30 ส.ค. 2019 เวลา 13:00 • ความคิดเห็น
พรรคร่วมรัฐบาลอิตาลี ประกาศตัดพี่ตัดน้อง..!!
อิตาลี - ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรป กำลังเผชิญกับปัญหาทางการเมืองอีกครั้ง
ที่มา : Posttoday
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา นายจูเซปเป คอนเต้ นายกรัฐมนตรีคนกลางของพรรคร่วมรัฐบาลได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง
โดยมีนายมัตเตโอ ซัลวินี รองนายกรัฐมนตรีจากพรรค League ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแท้ๆ เป็นผู้เสนออภิปรายไม่ไว้วางใจผู้นำรัฐบาลตัวเอง
เพราะต้องการที่จะล้มรัฐบาล จากความขัดแย้งด้านนโยบาย ประกอบกับคะแนนความนิยมพรรค League เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางพรรค Five Star Movement พรรคร่วมรัฐบาล ที่มีคะแนนความนิยมลดลงเรื่อยๆ
ส่วนปัญหาด้านเศรษฐกิจของอิตาลี ก็ยังคงอยู่ในสภาวะที่ยังมองไม่เห็นทางออก อัตราคนว่างงานยังคงสูง แม้แต่แรงงานที่จบการศึกษาใหม่ๆก็ยังหางานทำได้ยาก
ที่มา : Tradingeconomics
นอกจากอัตราการว่างงานที่สูงแล้ว อิตาลียังมีหนี้สาธารณะสูงถึง 132% ของจีดีพี เป็นอันดับสองรองแค่กรีซที่อยู่ใน EU ด้วยกัน แต่ขนาดเศรษฐกิจนั้นใหญ่กว่ากรีซเกือบ 10 เท่า
โดยปีนี้นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจของอิตาลีจะเติบโตเพียงแค่ 0.7% เท่านั้น
ที่มา : Bloomberg
และถ้าเรามาดู Bond Yield 10 ปีื ของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็น 3 อันดับแรกใน EU (ไม่รวมอังกฤษ) จะเห็นได้ชัดว่า ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลี สูงกว่าเยอรมันและฝรั่งเศสค่อนข้างมาก
สะท้อนระดับความมั่นใจต่อเสถียรภาพของรัฐบาลอิตาลีในระดับต่ำ ตรงข้ามกับขนาดเศรษฐกิจอย่างสิ้นเชิง
ถึงแม้ล่าสุดจะมีข่าวว่า พรรค Democratic Party (PD) ที่เป็นพรรครัฐบาลเก่าและเป็นอดีตคู่อริของพรรค Five Star Movement (M5S)
ได้กลับมาจูบปากกันจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการเลือกตั้งใหม่และเพิ่มโอกาสที่จะเสนอร่างงบประมาณปี 2020 ต่อ EU ในช่วงกลางเดือน ต.ค.ได้สำเร็จ
จำนวนที่นั่งในสภาของแต่ละพรรค
แต่ส่วนตัวก็ยังคิดว่า การเมืองและเศรษฐกิจของอิตาลี ยังคงเป็นจุดอ่อนสำคัญของ EU ต่อไป ตราบใดที่อิตาลียังคงรวมกลุ่มอยู่ใน EU หรือแม้กระทั่งจะออกจาก EU แบบอังกฤษ ก็ไม่สามารถทำได้โดยง่าย
เพราะหนี้สาธารณะที่มีอยู่ของอิตาลีตอนนี้ อาจทำให้ค่าเงินของอิตาลีอ่อนค่ารุนแรงได้ทันที ถ้าอิตาลีหันกลับไปใช้เงินสกุลลีร์ แทนที่เงินสกุลยูโรอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
โชคดีที่กรณีของไทย "ตัดพี่ตัดน้อง" เกิดระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้าน ไม่ได้เกิดกับพรรคร่วมรัฐบาลแบบอิตาลี
ถ้าชอบ กด like & share  และอย่าลืม กดติดตามเพื่อไม่ให้พลาดสถานการณ์ลงทุน ตามแบบฉบับมืออาชีพครับ : )
โฆษณา