18 ส.ค. 2019 เวลา 08:13 • การศึกษา
การทำเว็บไซต์ ตอนที่ 1
สมัยก่อนย้อนหลังไปประมาณยี่สิบกว่าปีที่แล้ว การสร้างเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร สำหรับหลายๆ คน ถึงขั้นต้องออกแบบหน้าเว็บบนกระดาษก่อนแล้วค่อยลงมือทำกันเลยทีเดียว (คล้ายๆ กับการทำ Story Board ก่อนจะลงมือถ่ายทำรายการ ถ่ายทำคลิปวิดีโอ)
ซึ่งภาษาที่ใช้ก็จะเป็นภาษา html (Hypertext Markup Language) จำเป็นจะต้องมีการจดจำคำสั่งต่างๆ (ยุ่งยากพอสมควร) บางคนก็ไม่ชอบเอาซะเลย ในสมัยก่อนบางคนที่เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ อาจารย์ก็จะบังคับให้ทำเว็บไซต์ 1 เว็บไซต์เป็นการส่งงาน ซึ่งถือเรื่องปวดหัวสำหรับบางคน ถึงกับต้องจ้างทำกันเลยทีเดียว (ผู้เขียนเคยรับทำให้สมัยก่อน) มีการพัฒนาโดยนำโปรแกรมที่ช่วยในการสร้างเว็บไซต์ อย่างเช่น Adobe Golive (มีปัญหากับภาษาไทยและไม่มีการพัฒนาแล้ว), Macromedia Dreamweaver (ปัจจุบันเป็นของค่าย Adobe) สำหรับโปรแกรมประเภทนี้ถือเป็นโปรแกรมสร้างเว็บไซต์แบบเสมือนจริง ไม่ต้องเขียนภาษา HTML เอง หรือที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า "WYSIWYG " (What You See Is What You Get) แต่ก็ยังยุ่งยากอยู่ดีต้องหาโปรแกรม, ต้องมีความรู้พื้นฐานของภาษา html บ้าง, การจัดวางรูปแบบก็ค่อนข้างยุ่งยากต้องคอยสร้างตารางแล้วค่อยนำ Content ไปวางในตำแหน่งต่างๆ
เอาหล่ะ!!! อันนี้ก็เป็นคร่าวๆ สำหรับการแนะนำการสร้างเว็บไซต์สมัยก่อน คราวนี้เรามาดูในปัจจุบันกันบ้าง ปัจจุบันการสร้างเว็บไซต์ถือเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเว็บไซต์สำเร็จรูป หรือกึ่งสำเร็จรูปได้เลยทีเดียว โดยจะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน
แบบที่ 1 คือ ทำผ่านเว็บไซต์ผู้ให้บริการได้เลย ซึ่งจะมีทั้งฟรีและเสียเงิน เช่น lnwshop, makewebeasy, weebly, แม้แต่ใน google เอง ก็มี App ที่สามารถสร้างเว็บไซต์ได้เองแถมฟรีอีกต่างหาก (จะกล่าวในบทความต่อๆ ไป) และยังมีอีกเยอะแยะมากมายให้เลือกใช้กันลองค้นหาใน Google ได้เลยครับ
แบบที่ 2 คือ ผ่านโปรแกรมประเภท CMS (Content Management System) เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยใช้ภาษา php (Hypertext Preprocessor หรือเดิมคือ Personal Home Page Tools เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์) สำหรับแบบนี้ส่วนมากตัวโปรแกรมจะสามารถดาวน์โหลดฟรี มาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเซิร์พเวอร์ ของเรา และปรับแต่งเอง สามารถเลือกใช้ Template (หรือรูปแบบของเว็บไซต์มีทั้งฟรีและเสียเงิน), Extensions (ส่วนเพิ่มขยาย มีทั้งฟรีและเสียเงิน เช่นกัน) และปรับแต่งส่วนต่างๆ เช่น เนื้อหา, รูปภาพ, คอมโพเน้นท์, โมดูล และอื่นๆ CMS มีหลายโปรแกรมถูกคิดค้นจากโปรแกรมเมอร์หลายๆ คน อาจจะเพราะเป็นแบบโอเพ่นซอร์ส (ฟรีและพัฒนาเองได้ด้วย) โปรแกรมเมอร์บางคนอาจพัฒนาส่วนเพิ่มขาย (Extensions) เพื่อขายก็มีเช่นกัน โดย CMS ที่นิยมใช้กัน เช่น Wordpress, Joomla, Drupal โดยเฉพาะ Wordpress มีผู้ใช้มากกว่า 50% ของเว็บไซต์ทั่วโลก
บทความนี้เอาไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวตอนต่อไปจะค่อยๆ เขียนมาลงเรื่อยๆ ครับ ฝากเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ
โฆษณา