Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าสุดหลอน
•
ติดตาม
5 ก.ย. 2019 เวลา 02:30 • การศึกษา
ช่วง สาระน่ารู้
• เวียงกุมกามในประวัติศาสตร์ล้านนา •
-- "เวียงกุมกาม" เป็นเมืองโบราณแห่งหนึ่งในจำนวนหลายสิบเมืองในลุ่มแม่น้ำปิง และล้านนา เรื่องราวของเวียงโบราณแห่งนี้พบเห็นได้จากหลักฐานเอกสารโบราณประเภทตำนาน คัมภีร์ทางศาสนาและพงศาวดารเมืองหลายฉบับ ฉบับที่สำคัญ ๆ ได้แก่
- ตำนานมูลศาสนา รจนาโดยพระพุทธพุกาม
- ชินกาลมาลีปกรณ์ รจนาโดยพระรัตนปัญญา เถระ
รวมไปถึงเอกสารรุ่นหลัง ๆ อีกหลายเล่ม ได้แก่ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พงศาวดารโยนก พงศาวดารภาคที่ ๖๑ ตำนาน ๑๕ ราชวงศ์ ฯลฯ
-- การเริ่มต้นสู่ความเป็นเมืองของชุมชนกุมกาม จากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่มีแนวประวัติกล่าวว่า เวียงกุมกามสร้างขึ้นโดยพญามังราย ภายหลังที่ทรงมีชัยชนะต่อพญาญีบา แห่งเมืองหริภุญไชยหรือลำพูน แล้วไม่ทรงโปรดที่จะประทับอยู่ ณ เมืองหริภุญไชย พระองค์จึงทรงเวนเมืองให้อ้ายฟ้าปกครองแทน จากนั้นก็เสด็จออกไปสร้างเมืองใหม่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหริภุญไชย คือบริเวณเมืองกุมกาม แต่เมืองใหม่เป็นที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วมทุกฤดูพรรษาได้รับความเดือดร้อนมาก พระองค์จึงต้องสำรวจหาชัยภูมิสำหรับตั้งเมืองใหม่อีก และก็ทรงพบพื้นที่ราบระหว่างเชิงเขาดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง จึงให้สร้างเมืองใหม่ชื่อว่า
"นพบุรีศรีนครเชียงใหม่"
-- แม้ว่าเนื้อความเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเวียงกุมกามจะเป็นไปในทำนองเดียวกันว่า เวียงกุมกามสร้างก่อนเมืองเชียงใหม่ แต่เอกสารบางฉบับก็ระบุศักราช บางฉบับก็ไม่ระบุศักราช ก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้ศึกษาพอสมควร เอกสารที่ระบุศักราช เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ ชี้ว่าพญามังรายสร้างเวียงกุมกามขึ้นหลังการสร้างเมืองเชียงใหม่ ความในข้อนี้ต่างไปจากเอกสารฉบับอื่น ๆ
-- การบันทึกเรื่องราวประวัติของเวียงกุมกามเป็นแต่เพียงความทรงจำที่ถ่ายทอดสืบกันมาในหมู่ชาวพื้นเมือง จากปากหนึ่งสู่อีกปากหนึ่ง จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง การรวบรวมเรียบเรียงเป็นลายลักษณ์อักษรเกิดขึ้นหลักจากเหตุการณ์ก่อสร้างเมืองนั้นนับร้อย ๆ ปี ดังนั้นคงจะสรุปความให้เป็นที่ยุติตามเอกสารเท่านั้นคงมิได้ จึงต้องอาศัยการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน และโบราณวัตถุ มาประกอบการวิเคราะห์แปลความเป็นสำคัญด้วย
-- นอกจากนั้น ชื่อ "กุมกาม" ยังปรากฏเป็นหลักฐานชัดเจนครั้งแรก ในหลักฐานเอกสารชั้นที่ ๑ นั่นก็คือ "ศิลาจารึกวัดพระยืน" ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่น่าสนใจในครั้งถัดไป
ที่มา : เวียงกุมกาม รายงานการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถาน
ที่มารูปภาพ : วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๕๘
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย