4 ก.ย. 2019 เวลา 17:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การทดลองปรับแต่งยีนมนุษย์ CRISPR (Clustered Regularly Interspaced Shot Palindromic Repeats)
เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในอเมริกา จากการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง 2 รายในแบบปกติแล้วล้มเหลวลง
นักวิจัยจึงใช้เทคนิค CRISPR ปรับเปลี่ยนเซลล์คุ้มกันของมนุษย์ให้มาจัดการกับเซลล์มะเร็ง
ซึ่งเทคนิคนี้สามารถทำการตัดแต่ง DNA ได้อย่างแม่นยำไม่ว่าจะการปิด การต่อ การปรับเปลี่ยนการทำงาน
ถามว่าจะใช้ CRISPR รักษาผู้ป่วยยังไง?
คำตอบคือระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการที่น่าอัศจรรย์ในการต่อสู้กับผู้รุกรานทุกรูปแบบ
แต่..แต่..สำหรับเซลมะเร็งนั้นมีความสามารถในการหลบเลี่ยงการตรวจจับของระบบภูมิคุ้มกันได้นั่นเอง
ดังนั้นนักวิจัยจึงต้องทำการติดอาวุธให้กับภูมคุ้มกันโดยการตัดต่อยีนสองตัวที่ชื่อ T เซลล์ โดยตัวนึงที่ลบออกคือ ตัวที่เป็น "ด่าน" PD-1 ให้กับเซลล์มะเร็งใช้หยุดการทำงานของภูมิคุ้มกันนั่นเอง
นั่นยังไม่พอ นักวิจัยยังทำการลบตัวตรวจจับของเซลล์ภูมิคุ้มกันในการค้นหาเชื้อโรคและเซลล์เนื้อเยื่อป่วยตามปกติออกเสียแต่ให้ไปตรวจจับเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ จึงทำให้มันโจมตีเซลล์มะเร็งได้แม่นยำและได้ผล
1
นักวิจัยใช้วิธีฉีดเซลล์ดัดแปลงเหล่านี้กลับเข้าไปยังผู้ป่วยและหวังว่ามันจะทำลายเซลล์มะเร็งอย่างได้ผล
ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีรายงานผลการรักษาที่แน่ชัดของผู้ป่วยสองรายนี้
แต่พวกเขามีแผนจะรักษาผู้ป่วย 18 รายโดยใช้รูปแบบที่แตกต่างกันไปและนับเป็นการทดลอง CRISPR ในอเมริกาที่หวังผลกว้างขวางมากขึ้น
การทดลอง CRISPR ตัดแต่งยีนมีเกิดขึ้นในปนะเทศจีนมุ่งที่มะเร็งและในเยอรมันมุ่งที่โรคทารัสซีเมียหรือความผิดปกติของเกร็ดเลือด
ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา (พ.ย. 2018) แพทย์จีนชื่อ He Jiankui ได้ใช้ CRISPR ในการรักษาทารกแฝดเพศหญิงในขณะยังเป็นตัวอ่อนโดยตัดต่อยีนป้องกันติดเชื้อ HIV จากแม่ที่ติด HIV (ว้าว...😮)
ในท่ามกลางการคิดค้นของนักวิจัย การทำ CRISPR ของ He Jiankui นั้นต่างจากคลินิคของทางอเมริกา กล่าวคือยีนของตัวอ่อนนั้นจะมีอายุยืนยาวไปตลอดชีวิต แต่ยีนของนักวิจัยอเมริกานั้นจะตายลงในที่สุด
เทคโนโลยีการตัดต่อยีนนั้นทรงประสิทธิภาพถึงขั้นล้างเผ่าพันธุ์หรือแม้แต่การออกแบบทารกที่ต้องการให้มีลักษณะเฉพาะเช่นความเฉลียวฉลาด, ส่วนสูง ฯลฯ ก็แน่ละ ใครจะไม่อยากได้เด็กที่สูง หล่อสวย IQ เป็นเลิศหรือแม้แต่จิตใจอารีย์
แต่การออกแบบมนุษย์ให้ได้อย่างตามใจก็ยังเป็นที่ถกเถียงในแง่จรรยาบรร
อีกทั้งความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดก็ยังมีอยู่
แต่ก็นั่นแหละ ความผิดพลาดมันเกิดขึ้นได้ในทุกเรื่องเป็นธรรมดา แต่ในทางการแพทย์ถือว่าได้ก้าวหน้าไปอีกขั้น และตราบที่ยังดำเนินอยู่ก็นับว่าเข้าไกล้ความหวังมากขึ้นไปอีกขั้น...
ที่มา : Science Nature Page
Dot ink : บทความ / แปล / เรียบเรียง
กดติดตามเพจเพื่อเป็นกำลังใจกันครับ🙏
หรือสะดวกติดตามในเฟสบุ๊คคลิก
โฆษณา