9 ก.ย. 2019 เวลา 00:28 • ปรัชญา
พุทธศาสนสุภาษิต 109
หมวดที่ ๙ ความประมาท
::::: ปมาโท รกฺขโต มลํ :::::
ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา
::::: เย ปมตฺตา ยถา มตา :::::
ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว
::::: ปมาเทน น สํวเส :::::
ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท
::::: ปมาทมนุยุญฺชนฺติ พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา :::::
คนพาลมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท
::::: เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา :::::
คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
::::: ยาวเทว อนตฺถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ :::::
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย, มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
::::: โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหฺ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน :::::
ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู้ตั้งร้อยปี, ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวประเสริฐกว่า
::::: โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโต ว จนฺทิมา :::::
เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
::::: ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยีรติ
อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา :::::
คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ
::::: พหุมฺปิ เจ สํหิต ภาสมาโน น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ น ภาควา สามญฺญฺสฺส โหติ :::::
หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา