30 ส.ค. 2019 เวลา 13:37 • ธุรกิจ
มารู้จัก​ Business Model Canvas กัน
BMC เป็นแบบจำลองธุรกิจหรือเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนซึ่งจะทำให้เห็นภาพมากขึ้น (Visualizing) และสามารถเลือกรูปแบบที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับธุรกิจตัวเอง (Business Model) โดย BMC มีองค์ประกอบทั้งหมด 9 ส่วน ดังนี้
https://www.google.com/search?q=business+model+canvas&tbm=isch&ved=2ahUKEwj2ic3DzKrkAhW61nMBHegoARgQ2-cCegQIABAC&oq=bus&gs_l=mobile-gws-wiz-img.1.0.0i67l3j0i30l2.6107.7255..8544...0.0..0.196.627.0j4......0....1.........35i39j0.Lh9rGEKMDDI&ei=0RZpXbbdMrqtz7sP6NGEwAE&bih=560&biw=360&client=ms-android-huawei&prmd=imnv#imgrc=WOyTy2L_YCfI_M&imgdii=1w5o64uB-hnPfM
1.กลุ่มลูกค้า (Customer Segment) หมายถึง กลุ่มคนหรือองค์กรที่บริษัทมุ่งที่จะเข้าถึงและสร้างคุณค่าให้
2.การนำเสนอคุณค่า (Value Propositions) สินค้าและบริการอะไรที่สร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า หรือช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ เช่น สร้างสรรค์ สิ่งแปลกใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพให้มีมากขึ้น ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น ประหยัด ป้องกันความเสี่ยง และช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้
3.ช่องทาง (Channels) หมายถึง วิธีการสื่อสาร และส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าผ่านช่องทางการสื่อสาร การกระจายสินค้า และการขาย
4.ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationships) อธิบายว่าบริษัทมีความสัมพันธ์แบบไหนกับลูกค้า รวมถึงบอกวิธีการหาลูกค้าและรักษาเอาไว้ เช่น การหาลูกค้าใหม่ รักษาฐานลูกค้าเก่า การสื่อสารและการเข้าหาลูกค้าในแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน
5.กระแสรายได้ (Revenue Streams) เป็นผลจากการเสนอคุณค่าที่ประสบความสำเร็จ บริษัทจึงได้เก็บเกี่ยวคุณค่าในราคาลูกค้ายอมจ่าย อาจจะแบ่งได้เป็น 2 แบบ รายได้ครั้งเดียว หรือรายได้ที่ได้สม่ำเสมอ เช่น พวก Membership
6.ทรัพยากร (Key Resource) สิ่งที่ต้องใช้เพื่อเสนอและส่งมอบส่วนประกอบต่าง ได้แก่ บุคคล เครื่องจักร ระบบ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
7. กิจกรรมหลัก (Key Activities) เป็นกิจกรรมที่ให้ความสำคัญสูงสุดที่บริษัทต้องทำให้ดี
8.พันธมิตรหลัก (Key Partners) หมายถึง เครือข่ายซัพพลายเออร์และพันธมิตรที่นำทรัพยากรและกิจกรรมจากภายนอกเข้ามา
9. โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure) คือ ต้นทุนทั้งหมดที่ใชในการดำเนินงานตามโมเดลธุรกิจ
1
ซึ่งการเขียน Business Model Canvas (BMC) นั้น ธุรกิจใหญ่ๆ รีวิว BMC กันแทบจะทุก 3-6 เดือน เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง ก็เท่ากับว่าธุรกิจเราถอยหลัง
2
.
ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาของเนสกาแฟที่วางโมเดลธุรกิจไว้ดีมาก เราจะจำกันได้ว่าก่อนหน้านี้ เนสกาแฟได้ปรับกลยุทธ์ใหม่โดยการดีไซน์เครื่องชงกาแฟแคปซูล เพื่อผลักดันให้คนไทยชงกาแฟสดคั่วบดได้เองจากที่บ้าน โดยดีไซน์เครื่องให้สวยงามทันสมัย และราคาต่อแคปซูลไม่แพงมาก แถมยังใช้รูปแบบการทำตลาดแบบเปิดตัวบริการแพ็กเกจกาแฟรายเดือนในประเทศไทย พร้อมกับลดราคาตัวกาแฟแคปซูล 25% เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทดลองดื่มในวงกว้างมากขึ้น
.
ยิ่งไปกว่านั้นเนสกาแฟยังมองเห็นเทรนด์ผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายและรวดเร็ว จึงได้เปิดตัว “เนสกาแฟ ฮับ” ร้านกาแฟสด สไตล์ On the Go ครั้งแรกในประเทศไทย โดยเปิดที่บีทีเอสชิดลม บีทีเอสเอกมัย บีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ และบีทีเอสอารีย์ และจะทยอยเปิดสาขาที่หลากหลายมากกว่าแค่บีทีเอส โดยเนสท์เล่ มุ่งขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรมทุกทิศทาง เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์การดื่มกาแฟสดของร้านกาแฟในระหว่างเดินทาง เพื่อตอบสนองเทรนด์และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน
https://www.marketingoops.com/news/biz-news/nescafe-hub/
และล่าสุด เนสท์เล่ประกาศเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์แคปซูลกาแฟสดระดับพรีเมียมร่วมกับสตาร์บัค ประเทศไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกของแคปซูลกาแฟสดสตาร์บัคที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับเทคโนโลยีเอกสิทธิ์เฉพาะของเครื่องชงกาแฟแคปซูล NESCAFÉ Dolce Gusto ซึ่งผู้บริหารของเนสท์เล่ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของตลาดกาแฟในรูปแบบแคปซูลที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ความร่วมมือระหว่างเนสท์เล่และสตาร์บัคนี้ เป็นการปรับตัวที่ดีและเป็นกรณีศึกษาที่ดีมากในการให้คุณกลับมาทบทวนธุรกิจตัวเอง และเริ่มเขียนโมเดลธุรกิจ BMC ในรูปแบบธุรกิจของคุณ
https://www.brandbuffet.in.th/2019/08/starbucks-coffee-at-home-ready-for-thai-market/
ที่มา
หนังสือ Business Model Generation
โฆษณา