28 ส.ค. 2019 เวลา 13:43 • ประวัติศาสตร์
ที่มาของคำว่า “สมรส” กับ”กล้วย..อ้อย”
เคยไปร่วมงานแต่งงานใช่ไหม (ต้องเคยแหล่ะ)
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมต้องเอาต้นกล้วย ต้นอ้อยมาใช้เดินนำในขบวนขันหมาก และจะขอเล่าถึงความหมายที่แท้จริง.
จะเล่าที่มาของคำว่า “สมรส”กับ”กล้วย..อ้อย” ก่อนนะ.
ความหมายที่แท้จริง. “กล้วย อ้อย..ภูมิปัญญาไทย”สัญญลักษณ์”ของการ”แต่งงาน”
ยุคสมัยและรูปแบบ..เปลี่ยนไป..แต่ความหมาย..ไม่เคยเปลี่ยน
การ”แต่งงาน”หรือเรียกว่า “สมรส”มาจากคำว่า”เสกสมรส”. ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงบัญญัติขึ้นมาและใช้ในรั้วในวังมาก่อน
ต่อมาก็แพร่หลายไปทั่ว อาจจะเห็นว่าเหมาะสม.และเป็น”สิ่งที่ดีงาม”
(จากตามความเห็นของพระยาอนุมานราชธน (เสถียร โกเศศ) โดยได้ตัดคำว่า”เสก”ออกเหลือเพียงคำว่า”สมรส” เพียงเท่านี้ แล้วเติมคำว่า "มงคล" นำเพื่อความเป็นมงคล จึงเรียกงานแต่งงานว่างานพิธี”มงคลสมรส” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาครับ) .
และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานขบวนแห่ขันหมาก นั้นคือ ”กล้วยกับอ้อย”..
จริงแล้วไม่ได้มีความหมายในเรื่องของภาษาว่า.”กล้วย”คือ.ทำอะไรให้สำเร็จง่ายๆ หรืออ้อย.หมายถึงว่า.รักกันหวานชื่นยาวนานไม่จืดจางดังความหวานของน้ำอ้อย อย่างที่หลายคนเข้าใจและอธิบายกันหรอกครับ.
“แท้ที่จริงแล้วโบราณ” เค้ากำหนดว่าจะต้องเลือก”กล้วยและ อ้อยพันธุ์ที่ดีทีสุด” ในงานแต่งงานเพราะภายหลังเสร็จสิ้นงานนั้นจะต้องนำมา”ปลูก”ไว้บ้านเจ้าสาว.
หลังจากเจ้าสาวแต่งงาน “ตั้งท้อง”และพร้อมกับที่จะคลอดทายาทออกมา รวมเวลา ๙ เดือนซึ่งจะตรงและพร้อมกับการเจริญเติบโตของกล้วยและอ้อย…..ที่ให้ผลผลิตพร้อมกันนั่นเอง.
นี่คือความหมายที่แท้จริง ทีนี้รู้กันหรือยังครับ.
ผมก็เล่าให้อ่านกันนะ (ถ้าผมพอจะรู้)
(ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยครับ)
ภาพเก่าขบวนแห่ขันหมากมาขอผู้สาวในอดีต เป็นภาพถ่ายเก่า.
เอ๊าใครเคยผ่านขั้นตอนนี้ในอดีตอย่างนี้ ลองๆ คิดถึงช่วงเวลานั้นกันบ้างไหม ไหนเล่าซิ ..!
เพจ เรื่องเล่า ภาพเก่า ในอดีต ®.
โฆษณา