17 ส.ค. 2019 เวลา 01:26 • ประวัติศาสตร์
สงครามอัจฉริยะ (จ๊อบส์ปะทะเกตส์)
เนื้อหายาวไป มีคลิปเสียงเล่าให้ฟังนะครับ
ในช่วงก่อนทศวรรษที่ 70 ยังไม่มีใครให้ความสนใจ กับเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาก่อน จนกระทั่ง ในปี 1974 บริษัทคอมพิวเตอร์ในนิวเม็กซิโก เปิดตัวคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ชื่อ“อัลแตร์ 8800 (Altair 8800)” ซึ่งมีขนาดเล็กลงและพอที่จะใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไปได้ แต่ปัญหาสำคัญของ “อัลแตร์” ก็คือ มันก็ยังใช้งานยากอยู่ดี
ต่อมามีนักศึกษาสองคน ของ “มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด” ชื่อ “พอล อัลเลน” และ “บิล เกตส์” มองเห็นถึงความบกพร่อง และสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยเกตส์และอัลเลน ใช้วิธีการเจาะรูลงบนแผ่นกระดาษ ในลักษณะที่เป็นรูปแบบคำสั่ง ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมในยุคเริ่มแรก และเพื่อพิสูจน์ว่าสามารถใช้งานได้จริง เกตส์และอัลเลน จึงได้นำเสนอการใช้งานนี้กับผู้ผลิต “เครื่องอัลแตร์” โดยตรง
กับความสำเร็จในครั้งนี้ เกตส์และอัลเลน สามารถขายโปรแกรมซอฟต์แวร์แรก ได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาเพียงแค่อายุ 19 ปี “บิล เกตส์” ตัดสินใจพักการเรียนที่ “ฮาร์วาร์ด” และก่อตั้งบริษัทร่วมกับ “พอล อัลเลน” ในรัฐนิวเม็กซิโก โดยพวกเขาเรียกบริษัทนี้ว่า “ไมโครซอฟต์”
1
และที่ซานฟรานซิลโก แคลิฟอร์เนีย ปี 1978 มีชายอีกคน ซึ่งเป็นเพียงแค่นักศึกษาที่ถูกพักการเรียน
โดยเขาและเพื่อน มีความคิดที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ง่ายขึ้น เขาคือ “สตีฟ จ็อบส์” และ “สตีฟ วอซเนียก” นักคอมพิวเตอร์มือสมัครเล่น
ซึ่งเขาทั้งสองมาพร้อมกับความคิดที่ก้าวกระโดด โดย”วอซเนียก” สร้างคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลขนาดเล็ก คล้ายกับ “อัลแตร์” แต่ “วอซเนียก” ได้เพิ่มอุปกรณ์เข้าไปอีกสองชิ้น คือ “จอภาพและคีย์บอร์ด” โดยแทนที่จะใช้วิธี การเจาะโค้ดรหัสลงบนแผ่นกระดาษ ตัวโปรแกรมของ “สตีฟ วอชเนียก” สามารถเขียนโดยใช้แป้นพิมพ์เหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีด แล้วไปปรากฏที่หน้าจอแทน
1
กับความทะเยอทะยานที่เพิ่งเกิดขึ้น เพียงแค่ในโรงจอดรถที่แคลิฟอร์เนีย “จ็อบส์และวอซเนียก" ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีหน่วย ความจำมากกว่า “เครื่องอัลแตร์” ถึง 16 เท่า และเพื่อสามารถขายคอมพิวเตอร์ได้ “จ็อบส์และวอซเนียก” ได้ก่อตั้งบริษัท ในชื่อที่แสนเรียบง่ายว่า “แอปเปิล” (Apple) และคอมพิวเตอร์รุ่นแรกของ บริษัท แอปเปิล ก็คือ “แอปเปิล วัน”
1
แม้ว่าจะเพิ่มจอภาพและคีย์บอร์ดเข้าไป แต่แอปเปิลวัน กลับล้มเหลวไม่เป็นท่า สตีฟ จ็อบส์สามารถขาย แอปเปิลวัน ได้เพียงแค่ 200 เครื่องเท่านั้น แต่ "จ็อปส์”และ”วอชเนียก” ก็ยังไม่ถอดใจ ในขณะที่ “วอชเนียก” กำลังคิดพัฒนาทำให้คอมพิวเตอร์นั้น ทำงานได้เร็วขึ้น “จ็อบส์” กลับคิดว่า ต้องทำให้ตัวคอมพิวเตอร์ดูมีเสน่ห์น่าดึงดูดมากขึ้น และไม่ใช่แค่กับนักคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่หมายถึงกับทุกๆคน
“สตีฟ จ็อบส์” เริ่มจินตนาการถึง คอมพิวเตอร์ที่ รวมอุปกรณ์ที่จำเป็นเข้าไว้ด้วยกัน และง่ายต่อการใช้งาน โดย จ็อบส์ ออกแบบและเปลี่ยนแปลงคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งหมด ให้มีความสวยงามและน่าใช้งาน เมื่อทุก อย่างสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว พวกเขาจึงเรียกมันว่า “ดิ แอปเปิลทู” (Apple 2)
ในเดือนมิถุนายน ปี 1977 “ดิ แอปเปิลทู”(Apple 2) ออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ ไม่มีใครเคยเห็นมากก่อน
กับการออกแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน ภายในเวลาไม่ถึงปี “ดิ แอปเปิลทู”(Apple 2) สามารถทำเงินให้กับบริษัทได้ถึง แปดล้านดอลลาร์ และเมื่อแอปเปิลสามารถตีตลาดคอมพิวเตอร์ได้เป็นครั้งแรกได้ “บิล เกตส์” กลับพบว่า เขาสามารถหาประโยชน์จาก “ดิ แอปเปิลทู”(Apple 2)ให้กับ ไมโครซอฟต์ได้
ซึ่งแม้ว่า “ดิ แอปเปิลทู”(Apple 2) จะสมบูรณ์แบบสำหรับลูกค้าทั่วไป แต่กลับไม่สามารถใช้งานรูปแบธุรกิจได้ เกตส์และวิศวกรจึงพัฒนาซอฟต์การ์ด และแผงวงจรต่างๆ ของ “ดิ แอปเปิลทู”(Apple 2) ให้สามารถรองรับใช้งานในเชิงธุรกิจได้
ปี 1980 ไมโครซอฟต์ สามารถขายซอฟต์การ์ดให้กับผู้ใช้งาน “ดิ แอปเปิลทู”(Apple 2) และบริษัทไมโครซอฟต์สามารถเพิ่มยอดขายได้ถึงสามเท่า และในขณะนั้น “บิล เกตส์” ก็ได้มองเข้าผ่าน “สตีฟ จ็อบส์” ไปแล้ว เป้าหมายต่อไป กับการสร้างความยิ่งใหญ่ในวงการเทคโนโลยี ก็เขาคือ “ไอบีเอ็ม”(IBM)
ซึ่งกว่าทศวรรษ ไอบีเอ็ม ได้ยึดอำนาจในวงการธุรกิจด้านเทคโนโลยี และตอนนี้ ไอบีเอ็ม ก็อยากจะหันมาจับตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เกตส์จึงทำข้อตกลงกับไอบีเอ็ม ว่าจะผลิตระบบปฎิบัติการให้ ทั้งๆ ที่บริษัทไมโครซอฟต์ ยังไม่ได้ทำระบบปฎิบัติการนี้ ขึ้นมาเลยก็ตาม แต่ “บิล เกตส์” รู้ว่าจะหามันได้จากที่ไหน
บิล เกตส์ซื้อระบบปฏิบัติการที่พัฒนาสำเร็จแล้ว จากบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก แล้วนำมาตั้งชื่อใหม่ว่า “ไมโครซอฟต์ดอส” (MS DOS) โดย “บิล เกตส์” เสนอเป็นผู้รับสิทธิ์ในการขาย “ไมโครซอฟต์ดอส” เอง ดังนั้น บ.ไมโครซอฟต์ จึงมีสิทธิ์ที่ จะขายระบบปฏิบัติการนี้ ให้กับบริษัทไหนก็ได้ บนโลกใบนี้ ซึ่งในตอนนั้น “ไอบีเอ็ม” เอง ก็คงไม่คาดคิดว่า ระบบปฏิบัติการนี้ จะไปได้ถึงขนาดไหน
1
ต่อมา “ไมโครซอฟต์ดอส” สามารถทำเงินให้กับ บ.ไมโครซอฟต์ ได้มาก จนกลายเป็นบริษัทที่ร่ำรวยมหาศาล และกับความสำเร็จของไมโครซอฟต์ “สตีฟ จ็อบส์” เฝ้ามองการยึดครองตลาดคอมพิวเตอร์ของ “บิล เกตส์” และการที่ไมโครซอฟต์เป็นพันธมิตรกับ “ไอบีเอ็ม” นั้น จะทำให้ “บิล เกตส์” สามารถยึดครองตลาดส่วนใหญ่ไปได้ทั้งหมด และเพื่อความอยู่รอดของแอปเปิล “สตีฟ จ็อบส์” จึงต้องหาสิ่งใหม่เข้ามาสู้
และแล้ว “ซีรอกซ์ปาร์ก เซนเตอร์” ก็ให้ในสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบกับ "สตีฟ จ็อบส์” ซึ่งในศูนย์วิจัยของซีรอกซ์นั้น มีระบบข้อมูล ที่ชื่อว่า “ซีรอกซ์ 8010” สิ่งที่ซีรอกซ์เห็นว่า เป็นเพียงแค่การทดลอง “จ็อบส์” กลับมองเห็นโอกาส ในสิ่งที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงวงการคอมพิวเตอร์ได้
“สตีฟ จ็อบส์” จึงดึงแนวคิดของซีรอกซ์ มาเพื่อพัฒนา เปลี่ยนให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ ในชื่อที่เรียกว่า “แมคอินทอช” และเพื่อที่จะทุ่มเทให้กับ “แมคอินทอช” มากขึ้น “สตีฟ จ็อบส์” จึงจำเป็นต้องหาผู้นำที่เชื่อถือได้มาช่วยดูแล แอปเปิล และในปี 1983 อดีตผู้บริหารของเป๊ปซี่ “จอห์น สกัลลีย์” เข้ามาเป็น ซีอีโอ ใหม่ของแอปเปิล แทน
ต่อมาในช่วงที่ “แมคอินทอช” ใกล้จะเสร็จ “สตีฟ จ็อบส์”ต้องการให้ “แมคอินทอช” สมบูรณ์แบบมากที่สุด จึงคิดที่จะใช้ ซอฟต์แวร์ของ ไมโครซอฟต์ ในแนวคิดเดียวกันกับที่ “บิล เกตส์”ใช้พัฒนากับ “ดิ แอปเปิลทู”(Apple 2) เข้ามาช่วย
”บิล เกตส์” ถึงกับตะลึงเมื่อได้เห็นนวัตกรรมใหม่ของ“สตีฟ จ็อบส์” และ “เกตส์” เอง ก็เห็นถึงความล้าหลังของตัวเอง เมื่อเทียบกับ “จ็อบส์” เขาและไมโครซอฟต์ จึงต้องเร่งพัฒนาเพื่อเอาชนะ แอปเปิล เกตส์และทีมงานเริ่มต้นสร้างการใช้ภาพเป็นตัวประสานกับผู้ใช้งาน ในรูปแบบเดียว กับ “แมคอินทอช” โดยพวกเขาเรียกมันว่า “อินเตอร์เฟช เมเนเจอร์” แต่ต่อมาในปี 1983 จึงสรุปได้เป็นอีกชื่อหนึ่งว่า “ไมโครซอฟต์ วินโดวส์”
โดยในเวลาอีกไม่กี่สัปดาห์ที่จะเปิดตัว “แมคอินทอช” คำว่า “ไมโครซอฟต์ วินโดวส์” ก็มาถึงหูของ “สตีฟ จ็อบส์” ซึ่งหลังจากทุ่มเทเวลาหลายปี กับการพัฒนา “แมคอินทอช” คนที่ ”จ็อบส์” คิดว่าเป็นพันธมิตรนั้น กลับเป็นคนที่ประกาศสงครามกับเขาเอง
10 พฤศจิกายน 1983 ณโรงแรมเดอะพลาซ่า นิวยอร์ก “บิล เกตส์” เปิดตัว “ไมโครซอฟต์ วินโดวส์” ทำให้ความฝันของ “สตีฟ จ็อบส์” ถูกปล้นชิงไปต่อหน้าต่อตา ซึ่งในขณะนั้น “จ็อบส์” เองก็สามารถพัฒนา “แมคอินทอช” เสร็จเรียบร้อยแล้วเช่นกัน
24 มกราคม 1984 ณ เมืองคูเปอร์ติโน รัฐแคลิฟอร์เนีย “สตีฟ จ็อบส์” เปิดตัว “แมคอินทอช” ต่อหน้าสาธารณะชน ถึงแม้ “แมคอินทอช” จะเต็มไปด้วยความสวยงามที่ผสมผลานกับความรู้สึก แต่สำหรับยอดขาย กลับขายได้เพียงแค่ 500 เครื่องต่อเดือนเท่านั้น มีผลทำให้ราคาหุ้นของบริษัท แอปเปิล ตกลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และ “สตีฟ จ็อบส์” ถูกสั่งปลดจากบอร์ดบริหารของบริษัท ที่เขาเป็นคนก่อตั้งขึ้นมา
ในขณะที่คู่แข่งอย่าง “บิล เกตส์” สร้างไมโครซอฟต์ให้กลายเป็นอาณาจักร และเอ็มเอสดอส (MS Dos) ก็กลายเป็นระบบปฎิบัติการขั้นพื้นฐาน บนคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่อง ต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1985 “บิล เกตส์” เปิดตัวไมโครซอฟต์ วินโดวส์” ออกสู่ชาวโลก และในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 คอมพิวเตอร์ทั่วโลกกว่า 80 % ใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ ทำให้ “บิล เกตส์” กลายเป็นเศรษฐีที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก แต่ “บิต เกตส์” ต้องการไปให้ไกลกว่านั้น ไมโครซอฟต์จึงเริ่มใส่โปรแกรมเพิ่มเติม
โดยทุกคนที่ซื้อคอมพิวเตอร์จะได้รับโปรแกรมสเปรดซีต ก็คือ “เวิร์ด โปรเซสเซอร์” และโปรแกรมอื่นๆ ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตาม ทำให้ไมโครซอฟต์สามารถผูกขาดตลาด ในวงการคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด
ต่อมาช่วงกลางทศวรรษที่ 90 ยุทธวิธีของไมโคซอฟต์ เริ่มส่งผลกระทบ บริษัทคู่แข่งต่างโจมตีไมโครซอฟต์ถึงการผูกขาดตลาด นำไปสู่การสีบสวนของกระทรวงยุติธรรม กับกลยุทธ์ทางธุรกิจของไมโครซอฟต์
และในขณะที่ บิล เกตส์ กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาทางด้านกฎหมาย บริษัทอย่าง แอปเปิล ก็ไม่ได้ก้าวไปถึงไหน โดยแอปเปิลนั้น มีเพียงแค่การผลิตสินค้าแบบเดิมๆเท่านั้น ซึ่งในช่วงที่ วินโดวส์ ครอบครองตลาดอยู่นั้น แอปเปิล มีส่วนแบ่งตลาดเพียงแค่สี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และเมื่อถึงปี 1996 แอปเปิลขาดทุนมากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์ จนต้องเปลี่ยน ซีอีโอ หลายต่อหลายครั้ง และอีกในไม่ช้า แอปเปิลคงต้องล้มละลายแน่
หลังจาก 12 ปี กับการที่ไล่ “สตีฟ จ็อบส์” ออกไป ผู้บริหารจึงขอร้องให้เขากลับมาอีกครั้ง แต่ก่อนที่ “จ็อบส์” จะเริ่มสร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับแอบเปิล “สตีฟ จ็อบส์” จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนอย่างเร่งด่วน เขาจึงตัดสินใจหันหน้าไปหาคนๆ หนึ่ง ที่รู้จักกันมานาน
“สตีฟ จ็อบส์” เสนอเงื่อนไขให้ “บิล เกตส์” ช่วยเป็นแหล่งเงินทุน แลกกับการได้เป็นผู้ชนะไปตลอด ซึ่งเกตส์เองนั้น ก็ไม่อยากเห็นแอปเปิลหายไปจากตลาดด้วยเช่นกัน เพราะถ้าหากไม่มีคู่แข่งในตลาดแล้ว ไมโครซอฟต์ก็จะกลายเป็นผู้ผูกขาดตลาดไป ซึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ “บิล เกตส์” จึงตัดสินใจร่วมลงทุนกับแอปเปิลเป็นเงินถึง 150 ล้านดอลลาร์
ต่อมา “สตีฟ จ็อบส์” เปิดตัว “แมคโอเอส” (Mac OS) จ็อบส์ได้กล่าวขอบคุณสำหรับ ผู้สบับสนุนเงินทุนในครั้งนี้ ผ่านสัญญาณดาวเทียม หุ้นส่วนคนสำคัญนั้น ก็คือ “บิล เกตส์” และในวินาทีประวัติศาสตร์นั้น “สตีฟ จ็อบส์” นำ “บิล เกตส์” ขึ้นมาบนจอภาพ เหล่าสาวก “แมคอินทอช” ต่างโห่ไล่เขา ซึ่งทุกคนในนั้นไม่ชอบวินโดวส์ ไม่ชอบพีซี และไม่ชอบบิล เกตส์
ในปี 2001 สตีฟ จ็อบส์ ที่กำลังพาโลกให้ไปไกลกว่าคอมพิวเตอร์ “จ็อบส์” สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบใหม่อย่าง “ดิ ไอพอด”( The iPod) ขึ้นมา โดยการรวมเพลงมากกว่าที่เคยรวมได้ ไว้ในเครื่องเดียว แต่ “จ็อบส์” นั้น ก็ยังไม่พอใจ โดยเขาพูดว่า “หากต่อไปมีคนฉลาด ที่สามารถนำสิ่งนี้ใส่เข้าไปในโทรศัพท์มือถือได้ เราก็คงต้องถูกทิ้ง” และต่อมากับแนวความคิดที่ว่า “เราจะสามารถพกพาสุดยอดคอมพิวเตอร์ ไปกับตัวเราได้ทุกที่ และเชื่อมโลกทั้งใบเข้าด้วยกันไว้ในฝ่ามือ” “สตีฟ จ็อบส์” สามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ที่เปลี่ยนแปลง โลกไปตลอดกาล
ในปี 2007 กลุ่มแฟนคลับต่างยืนต่อแถว นานกว่าร้อยชั่วโมง เพื่อซื้อสิ่งที่เรียกว่า “ดิ ไอโฟน”(The iPhone) และกับสิ่งนี้ ต่อมาทำให้แอปเปิลกลายเป็น หนึ่งในบริษัทที่มีผลกำไรมากที่สุดในโลก
ซึ่งในขณะที่ผลงานของ สตีฟ จ็อบส์ กำลังพุ่งทะยานอยู่นั้น บิล เกตส์ ต้องเจอกับปัญหาด้านภาพ ลักษณ์เป็นอย่างมาก และเพื่อการทำให้ภาพลักษณ์ดีขึ้น “บิล เกตส์” จึงนำเงินจำนวนมหาศาสของเขา ก่อตั้งมูลนิธิส่วนบุคคลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในชื่อที่ว่า “มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์” เกตส์มอบเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ให้กับการกุศล ต่อต้านและสู้กับโรคร้ายต่างๆ เพื่อให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น
และหลายปีที่ สตีฟ จ็อบส์ ปิดข่าวกับการป่วยของเขา ต่อมาในปี 2011 สตีฟ จ็อบส์ จึงลาออกจากตำแหน่ง ซีอีโอ ของแอปเปิล ด้วยปัญหาด้านสุขภาพ และไม่นานจากนั้น สตีฟ จ็อบส์ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ที่เปลี่ยนแปลง โลก จากไปด้วยโรคมะเร็งในตับอ่อน
ความสัมพันธ์ระหว่างสตีฟ จ็อบส์ และบิล เกตส์ นั้น ช่างซับซ้อนมากยิ่งนัก บางครั้งเป็นเหมือนกับเพื่อน และบางครั้งก็เหมือนเป็นคู่แข่ง พวกเขานั้นต่างก็ร้ายใส่กัน และก็หันกลับมาคืนดีกัน แต่สุดท้ายแล้ว อาจกล่าวได้ว่า เขาทั้งสองก็คือ อัจฉริยะที่สร้างโลกใหม่ ด้วยเทคโนโลยีอย่างแท้จริง
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา