษต่อพ่อแม่ของเรา ที่กำลังจะตาย ก็เป็นได้”
เป็นเรื่องปกติ ถ้าไปโรงพยาบาล ก็ได้เห็นผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเป็นผักอยู่ในห้องไอซียู หลายคนมีเครื่องมือการแพทย์ระโยงระยาง และหลายคนถูกใส่ท่อช่วยหายใจ
นั่นใช่ทางเลือกหรือไม่ เมื่อคนเหล่านั้นไม่สามารถสื่อสารได้แล้ว พระไพศาล บอกว่า "อาตมามีความเชื่อว่า แม้คนจะอยู่ในโคม่าหรือเป็นผัก เขารับรู้ได้ อาตมาเชื่อแม้กระทั่งคนที่ตายไปแล้วยังรับรู้ได้ เคยไปเยี่ยมแม่ของเพื่อนที่อยู่ระยะสุดท้าย ตอนนั้นลูกสาวเขาบอกว่า แม่สิ้นลมแล้วตอนที่หมอยังไม่ถอดสัญญาณชีพเครื่องมือต่างๆ อาตมาพูดกับเธอว่า ให้นึกถึงพระรัตนตรัย และให้ละทุกสิ่ง ซึ่งตอนหลังลูกของเขามาบอกว่า ตอนที่อาตมาคุยกับแม่เขา สัญญาณชีพหัวใจยังทำงาน ถ้าไม่ใช่ความบังเอิญ แสดงว่าแม่เขายังรับรู้สิ่งที่อาตมาพูด ดังนั้นเวลาอาตมาไปเยี่ยมคนใกล้ตาย ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพใด ก็จะพูดกับเขาเสมือนเขารับรู้ได้”
ทางทิเบตเชื่อว่า ก่อนที่จิตจะแตกดับใช้เวลาสามวัน ถ้าเป็นอาจารย์ฝึกกรรมฐานก็นานกว่านั้น และการรับรู้เกิดขึ้นได้ แม้หัวใจจะหยุดเต้น ถ้าอย่างนั้น หากเราจะบอกอะไรเขาก็บอกได้ แม้หมอจะประกาศว่าหัวใจหยุดเต้นแล้ว เขายังรับรู้ สามารถได้ยิน เห็น และนี่คือ โอกาสที่เราสามารถทำให้คนที่เรารักแต่สมัยนี้ผ่านไปสองชั่วโมงก็ฉีดยาให้ศพแล้ว มีเพื่อนของเพื่อนป่วยแล้วตาย หลังจากจะฉีดฟอร์มาลีน พอนำเข็มไปจิ้มที่ร่างกาย เท้ากระดิก ปรากฎว่าฟื้น ตอนนี้ยังมีชีวิตอยู่ แต่ปรากฎการณ์นี้ไม่ค่อยเกิดขึ้น เพราะเดี๋ยวนี้เราไม่ปล่อยให้ศพเสื่อมสลายตามธรรมชาติ"
(((เปิดพินัยกรรม)))
พระไพศาล วิสาโล
“เมื่อข้าพเจ้าป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย รักษาไม่หาย ไม่ตอบสนองต่อการรักษา ต้องตายแน่ๆ ไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ ในพินัยกรรมของอาตมา ห้ามกระทำต่อร่างกายอาตมาดังต่อไปนี้
1 ห้ามผ่าตัดใหญ่
2 ห้ามใช้เครื่องช่วยหายใจ หากหายใจด้วยตัวเองไม่ได้แล้ว
3 ห้ามปั๊มหัวใจ หากหัวใจหยุดเต้น
4 ห้ามใช้เทคโนโลยีเพียงเพื่อยื้อชีวิต โดยไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
ในกรณีที่ใช้เครื่องช่วยหายใจกับข้าพเจ้า เนื่องจากแพทย์ไม่ทราบเจตจำนงมาก่อน หากได้ทราบแล้ว ขอให้ถอดเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้ร่างกายของข้าพเจ้าเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ โดยไม่มีการยื้อชีวิต
อาตมาได้ระบุชื่อคนที่จะช่วยตัดสินใจคือ หมอหนึ่งท่าน และฆราวาสสองท่าน ทั้งหมดได้ร่วมการอบรมกับอาตมามานานสิบกว่าปี จะเข้าใจและรับรู้ความคิดด้านนี้พอสมควร
1
การเจ็บป่วยในระยะสุดท้ายของอาตมา ระบุไว้ในสมุดเบาใจ หน้า 5 คือ ไม่เอาการกู้ชีพโดยปั๊มหัวใจ,ไม่เอาการเจาะคอหรือท่อช่วยหายใจผ่านหลอดลม,ไม่เอาการล้างไตเมื่อไตวาย,ไม่เอา การให้อาหารทางสายยางเมื่อไม่ช่วยให้ดีขึ้น และไม่เอายาปฏิชีวนะหรือสารน้ำใดๆ
1
เมื่อตายแล้วอวัยวะและร่างกายของข้าพเจ้า ขอมอบร่างให้สภากาชาดไทย ถ้าไม่สามารถทำได้ ขอมอบร่างกายให้คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้ประโยชน์ทางการศึกษาและวิจัย
และขอให้ปลงศพที่วัดป่าสุคะโต สวดสามวัน แล้วเผา จะเผาวันไหนให้ประกาศล่วงหน้าเพียงหนึ่งวัน เพื่อไม่เป็นภาระของญาติโยมในการเดินทางมางานเผาศพ
แล้วให้บรรจุอัฐไว้ที่ลานหินโค้ง วัดป่าสุคะโต ใกล้ๆ กับหลวงพ่อคำเขียน หลวงพ่อเทียน อาจารย์กำพล และเพื่อนๆ อีกหลายท่าน
ส่วนอังคารให้โปรยในป่าภูหลง เพราะอาตมาเคยค้างแรมระหว่างรักษาป่า เพื่อให้อัฐิคืนสู่ธรรมชาติ อาจป้องปรามว่า มีอัฐิของอาตมาอยู่ตรงนั้น พร้อมจะมาหลอกหลอนได้ทุกเมื่อ หากใครตัดไม้ทำลายป่า”
7
หลวงพี่มีความอาลัยอาวรณ์ชีวิตไหม
พระไพศาล : ไม่ได้มีความรู้สึกแบบนั้น พร้อมตายได้ทุกเมื่อ เรื่องอาลัยอาวรณ์ คงไม่เกิดกับตัวเอง เพราะซ้อมตายอยู่เสมอ และชีวิตที่ผ่านมา ได้ใช้คุ้มค่า อาตมาคิดว่า ช่วง40 ปีหลังที่ใช้ชีวิต ถือว่ากำไรแล้ว
ควรใช้ชีวิตยังไง เพื่อที่จะไม่กังวลต่อความตาย
1 พยายามทำความดี ละเว้นความชั่ว เพราะความดีจะทำให้เราภูมิใจกับชีวิต ไม่ต้องกลัวว่าตายแล้วไปไหน ถ้าเราทำความดีพอ ไม่จำเป็นต้องยื้อชีวิตแล้ว เพราะได้ทำความดีพอสมควร และเต็มใจที่จะตาย
2
2 ทำหน้าที่ที่เราควรทำครบถ้วนกับคนที่เรารัก กับสังคมและประเทศชาติ แล้วเราก็จะไม่เสียใจ และเราต้องฝึกปล่อยวางตั้งแต่วันนี้
1
เราเกลียดใคร เราจะนึกถึงคนนั้นมาก เราจำคนที่แกล้งเรา ทรมานเรา ทำไมต้องจำ ความโกรธ จะเผารนเรา ทำไมต้องยึด ทำไมไม่รู้จักปล่อย ฝึกปล่อยตั้งแต่วันนี้ ต้องเจริญสติ การเจริญสติจะช่วยเรา ความปวดที่เจ็บหนัก ทุกข์เวทนาทางกาย จะทำให้เราเป็นทุกข์ แต่ถ้าเรามีสติ เราก็สามารถอยู่กับความเจ็บปวดความทุกข์กายได้ เพราะสติ ช่วยทำให้หลุดจากทุกขเวทนา ทำให้เรารู้ทันความโกรธ ความเกลียด ความอึดอัดขัดใจ
1
ความเจ็บทางกายไม่สำคัญเท่าความเจ็บทางใจที่ทำให้เราทุกข์ใจ กายปวด ก็ปวดไป แต่ใจสงบรู้ทันและวางลง การเจริญสติทำให้เราประคองใจให้เป็นปกติได้ และสุขใจได้เมื่อความตายใกล้เข้ามา การปฏิบัติธรรม ก็เพื่อการปล่อยวาง ปวดกายแต่ใจไม่ปวด ทำให้วันตายเป็นสุขได้
เช้ามารู้สึกปลงอารมย์นิ่งๆ
เลยคัดลอกบางช่วงบางตอน
ของพินัยกรรม หลวงพ่อ
พระพิศาล วิสาโล พระนักปฏิบัติ
นักอนุรักษ์ ที่น่านับถือ รูปหนึ่ง
สุดท้าย ก่อนออกจากห้องพระ
ขอให้ทุกท่าน มีความสุขในชีวิต
โฆษณา