1 ก.ย. 2019 เวลา 04:02
เงินเฟ้อลดลงจนต่ำกว่า 1% จนหลายคน
บอกว่าไม่จำเป็นต้องเสี่ยงลงทุนแล้วนี่
……จริงๆต้องเข้าใจก่อนนะครับ ไอ้เงินเฟ้อเนี่ย
เขาคำนวณจากราคาสินค้าทั้งหมด ที่คนทั้งประเทศ
เขาบริโภคกัน ว่าโดยรวมมันเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ค่าครองชีพเราก็ของเรา ไม่ใช่ของคนทั้งประเทศ
หลายอย่างที่เป็นค่าครองชีพปัจจุบัน ไม่มีฐานข้อมูล
ให้เปรียบเทียบเงินเฟ้อในอดีต เช่น ค่า wifi
ค่ารถไฟฟ้า สมาร์ทโฟน เป็นต้น
คนเมื่อ 20 ปีที่แล้วไม่มีค่าใช้จ่ายพวกนี้
แต่คนยุคนี้ มีกี่คนที่ขาดมันได้
ดังนั้น อย่าสับสนจนไปกล่าวหาแบงก์ชาติ
ว่าทำข้อมูลไม่ตรงความเป็นจริง
“เงินเฟ้อลด แต่ทำไมยังรู้สึกค่าครองชีพขึ้นมาก”
ราคาสินค้าอาจลดลงหรือขึ้นไม่มาก
แต่เราใช้จำนวนมากขึ้น เช่น
ค่าทัวร์ต่างประเทศถูกลงมาก
แต่เราไปปีละ 2-3 ครั้ง จากที่ไม่เคยไป
หรือค่าโดยสารรถเมล์ปรับจาก 2 บาท
เมื่อ 20 ปีที่แล้วมาเป็น 10 บาท
ไม่ได้แปลว่าเงินค่าเดินทางขึ้นมาแค่ 5 เท่าตัว
ถ้าปัจจุบัน คุณเดินทางด้วย BTS
แบบนี้ ค่าครองชีพคุณเติบโตระดับเดียวกับเงินเฟ้อ
ของประเทศมั้ยครับ……
แผนการเงินสำหรับคุณ เลิกสนใจเงินเฟ้อก่อน
สนใจที่ว่า คุณครองชีพได้ด้วยการซื้ออะไรบ้าง
แล้วสิ่งเหล่านั้น มันมีแนวโน้ม แพงขึ้นหรือถูกลง
ในอนาคต และสำคัญ จำนวนที่คุณจะใช้
มากขึ้นหรือลดลง …ทางเดียวที่จะรู้
คุณต้องวางแผนการเงินของคุณเอง
และเริ่มที่”จดบันทึกค่าใช้จ่ายรายวัน”
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แล้วคุณจะเริ่มเห็นอะไรชัดมากขึ้นในชีวิต
โฆษณา