27 ส.ค. 2019 เวลา 11:28 • ธุรกิจ
มนุษย์กับความเหงา
ไม่ว่าใครก็ต้องเคยรู้สึกถึงความเหงาในช่วงหนึ่งของชีวิต
อาจจะเป็นตอนนั่งกินข้าวคนเดียวตอนเย็น การเปลี่ยนโรงเรียนหรือที่ทำงานใหม่ๆ หรือการที่ไม่มีเพื่อนคนไหนว่างตอนวันที่เราอยากจะออกไปปาร์ตี้ข้างนอก
Image by mohamed Hassan from Pixabay
การรู้สึกอย่างนี้เป็นบางครั้งอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้ารู้สึกแบบนี้ทุกวัน บ่อยๆล่ะ?
ในหลายสิบปีหลังมานี้ ความรู้สึกเหงาได้เกิดขึ้นอย่างเรื้องรังกับคนหลายล้านคน
สถานการณ์ความเหงาปัจจุบัน
งานวิจัยเรื่อง Lonely in the Deep จาก วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้เปิดเผยว่า
ประเทศไทยมีคนเหงา 26.75 ล้านคนหรือเทียบเท่ากับ 40.4% ของประชากรทั้งประเทศ จนถึงกับมีตลาดใหม่สำหรับโอกาสทางธุรกิจเรียกว่า ตลาดความเหงาเลยทีเดียว
Co-Working Space (ตลาดความเหงา?)
ไม่เพียงแต่ประเทศไทยแต่ทั่วโลกก็ยังมีเทรนด์เรื่องความเหงาเกิดขึ้นอย่างชัดเจน
ประเทศอังกฤษ มีการสำรวจว่า 60% คนอายุ 18 – 24 ปี รู้สึกเหงาอยู่บ่อยๆ ประเทศสหรัฐอเมริกา 46% ของคนทั้งประเทศรู้สึกเหงาเป็นประจำ
เป็นไปได้อย่างไร ในเวลาที่มนุษย์สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่จำนวนคนรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวกลับเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์?
ความเหงากับความสันโดษ
ความเหงา กับความสันโดษนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
ความสันโดษหมายถึง การชอบอยู่คนเดียว อาจจะมีความสุขที่ได้อ่านหนังสือคนเดียวเงียบๆ และเกลียดทุกนาทีที่อยู่ในปาร์ตี้กับเพื่อนก็ได้
Image by silviarita from Pixabay
ส่วนความเหงา ต่อให้เพื่อนรุมล้อมหน้าหลังแต่ก็ยังอาจรู้สึกเหงาในใจได้
คุณอาจจะคิดว่าความเหงาอาจเกิดจากคนที่ไม่กล้าคุย ไม่รู้ว่าต้องทำตัวยังไงเวลาอยู่กับคนอื่น แต่ผลการวิจัยได้พบว่าทักษะทางสังคมไม่ได้มีผลต่อความเหงา
ความเหงามีผลได้กับทุกคนไม่ว่าคนนั้นจะมี เงิน ชื่อเสียง อำนาจ บุคลิก ทักษะสังคมมากแค่ไหน
ไม่มีอะไรสามารถป้องกันเราได้จากความเหงา เพราะมันฝังอยู่ในระบบชีววิทยาของเรา
อะไรคือความเหงา
ความเหงาเป็นผลจากกกระบวนการทำงานของร่างกาย เหมือนกับความหิว
ความหิวบังคับให้เราสนใจความต้องการของร่างกายที่ต้องการพลังงาน
ความเหงาก็บังคับให้เราสนใจความต้องการทางสังคมของเรา
แล้วทำไมสมองต้องสั่งให้เราเหงาด้วยล่ะ ความต้องการทางสังคมของเราสำคัญอย่างไร?
liveknowledgeworld.files.wordpress.com/2013/12/middle-stone-age-pic
เมื่อหลายล้านปีก่อน ตอนที่มนุษย์ยังอยู่ในยุคหิน ล่าสัตว์ และเรียนรู้การใช้ไฟ
การจะหาล่าสัตว์ เลี้ยงเด็ก ป้องกันอันตราย ทุกอย่างย่อมทำไม่ได้ถ้าอยู่คนเดียว
ดังนั้นความสามารถในการอยู่ร่วมกับคนอื่นจึงเป็นสิ่งจำเป็น คนที่เก่งในการให้ความร่วมมือ และสานสัมพันธ์กับผู้อื่นก็จะผ่านการคัดเลือกจากธรรมชาติ
สิ่งที่อันตรายที่สุดสำหรับมนุษย์ยุคนั้น คือการที่โดนปฏิเสธออกจากกลุ่มสังคมเพราะอาจหมายถึงความตาย
สมองจึงได้พัฒนาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อเราถูกปฏิเสธ เพื่อป้องกันพฤติกรรมของเราที่จะไม่นำไปสู่การไม่ยอมรับของคนอื่น
amyjoberman.comdealing-with-rejection-in-acting-for-actors
นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมความเหงาและการถูกปฏิเสธถึงเจ็บปวดมาก
เพราะนั่นหมายถึงการที่กลุ่มไม่ยอมรับและปฏิเสธนั่นเอง
กลไกทางสมองนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์มาหลายปี จนกระทั่ง…
สมองเก่าแต่โลกใหม่
ต้นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ผู้คนเคลื่อนย้ายออกจากถิ่นฐานบ้านเกิดสังคมของตัวเอง เพื่อโอกาสทางการศึกษาและทำงานในเมือง
สังคมพื้นฐานที่เคยมีมานับหลายร้อยปีถูกทำลาย ขณะที่เมืองเจริญขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีสภาพดังเช่นในปัจจุบัน
Image by Grae Dickason from Pixabay
นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความเหงา
เราเจอคนน้อยลง หรือถึงเจอก็ไม่สนิทสนมนัก เพราะสังคมในวัยผู้ใหญ่จะหาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันยากเช่น เพื่อนร่วมงาน รวมถึงชีวิตเมืองหลวงที่ยุ่งและไม่มีเวลาไม่ว่าจะเป็นการทำงาน เลี้ยงลูก ไปเดท ติด Netflix
เมื่อไม่มีเวลาสิ่งที่ง่ายที่สุดในการกำจัดไปก็คือเวลาอยู่กับเพื่อน
จนกระทั่งเวลาผ่านไปแล้วรู้ตัวอีกทีก็พบว่าเรารู้สึกโดดเดี่ยวเสียแล้ว
ภัยเงียบจากความเหงา
มีการค้นพบว่าความเครียดที่เกิดจากความเหงาเป็นหนึ่งในสิ่งที่แย่ต่อสุขภาพมากที่สุด มันนำไปสู่การแก่ก่อนวัย, การลุกลามของมะเร็ง, ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง
ความเหงามีอันตรายเป็นสองเท่าเทียบกับโรคอ้วน เทียบเท่ากับสูบบุหรี่วันละกล่อง
Illustration by Brianna Gilmartin, Verywell
สิ่งที่แย่ที่สุดกับความเหงาก็คือหากมันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วมันมีโอกาสสูงที่จะคงอยู่ต่อไปในจิตใจเรื่อยๆ
เมื่อความเหงาเกิดขึ้นเรื้อรัง สมองของเราจะเข้าสู่โหมดป้องกันตัว โดยการมองหาอันตรายรอบๆ
from iStock
นี่อาจนำไปสู่การอ่านสัญญาณทางสังคมจากใบหน้าคนอื่นผิดพลาด การไม่ปฏิเสธที่จะเชื่อใจคนอื่น การตีความการกระทำของคนอื่นไปในทางที่เลวร้ายที่สุดทั้งๆที่อีกฝ่ายอาจจะมีเจตนาดี
เมื่อเรามองว่าโลกนี้เต็มไปด้วยอันตราย มันก็จะทำให้เราดูเย็นชา ไม่เป็นมิตร รวมถึงสนใจแต่ปฏิกิริยาทางลบจากผู้อื่น
เราจะเริ่มมีความคิดลบต่อตัวเองและผู้อื่น ว่าผู้อื่นนั้นไว้ใจไม่ได้ และนำไปสู่การหลีกเลี่ยงสังคม
ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกเหงาขึ้นไปอีกเป็นวงจรที่ส่งเสริมตัวมันเองให้เลวร้ายไปเรื่อยๆ
เราทำอะไรได้บ้าง
สิ่งแรกเลยคือเราต้องตระหนักให้ได้ว่าเราติดอยู่ในวงจรความเหงา
เนื่องด้วยมันส่งเสริมตนเอง ทำให้ความรุนแรงของมันสูงขึ้นเรื่อยๆ จนยากที่เราจะหลุดจากมันได้
หลังจากนั้นคือการยอมรับว่าความเหงาเป็นอารมณ์ปกติของคนทุกคน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ทุกคนย่อมเคยรู้สึกเหงา โดดเดี่ยวอยู่คนเดียว ณ ช่วงเวลาหนึ่งในชีวิต
https://www.pinterest.com/pin/467107792576681002/
แล้วจึงสำรวจว่าเราให้ความสนใจในส่วนไหนเป็นพิเศษขณะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
เรามองคนอื่นในแง่ร้ายทั้งๆที่มีเจตนาดี เราตีความสีหน้าการกระทำของคนอื่นไปในทางลบแทนที่เป็นบวกหรือเปล่า อะไรคือความเป็นจริงและอะไรคือสิ่งที่เราคิดไปเอง
บทส่งท้าย
มนุษย์ได้สร้างสรรค์อะไรขึ้นมากมายนับจากยุคที่มีเพียงไฟและหิน ทั้งเทคโนโลยี สังคมเมือง นวัตกรรม และแม้กระทั่งไปอวกาศมา
แต่น่าแปลกที่สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมากลับไม่สามารถตอบสนองและแทนที่ความต้องการพื้นฐานทางจิตใจนั่นคือความสัมพันธ์กับผู้คน ซึ่งเราต้องสร้างขึ้นมาเอง
Image by Free-Photos from Pixabay
วันนี้คุณอาจจะลองหยิบโทรศัพท์ทักหาเพื่อนสักคนที่ไม่ได้คุยกันมานานแล้ว โทรหาครอบครัว ชวนคนที่ทำงานไปกินกาแฟซักแก้ว
คนนั้นอาจจะรอโทรศัพท์จากคุณอยู่ก้ได้นะครับ
References
โฆษณา