24 ส.ค. 2019 เวลา 01:30 • ธุรกิจ
ทำไมถึงต้องแตกต่าง? (Brand Differentiation)
1
การสร้างความแตกต่างคืออะไร
.
เป็นหนึ่งในกลยุทธ์เน้นสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการ เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่งขัน ทำให้ตลาดเป้าหมายได้รับรู้ถึงความเหนือกว่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีต่อคู่แข่ง
ปัจจัยสร้างความแตกต่าง
.
เจ้าของกิจการสามารถสร้างความได้เปรียบในทางแข่งขันได้ 5 แนวทาง โดยผ่านปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ผลิตภัณฑ์ (Product) เช่น ความแตกต่างด้านรูปแบบ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่โดดเด่น ความคงทน ความน่าเชื่อถือ สะดวกในการบริการซ่อมแซมสินค้า รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ยากที่จะลอกเลียนแบบ
2. บริการ (Service) เช่น สร้างความสะดวกต่อลูกค้าในการสั่งสินค้า (Ordering ease) การส่งสินค้า (Delivery) การติดตั้ง (Installation) การฝึกอบรมลูกค้า (Customer training) การบริการให้คำปรึกษาลูกค้า (Customer Consulting) การซ่อมแซม (Maintenance and repair) และการรับคืนสินค้า (Return)
3. บุคลากร (Personnel) เจ้าของกิจการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพดีกว่าคู่แข่งขัน โดยมุ่งเน้นให้พนักงานพัฒนาในด้านความสามารถ ความสุขภาพ นอบน้อม แสดงความเป็นมิตร ความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ ให้บริการลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ และถูกต้อง รวมถึงการตอบคำร้องขอและการแก้ปัญหาข้อร้องเรียนของลูกค้าได้ดี
4. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel) ก็คือ การสร้างความแตกต่างด้านเวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อ เช่น ร้านของคุณจะสามารถส่งของถึงมือลูกค้าได้ภายใน 30 นาที หรือแม้แต่การมีโปรโมชั่นเรื่องการจัดส่ง เช่น ส่งฟรี หรือแม้แต่ความแน่นอนของสินค้า เช่น สั่งสินค้าจากร้านเรา ไม่มีส่งของผิด กล้ารับประกัน
5. ภาพลักษณ์ (Image) เช่น การสร้างความแตกต่างของตราสินค้า สัญลักษณ์ อาจจะเน้นการขายภาพลักษณ์ที่ดีอย่างรถสปอร์ต กระเป๋าแบรนด์เนม
https://images.app.goo.gl/is71Z5bDsDnJooKa9
กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง
.
“Michael E. Porter” ผู้เชี่ยวด้านกลยุทธ์ธุรกิจ ชี้ถึงการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ด้วยกลยุทธ์ 3 ข้อ คือ​
1. กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างที่ตัวสินค้า/บริการ (Differentiation) สินค้าที่จะโดดเด่นท่ามกลางสินค้านับร้อย ซึ่งความแตกต่างสามารถสร้างคุณค่าให้กับสินค้าของคุณได้
2. กลยุทธ์การบริหารจัดการต้นทุนให้ต่ำที่สุด (Cost Leadership) หากกิจการสามารถบริหารต้นทุนให้ต่ำได้ ย่อมมีความได้เปรียบในการกำหนดราคาให้ถูกกว่าคู่แข่ง
3. กลยุทธ์การตลาดแบบเจาะจง การมุ่งเน้นขายสินค้า/บริการไปยังกลุ่มตลาดที่เฉพาะเจาะจง (Niche Market) ไม่ได้เน้นกลุ่มลูกค้าแบบ (Mass Market)
กรณีศึกษาของเป๊ปซี่
3
เป๊ปซี่ถือว่าเป็นคู่แข่งตัวฉกาจตลอดกาลของโค้กไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย ทำให้เป๊ปซี่จึงต้องหันมาใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างที่ตัวสินค้า/บริการ (Differentiation) เพื่อต่อสู้กับโค้ก
.
โค้กนั้นเกิดมาตั้งแต่ปี 1886 ในขณะที่เป๊ปซี่นั้นก่อตั้งกิจการมาตั้งแต่ปี 1898 แต่นั่นก็เป็นหลักฐานชั้นดีของนักการตลาดว่า Differentiation Strategy นั้นใช้ได้ผล แม้ว่าจะต้องต่อสู้กับมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่อย่างโค้กก็ตาม
.
เป๊ปซี่มีการส่งเสริมภาพลักษณ์โดยสร้างความรู้สึกให้กับผู้บริโภคว่าเป๊ปซี่นั้นเป็นเครื่องดื่มของวัยรุ่นหนุ่มสาว จึงพยายามหาพรีเซ็นเตอร์หน้าใหม่ เน้นความเป็นวัยรุ่น ต่างจากโค้กที่มีภาพลักษณ์ของความเก่าแก่และคลาสสิก อย่างล่าสุดโฆษณาเป๊ปซี่ ปี 2562 ได้นำนักร้องนักแสดงอย่าง The Toys จินตหรา พูนลาภ กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่ Boom Boom Cash มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ พร้อมข้อความ #เป๊ปซี่ซ่าสุดทุกดนตรี เมื่อเป๊ปซี่วางตำแหน่งทางการตลาดแบบนี้ก็ทำให้ภาพลักษณ์ที่เก่าและโบราณจะตกไปอยู่กับโค้กทันที
1
ที่มา
Production and Operation Management and Principle of Marketing book
โฆษณา