25 ส.ค. 2019 เวลา 10:31
โครงการพระราชดำริ สะพานพระราม ๘
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
1
ที่มา : pantip
สะพานพระราม ๘ (อังกฤษ: Rama VIII Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ ๑๓
มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร
🔴ประวัติความเป็นมา
สะพานนี้เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ พระองค์มีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก ๑ แห่ง
2
เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ
สะพานพระราม ๘ จะช่วยเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น
สะพานพระราม ๘ มีความยาวรวม ๔๗๕ เมตร สูงเท่าสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ ๓๐๐ เมตร สะพานยึดช่วงบนบก ๑๐๐ เมตร และสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา ๗๕ เมตร
2
มีรูปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร
ซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และมีเสารับน้ำหนัก ๑ ต้นบนฝั่งพระนคร
จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา
ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมและระบบนิเวศวิทยาในน้ำ รวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้งขบวนเรือพระราชพิธี
🔴การรับน้ำหนักของสะพาน
ได้ติดตั้งสายเคเบิลระนาบคู่ ๒๘ คู่ขึงยึดพื้นช่วงข้ามแม่น้ำ
และใช้สายเคเบิลระนาบเดี่ยว ๒๘ เส้น ขึงยึดรั้งกับโครงสร้างยึดเสาสะพานบนฝั่งธนบุรี
เคเบิลแต่ละเส้นประกอบด้วยสลิงตั้งแต่ ๑๑ -๖๕ เส้น
เมื่อเกิดปัญหากับเคเบิล สามารถขึงหรือหย่อนได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องปิดการจราจรเหมือนสะพานพระราม ๙
เนื่องจากเคเบิลแต่ละเส้นใช้สลิง ภายในซึ่งเป็นขดลวดใหญ่ทำให้ดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมยากกว่า
อีกทั้งสายเคเบิลของสะพานพระราม ๘ ยังมีสีเหลืองทอง สีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อสะท้อนแสงจะส่องประกายสวยงาม โดยเฉพาะยามค่ำคืน
ความโดดเด่นสวยงาม
ผสมผสานไปด้วยศิลปะแบบไทย ๆ
จากแนวคิดในการสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติในหลวงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
กรุงเทพมหานคร จึงได้อัญเชิญ "พระราชลัญจกร" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ มาเป็นต้นแบบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของสะพาน
เน้นความโปร่งบาง เรียบง่าย และสวยงาม
วัสดุที่ใช้ในโครงสร้างของสะพานเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
เช่น ในส่วนสะพานเสาสูงรูปตัว Y คว่ำ เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
ทำหน้าที่หิ้วส่วนโครงสร้างสำคัญอื่น ๆ ของสะพาน ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกล ๆ ได้ออกแบบโดยใช้เค้าโครงมโนภาพของเรือนแก้ว
ราวกันตก ซึ่งทำจากโลหะออกแบบเป็นลวดลายที่วิจิตรและอ่อนช้อย
จำลองมาจากดอกบัวและกลีบบัวเสาโครงสร้างใต้แผ่นพื้นตกแต่งด้วยลวดลาย
ที่จำลองจากดอกบัวใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา
มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนแสงลงสู่ผิวจราจรใต้ทางยกระดับ
ช่วยเพิ่มความสว่างบริเวณใต้ทางยกระดับและประหยัดไฟฟ้าในเวลากลางคืน
บนสะพานพระราม 8 ยังถือเป็นจุดชมวิวกรุงเทพมหานครได้กว้างไกล
มองเห็นสิ่งก่อสร้างสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ เช่น
ป้อมพระสุเมรุ วังบางขุนพรหม ยอดอาคารโดมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสะพานพระปิ่นเกล้า
ในเวลาต่อมาทางกรุงเทพมหานครได้สร้างสวนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 8 ในพื้นที่บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณฝั่งธนบุรี
เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี
และได้รับพระราชทานนามว่า “สวนหลวงพระราม 8”
ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหรือออกกำลังกายได้อีกด้วย
ภายในสวนยังประกอบไปด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 ขนาดใหญ่ 3 เท่าของพระองค์จริง
พระอิริยาบถทรงยืน ประดิษฐานบนแท่นที่ความสูงระดับเดียวกันกับราวสะพาน
ดูยิ่งใหญ่และสง่างามสมพระเกียรติ
ภายใต้พระบรมราชานุสาวรีย์ได้รับการออกแบบเป็นอาคารอเนกประสงค์
มีพื้นที่นันทนาการริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ใช้จัดกิจกรรมหรืองานแสดงได้หลากหลายรูปแบบ
โดยเฉพาะกิจกรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น การชมขบวนเรือพระราชพิธี ซึ่งประกอบด้วย ศาลาพักผ่อน และท่าเทียบเรือ เป็นต้น
ที่มา : TRAVELTHAIZA
ที่ตั้ง - เชิงสะพานพระราม 8 ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ เปิดทุกวัน 05.00 – 21.00 น. การเดินทางโดยรถประจำทางสาย 57 81 149
โฆษณา